UKA ผ่าตัดเปลี่ยนผิว ข้อเข่าเทียมบางส่วน “เก็บข้อเข่าเดิมเอาไว้ ใช้งานได้เหมือนธรรมชาติ”

0
435
image_pdfimage_printPrint

โดยทั่วไปการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดกว้างๆ คือ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty หรือ TKA) ใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีอาการปวดทั่วทั้ง เข่า และแกนขา ผิดรูปมาก มักพบในผู้ที่มีอายุมากแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด ส่วนผู้ป่วยที่ผิวข้อเข่าสึกหรอเพียงบางส่วน และยังคงมีผิวข้อเข่าส่วนที่ สภาพดีเหลืออยู่ กรณีนี้ศัลยแพทย์จะใช้การผ่าตัดรักษา ที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty หรือ UKA) เป็นการ ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม เฉพาะส่วนที่มีการสึกหรอ

UKA ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน
การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อมออก โดยเก็บรักษาผิวข้อเข่า ในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วย ผิวข้อเทียม และกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน
ซึ่งในอดีตผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพียงบางส่วน มักนิยมผ่าตัดโดยการตัดต่อกระดูก บริเวณใต้ข้อเข่า เพื่อแก้ไขความโก่งงอ แต่ เนื่องจากไม่ได้แก้ไขความเสื่อมภายในข้อเข่า
ปัจจุบันวิธีนี้ดังกล่าวจึงได้รับความนิยมน้อยลงมาก แพทย์บางท่านอาจพิจารณาเลือกผ่าตัด โดยวิธีการเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ทั้งหมด (TKA) ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก แต่ต้องยอมสูญเสีย ผิวข้อเข่าส่วนที่ยังอยู่ในสภาพดีไป ดังนั้น การผ่าตัดชนิดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะ บางส่วน จึงเป็นวิธีน่าสนใจที่ถูกนำมาพิจารณา

ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)
ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้การพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดให้มีขนาดเล็กลงโดยอาศัยเทคนิคของ Minimally Invasive Surgery ทำให้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ เนื่องจากการ ผ่าตัดแบบ UKA มีข้อดีหลายประการ
1. บาดแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงอย่างมาก
2. เนื่องจากบาดแผลมีขนาดเล็กลง ย่อมส่งผลทำให้การเสียดเลือดในการผ่าตัดนั้นลดลงเช่นกัน
3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ UKA ร่วมกับเทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็กลง จะสามารถทำให้ผู้ป่วย เดินได้
เร็วกว่าการผ่าตัด ด้วยวิธีแบบเดิม ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยสามารถเดินได้ภายใน 1-2 วัน หลัก
จากเข้ารับการผ่าตัด
4. ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูสรรมภาพหลังจากทำการผ่าตัดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม จนสามารถใช้งาน และ ทำงาน
ได้ตามปกติภายใน 3-4 สัปดาห์
5. มีภาวะการแทรกซ้อนน้อยลง โดยเฉพาะการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อจำกัด
ถึงแม้การผ่าตัด UKA โดยอาศัยเทคนิคของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งแม้จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อ จำกัดบางประการด้วย เช่นกัน ได้แก่
1. การผ่าตัดด้วยเทคนิคพิเศษนี้น่อมเป็นวิธีที่ทำได้ยากกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีการแบบเดิม จึงมีความจำเป็น
ต้องใช้แพทย์ที่มี ความขำนาญในการผ่าตัดเป็นพิเศษ
2. การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะที่จะทำการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ภาวะความเสื่อมมากในขั้นรุนแรง
3. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ไม่เหมาะที่ใช้วิธีการผาตัดด้วยวิธีการแบบ UKA
4. ในอดีตการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า แพทย์มักจะแนะนำให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปแต่ผิวข้อเข่า
เทียมในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้มีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้นถึง 10-20 ปี

โดยสรุป การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า เทียมเพียงบาง ส่วนชนิด Unicompartment Knee Arthroplasty โดยอาศัยเทคนิคของการผ่าตัด แบบแผลเล็ก ร่วมด้วยนั้น มีข้อดีหลายประการ แต่ผู้ป่วย จำเป็นต้องมาพบแพทย์โดยเร็ว ก่อนที่ ภาวะของข้อเข่าเสื่อมจะเป็นมากเกินไป และจำเป็นต้องทำการผ่าตัด โดยแพทย์ ที่มีความ ชำนาญในการ ผ่าตัดด้วยวิธีนี้เท่านั้น
ปรึกษาปัญหาอาการปวดข้อได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 1A โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391 0011 ต่อ 110,111