Vertiv ระบุ 4 Edge Archetypes หลัก พร้อมข้อกำหนดด้านเทคโนโลยี
ผลวิจัยสามารถชี้ถึงความต้องการและการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน
กรุงเทพฯ – เวอร์ทีฟ (Vertiv™) เผยงานวิจัย Defining Four Edge Archetypes และ Technology Requirements ที่ทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การใช้งานจากทั่วโลกของเน็ตเวิร์กเอดจ์ (network edge) หรือขอบของเครือข่าย ซึ่งสามารถสรุปรูปแบบการใช้งานเครือข่ายเอดจ์ได้ 4 แบบหลักๆ พร้อมเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายเอดจ์ของเวอร์ทีฟ ร่วมกับ บริษัทที่ปรึกษาจากหน่วยงานอิสระ ร่วมกันคัดเลือกโครงการการใช้งาน network edge จากทั่วโลกมากกว่า 100 รายการ โดยแบ่งกล่มการวิเคราะห์ออกเป็น 24 หัวข้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภคปลายทางมากที่สุด สอดคล้องกับการเติบโตที่ตั้งไว้ และผลกระทบที่สำคัญของการทำงานและการเงิน
การวิจัย ยังศึกษาถึงปริมาณความต้องการงานของชุดข้อมูลศูนย์กลางสำหรับการใช้งานเครือข่ายเอดจ์ของแต่ละเคส และข้อกำหนดที่จำเป็นด้านศักยภาพ ความพร้อมใช้งานและความปลอดภัย โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเจาะจงด้านสมรรถนะของการทำงาน รวมถึงเวลาในการใช้งาน ความพร้อม ความยืดหยุ่นและความปลอดภัย เช่น ความเข้มงวดของการเข้ารหัส การพิสูจน์อัตลักษณ์และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ขณะเดียวกันยังวิเคราะห์ถึงความพร้อมที่ผสานกับแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่หรือใช้อยู่เดิม รวมทั้งการทำงานเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ โดยพิจารณาจากจำนวนตำแหน่งที่ตั้งเครือข่ายเอดจ์ในเครือข่ายที่กำหนด
มร. แกรี่ นีเดอร์เพิม หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาของเวอร์ทีฟ กล่าวว่า “การวิเคราะห์ครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก เพื่อช่วยให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลเครือข่ายเอดจ์ของดาต้าเซ็นเตอร์และฮับข้อมูลได้เข้าใจถึงความต้องการของระบบนิเวศดิจิตอล จากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและความต้องการใช้งานเครือข่ายเอดจ์ระดับสูงในที่นำมาศึกษานี้ การเปรียบเทียบหาความคล้ายคลึงในองค์กรกับรูปแบบเหล่านี้จะเป็นขั้นตอนอีกก้าวเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ประโยชน์มากที่สุด”
การวิจัยระบุ 4 รูปแบบหลัก – 4 Archetypes ดังนี้:
– Data Intensive – หมายรวมถึงการใช้งานที่ข้อมูลไม่สามารถส่งผ่านหรือส่งผ่านอย่างไม่มีประสิทธิภาพจากเครือข่ายโดยตรงไปยังระบบคลาวด์หรือจากระบบคลาวด์ไปจนยังถึงจุดใช้งานได้ เนื่องมาจากปัญหาของปริมาณของข้อมูล ค่าใช้จ่าย หรือแบนด์วิธ ซึ่งจะเป็นกรณีตัวอย่างเช่น สมาร์ทซิตี้ (Smart Cities) สมาร์ทแฟคตอรี่ (Smart Factories) สมาร์ทโฮม/บิวดิ้ง (Smart Homes/Building) การส่งคอนเทนต์ความละเอียดสูง การประมวลผลขั้นสูง การเชื่อมต่อแบบจำกัด การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (virtual reality – VR) และระบบข้อมูลดิจิทอลในอุตสากรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตัวอย่างผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น Amazon และ Netflix ที่ต้องจับมือกับผู้ให้บริการโคโลเคชั่น เพื่อขยายเครือข่ายการส่งมอบคอนเทนต์ความละเอียดสูงในลักษณะสตรีมมิ่งวิดีโอไปยังผู้บริโภคเพื่อลดต้นทุนและคุณภาพการบริการที่ไม่สะดุด
– Human-Latency Sensitive – หมายรวมถึงการใช้งานที่ให้บริการผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งหลักสำคัญอยู่ที่สปีดความเร็วนั่นเอง การส่งข้อมูลที่ล่าช้าสะดุด ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์จากเทคโนโลยีของผู้ใช้ ย่อมส่งผลต่อยอดขายและกำไร ในส่วนนี้ครอบคลุมการสร้างการแข่งขันในสมาร์ทรีเทลเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) การสร้างประโยชน์สูงสุดจากเว็บไซต์ และการแปลงภาษาธรรมชาติ
– Machine-to-Machine Latency Sensitive – สปีดความเร็ว ที่เป็นตัวผู้กำหนดคุณลักษณะหลัก ครอบคลุมตลาดการเก็งกำไรและความเสียงด้านกำไร โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ทกริด (Smart Grid) สมาร์ท ซีเคียวริตี้ (smart security) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ การส่งคอนเทนต์ที่สะดุดน้อยที่สุด และการสร้างระบบปกป้อง เนื่องจากอุปกรณ์สามารถประมวลผลข้อมูลได้เร็วกว่ามนุษย์ การประมวลผลและส่งข้อมูลช้าย่อมส่งผลกระทบสูงกว่า Human-Latency Archetype ตัวอย่างเช่น ความล่าช้าของข้อมูลในสินค้าโภคภัณฑ์ และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ราคาผันผวนในเศษเสี้ยวของวินาที อาจทำให้ผลกำไรกลายเป็นขาดทุนได้
– Life Critical – หมายรวมถึงการใช้งานที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์ ดังนั้น สปีดความเร็ว และความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด กรณีนี้รวมถึงการประมวลข้อมูลในระบบขนส่งอัจฉริยะ ระบบสุขภาพดิจิตอล รถยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ (Connected/Autonomous Cars) หุ่นยนต์อัตโนมัติ และอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) สำหรับยานยนต์ไร้คนขับต้องมีข้อมูลที่อัพเดทเสมอแม่นยำเพื่อทำงานได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ที่นำมาใช้สำหรับอีคอมเมิร์ซและการจัดส่งพัสดุภัณฑ์
“ในภูมิภาคเอเชีย องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเอดจ์ คอมพิวติ้ง ทุกประเทศในภูมิภาคขับเคลื่อนตนเองเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด เครือข่ายเอดจ์ยังคงเดินหน้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เวอร์ทีฟมุ่งพัฒนา และนำเสนอระบบที่ให้ความเรียบง่าย องค์กรต่างๆ สามารถลงทุนได้ ในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการใช้งานของธุรกิจและผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ องค์กรจำนวนมากมีความพร้อมที่จะลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเอดจ์บนรูปแบบ archetypes เหล่านี้ เพื่อก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน เวอร์ทีฟ เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในการให้บริการผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการใช้งานในศูนย์ข้อมูล เครือข่ายการสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานทางพาณิชย์และอุตสาหกรรม” มร.จี โฮ หลิง รองประธาน ฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาด เวอร์ทีฟ เอเชีย กล่าว
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ เวอร์ทีฟ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: www.VertivCo.com.
เกี่ยวกับเวอร์ทีฟ
เวอร์ทีฟ ออกแบบ ผลิต และให้บริการเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการใช้งานในศูนย์ข้อมูล เครือข่ายการสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานทางพาณิชย์และอุตสาหกรรม เวอร์ทีฟ หรือชื่อเดิมคือ อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ รองรับตลาดโทรศัพท์มือถือและคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่กำลังเติบโตขึ้น โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นโซลูชั่นด้านการจัดการพลังงาน ความร้อน และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีแบรนด์เรือธงได้แก่ Chloride®, Liebert®, NetSure™ และ Trellis™ ยอดขายประจำปีงบประมาณ 2559 คิดเป็น $4.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เวอร์ทีฟ: www.VertivCo.com