TQM เปิดตัว ‘TQM Home Insurance’ ประกันบ้านแนวใหม่ พร้อมแพลตฟอร์มประเมินความเสี่ยงบ้านครั้งแรกของไทย

0
7809
image_pdfimage_printPrint

TQM ผู้นำโบรคเกอร์ประกันภัยไทย ปล่อยประกันภัยบ้านแนวใหม่ ‘TQM Home Insurance’ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ความคุ้มครองที่มากกว่าเหตุไฟไหม้ หรือ โจรกรรม มีแผนความคุ้มครองให้มากกว่า 100 แผนประกัน ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกความคุ้มครองได้เอง  ครอบคลุมทุกความเสี่ยงภัยที่ไม่ใช่เพียงแค่อัคคีภัย แต่ยังรวมถึงภัยอื่นๆ ที่เกิดอาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เช่น ภัยจากน้ำ ภัยจากลมพายุ ภัยธรรมชาติ ภัยโจรกรรมบุกรุกงัดแงะ ภัยเงินสด รวมไปจนถึงคุ้มครองบุคคลภายในบ้านและความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ด้วยคอนเซ็ปต์ ‘ประกันบ้าน ที่มากกว่าประกันอัคคีภัย’ เจาะตลาด ‘คนห่วงบ้าน’ กว่า 20 ล้านหลังคาเรือนที่ยังไร้ประกันภัยบ้าน ขยายฐานลูกค้าไปในทุกในทุกช่องทาง ขาย พร้อมใช้ InsurTech เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแพลตฟอร์ม home.tqm.co.th  ให้ลูกค้าเช็คความเสี่ยงก่อนซื้อประกันตามพื้นที่ เตรียมปักธงเป็นผู้นำโบรคเกอร์ตลาดประกันบ้าน ตั้งเป้ายอดขายปี 2564 ที่ 500 ล้านบาท และภายใน 5 ปี ได้ยอดขายรวม 15,927 ล้านบาท

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด กล่าวว่า ตลาดประกันภัยบ้านเมื่อปีที่ผ่านมามีการถือครองกรมธรรม์ประกันภัยบ้านอยู่เพียง 3 ล้านหลังคาเรือน หรือเพียงร้อยละ 12 จากบ้านอยู่อาศัยในไทยทั้งหมดกว่า 27 ล้านหลังคาเรือน ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของทีม Data TQM พบว่า มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนถึงเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันภัยบ้าน โดยคนไทยส่วนมากยังเข้าใจว่าประกันภัยบ้านคือประกันอัคคีภัย คุ้มครองเฉพาะเรื่องของไฟไหม้ จึงเห็นเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ให้ความสำคัญในการทำประกันมากนัก ซึ่งยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด

จากภาพรวมการมีประกันภัยบ้านของคนไทยทำให้ TQM เห็นถึงโอกาสในการรุกเข้าไปเปิดตลาดโดยใช้กลยุทธ์การออกแบบประกันภัยบ้านแนวใหม่ ผ่านแนวคิด ‘ประกันบ้าน ที่เป็นมากกว่าประกันอัคคีภัย’  หวังเจาะกลุ่มคนที่ห่วงบ้านทุก Segment ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองหลากหลายและแตกต่างกันไปตามความเสี่ยงของบ้านแต่ละหลัง อาทิ กลุ่มพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ กลุ่มพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ใกล้เขตโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มเสี่ยงการโจรกรรม และอื่นๆ ซึ่งในระยะแรกจะมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค ถึงความคุ้มครองของประกันภัยบ้านที่มีมากกว่าความคุ้มครองอัคคีภัย และยังสามารถเลือกความคุ้มครองตามความเสี่ยงภัยที่เหมาะสมกับบ้านได้ด้วยตนเอง

ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด กล่าวว่า ‘TQM Home Insurance’ เป็นประกันภัยบ้านแนวใหม่ที่มีแผนประกันภัยให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลาย โดยลูกค้าเลือกได้ว่าต้องการแผนประกันภัยแบบใดเพื่อให้คุ้มครองครอบคลุมความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อบ้านตนเอง โดยมีการนำ Insurtech มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและสร้าง www.home.tqm.co.th เข้ามาช่วยคำนวณว่าบ้านแต่ละหลังมีความเสี่ยงภัยเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นด่านแรกในการคัดกรองให้คนห่วงบ้านสามารถประเมินภัยของพื้นที่บ้านตนเองก่อนตัดสินใจทำประกัน นอกจากนี้ยังเป็นการประกาศความเป็นผู้นำด้าน InsurTech ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือในการทำงานของ TQM ให้ ครอบคลุมในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดย home.tqm.co.th ได้ทำงานร่วมกันกับ Baannia  ซึ่งจะให้ข้อมูลขนาดพื้นที่บ้านแต่ละหลัง เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่ทราบพื้นที่บ้านสามารถซื้อประกันบ้านได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับ Nostra ที่จะให้ข้อมูลสถิติภัยต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าทราบได้ว่าบริเวณรอบ ๆ บ้านของลูกค้ามีความเสี่ยงภัยอะไรบ้าง ซึ่งทำให้เทคโนโลยีนี้เติมเต็มและตอบสนองกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

ซึ่งในแพลตฟอร์มจะมีประกันบ้านแนวใหม่นี้ให้เลือกมากกว่า 100 แผน เจาะกลุ่ม ‘คนห่วงบ้าน’ 3 ห่วงหลัก คือ กลุ่มหัวหน้าครอบครัวที่เป็นห่วงบ้านและคนในครอบครัว กลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบท่องเที่ยวไม่ค่อยอยู่บ้านเป็นห่วงบ้านซึ่งเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม ไฟไหม้ หรือภัยพิบัติต่าง ๆ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ ห่วงทรัพย์สินหรือของมีค่าภายในบ้าน ซึ่งประกันภัยบ้านแนวใหม่นี้ครอบคลุมทุกความเสี่ยงของคนทุกกลุ่มที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน ทั้ง คุ้มครองภัยที่เกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ อาทิ ฟ้าผ่า ระเบิด น้ำรั่ว น้ำท่วม ลมพายุ แผ่นดินไหว คุ้มครองภัยโจรกรรม ลัก ชิง ปล้น งัดแงะ คุ้มครองทรัพย์สินประเภทเงินสด หรือ ประกันภัยเงิน คุ้มครองกระจกแตกจากอุบัติเหตุ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในที่พักอาศัยของผู้เอาประกันภัย

นับเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับคนไทยและวงการประกันภัยบ้านที่ยังไม่เคยมีมาก่อน พร้อมตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าประกันภัยบ้านแนวใหม่ โดยภายใน 5 ปี ได้เบี้ยประกันภัยรวมที่ 15,927 ล้านบาท