TK กำไรไตรมาส 3 สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส 133 ล้านบาท

0
376
image_pdfimage_printPrint

TK กำไรไตรมาส 3 สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส 133 ล้านบาท
• พอร์ทลูกหนี้เช่าซื้อ 9 เดือนแรกโต 12.7% มากกว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศ 3.8 เท่าตัว
• คณะกรรมการอนุมัติเพิ่มวงเงินทดรองให้บริษัทลูกในต่างประทศเป็น 800 ล้านบาท เตรียมพร้อมขยายตัวธุรกิจในต่างประเทศ

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย เดินหน้าเพิ่มวงเงินทดรองอีก 400 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท ให้บริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้แก่ Suosdey Finance PLC บริษัท Sabaidee Leasing Co. Ltd. และบริษัท Mingalaba Thitikorn Microfinance Co., Ltd เพื่อรองรับขยายการเติบโตของทั้ง 3 บริษัทที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องและรองรับฤดูการขายไตรมาสสุดท้าย และไตรมาสแรกของปี 2561 ณ สิ้นไตรมาส 3/2560 พอร์ทลูกหนี้เช่าซื้อจากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 2.7% เมื่อปีที่แล้วมาเป็น 3.71% หรือประมาณ 300 ล้านบาท มั่นใจตลาดต่างประเทศโตตามแผน
นางสาวปฐมา พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติวงเงินทดรองจำนวน 400 ล้านบาทให้กับบริษัทย่อย 3 บริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการเสริมสภาพคล่องชั่วคราวให้กับบริษัทในต่างประเทศ โดยให้ปรับเพิ่มวงเงินทดรองของบริษัท Suosdey Finance PLC จาก 200 ล้านบาท เป็น 400 ล้านบาท ของบริษัท Sabaidee Leasing Co., Ltd. จาก 200 ล้านบาทมาเป็น 300 ล้านบาท และตั้งวงเงินทดรองใหม่ของบริษัท Mingalaba Thitikorn Microfinance Co., Ltd. อีก 100 ล้านบาท
นางสาวปฐมา กล่าวว่า 9 เดือนแรกของปีนี้ ลูกค้าเช่าซื้อจักรยานยนต์ของบริษัท Suosdey Finance PLC และ Sabaidee Leasing Co., Ltd ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ TK ในกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามลำดับ มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย 9 เดือนแรกของปีนี้ ลูกค้าเช่าซื้อของ Suosdey Finance PLC เพิ่มขึ้น 143 % และ Sabaidee Leasing Co., Ltd. เพิ่มขึ้น 86 % ทำให้สัดส่วนพอร์ทลูกหนี้เช่าซื้อจากต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 2.7% เมื่อสิ้นปีที่แล้ว มาเป็น 3.71% ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ การอนุมัติวงเงินทดรองครั้งนี้เป็นการ รองรับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูการขายรถจักรยานยนต์ทั้งสองประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และไตรมาส 1 ปี 2561 โดย TK เชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 50% ภายในปี 2563 ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

– 2 –
การเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงของบริษัทลูกทั้งสองประเทศนั้น เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าผู้ซื้อรถจักรยานยนต์จากระบบเงินสดมาเป็นระบบการเช่าซื้อ ประกอบการกับการขยายสาขาในกัมพูชาจากเริ่มต้น 1 สาขามาเป็น 3 สาขาเมื่อปีที่แล้ว และ 6 สาขาในปีนี้ สำหรับการขยายสาขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กำลังอยู่ในช่วงยื่นขออนุมัติขยายสาขาเพิ่มอีก 2 สาขา ในส่วนของ Mingalaba Thitikorn Microfinance Co., Ltd. ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทดังกล่าวจาก 4.88 ล้านบาท เพิ่มเป็น 38 ล้านบาท โดยขณะนี้ TK อยู่ระหว่างการดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากรัฐบาลเมียนมา ซึ่งหากได้รับอนุมัติ TK พร้อมเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศดังกล่าวทันที นางสาวปฐมา กล่าวว่า
สำหรับผลประกอบการประจำไตรมาส 3/2560 พอร์ทลูกหนี้เช่าซื้อไตรมาส 3/2560 เติบโต 4.0% มีผลกำไรจากการดำเนินงานรวมในไตรมาส 3/2560 ที่ 133.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2560 เมื่อรวมพอร์ทลูกหนี้เช่าซื้อ 9 เดือนแรก มีอัตราเติบโตทั้งสิ้น 12.7% รวมมูลค่าลูกหนี้เช่าซื้ออสุทธิ 8,704 ล้านบาท และมีผลกำไรจากการดำเนินงาน 9 เดือนแรกที่ 357.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการเติบโตติดต่อกันถึง 8 ไตรมาส และทำสถิติสูงสุดในช่วง 18 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงกว่าอัตราเติบโตของอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทย 3.3% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมียอดจำหน่าย 1,394,673 คัน
บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 9,741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% จาก 8,611 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2559 และหนี้สินรวมในไตรมาส 3 ปี 2560 มีทั้งสิ้น 5,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.7% จาก 4,062 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2559 ซึ่งผลประกอบการของ TK มีแนวโน้มที่ดี และปี 2560 จะเป็นปีที่ 3 ที่เติบโตต่อเนื่องอีกทั้งมีส่วนของผู้ถือหุ้น 4,542 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 1.08 เท่า ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของฐานทุน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายบริษัทหลักทรัพย์ เมื่อเร็ว ๆ นี้เผยแพร่บทวิเคราะห์หุ้น TK โดยมีความเห็นเชิงบวกสอดคล้องกันเกี่ยวกับ TK ว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศอยู่ช่วงขาขึ้น โดยได้แรงหนุนจากภาคเกษตร ส่งออก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ รวมทั้งการที่ TK มีแผนขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อในต่างประเทศเป็น 50% ภายในปี 2563 นอกเหนือจาก การบริหารการดำเนินธุรกิจของ TK ที่มีการบริหารจัดการที่เบ็ดเสร็จ และมีการบริหารต้นทุนทางการเงินที่สามารถลดต้นทุนได้จากการออกหุ้นกู้ รวมทั้งมีการปันผลสม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจว่ามีโอกาสที่ TK จะขยายพอร์ทสินเชื่อได้อีกมาก