BCB DANCE COLLECTION 2019
THE CONTEMPORARY DANCE PERFORMANCE WITH JAMES PETT
นำเสนอโดย บ.บีกริม
BCB DANCE COLLECTION 2019: The Contemporary Dance Performance with James Pett, presented by B. Grimm คือ การแสดงที่เกิดขี้นจากการร่วมมือของคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ คณะบัลเลต์แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย และศิลปินนักเต้นระดับโลกเชื้อสายไทย James Pett ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะนักเต้นของ คณะ Wanye McGregor คณะเต้นร่วมสมัยแถวหน้าของโลกจากประเทศอังกฤษ และยังเป็นผู้ที่มีผลงานการออกแบบท่าเต้นที่เป็นที่ยอมรับและได้จัดแสดงในงานเทศกาลเต้นนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก และในเดือนตุลาคม 2562 James จะเดินทางมากรุงเทพมหานครในฐานะ Artist Residency ให้กับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ โดย James จะออกแบบท่าเต้นในรูปแบบการเต้นร่วมสมัย และฝึกซ้อมการแสดงให้กับนักเต้นของบางกอกซิตี้บัลเลต์ เป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ และการแสดงชุดนี้จะจัดแสดงในงาน BCB Dance Collection: The Contemporary Dance Performance with James Pett ภายในงาน BCB Dance Collection: The Contemporary Dance Performance with James Pett นอกจากจะมีชุดการแสดงที่ James ร่วมทำกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์แล้ว ยังมีการแสดงเดี่ยวโดย James และการแสดงร่วมสมัยหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น รูปแบบที่ผสมผสานบัลเลต์ (modern ballet) หรือนาฏศิลป์ไทย (Thai contemporary dance) จากฝีมือการออกแบบท่าเต้นของนักออกแบบท่าเต้นชาวไทยของคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ เช่น อนุรักษ์ งามตา, ณพิชญา อำพันแสง, สรัสนันท์ ชัยศิลปิน, โชตเดชา ดังฌินาคุปต์ และสุพัฒชัย ลาภปกรณ์กุล ซึ่งเป็นอดีตนักเต้นของคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ แต่ปัจจุบันเป็นนักเต้นและอาจารย์ของสถาบันการสอนศิลปะที่มีซื่อเสียงของประเทศสิงคโปร์
การจัดการแสดงครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเต้นไทยได้ร่วมงานกับศิลปินต่างชาติ ได้เรียนรู้กระบวนการคิด การทำงาน การออกแบบท่าเต้น รวมไปถึงเทคนิคการเต้นใหม่ๆ ที่จะสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการตนเองในฐานะนักเต้นและยังสามารถเผยแพร่ความรู้และทักษะเหล่านั้นต่อนักเรียน หรือนักเต้นรุ่นต่อๆไป นอกจากนี้การแสดงครั้งนี้ยังมุ่งเน้นให้พื้นที่กับศิลปินนักเต้นไทยได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการคิดและการออกแบบท่าเต้นใหม่ๆ รวมไปถึงแลกเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัยร่วมกัน ทางผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแสดงครั้งนี้จะทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการชมผลงานของศิลปินแต่ละคนและเล็งเห็นศักยภาพของนักเต้นและนักออกแบบท่าเต้นไทย
โดยการแสดง BCB Dance Collection 2019 : The Contemporary Dance Performance with James Pett จะจัดแสดงขึ้น 3 รอบด้วยกัน ในวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2562 เวลา 14:00 น. และ 19:00 น. และวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2562 เวลา 14:00 น. ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำหน่ายบัตรในราคา 650 บาท และสำหรับนักเรียนนักศึกษาราคา 450 บาทต่อรอบการแสดง
ภายใต้โครงการนี้ นอกเหนือจากการแสดงแล้วยังมีการจัด Contemporary Dance Workshop by James Pett ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ นักเรียน นักศึกษา และนักเต้นทั่วไปสามารถเข้าร่วมเรียนรู้เทคนิคการเต้นร่วมสมัยกับ James Pett ได้โดยตรง โดยจะแบ่งกิจกรรมเวิร์คชอปออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1) Junior Contemporary Dance Master Class สำหรับนักเต้นรุ่นเล็ก อายุ 12-15 ปี ที่มีพื้นฐานการเต้นร่วมสมัย
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 เวลา 17:00-18:30 และ วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 เวลา 15:00-16:30
2) Senior Contemporary Dance Master Class สำหรับนักเต้นทั่วไปและนักเต้นอาชีพ
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 เวลา 18:30-20:00 และ วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 เวลา 17:00-18:30
โดยเวิร์คชอปนี้จะจัดขึ้นที่ ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในวันและเวลาดังกล่าว ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมเวิร์คชอป 750 บาทต่อเวิร์คชอป
ติดต่อสอบถาม จองบัตรชมการแสดง และเวิร์คชอปการเต้นร่วมสมัยได้ที่ 061-545-9625 และ Facebook Page: BCB Box Office (https://m.facebook.com/BCBboxoffice)
โปรแกรมการแสดง
โปรแกรมการแสดงประกอบด้วย การแสดงเต้นร่วมสมัยจำนวน 6 ชุด และยังการแสดงพิเศษ 1 ชุดในรอบวันอาทิตย์
1) Unfolding ออกแบบท่าเต้นโดย James Pett ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการร่วมงานกันเป็นระยะเวลาเกือบ 3 สัปดาห์ของ James กับนักเต้นจากคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ จำนวน 18 คน
2) Man of the Crowd เป็นผลงานร่วมสมัยความยาวประมาณ 10 นาที ที่ออกแบบท่าเต้นและแสดงเดี่ยวโดย James Pett
3) Synergy of Love เป็นผลงานเต้นร่วมสมัยที่ผสมผสานเทคนิคการเต้นแบบตะวันตกเข้ากับนาฏศิลปไทย บนแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อของไทย ออกแบบท่าเต้นโดย โชตเดชา ดังฌินาคุปต์ ศิลปินและนักเต้นไทยที่มีผลงานเป็นเอกลักษณ์ ผลงานชิ้นนี้ได้รับคัดเลือกให้ไปแสดงในงาน Chorea International Dance Festival 2019 ที่สาธารณรัฐสโลวัก เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นำแสดงโดย อนุรักษ์ งามตา และสรัสนันท์ ชัยศิลปิน ซึ่งในงาน BCB Dance Collection 2019 นี้ นักแสดงทั้งคู่จะทำแสดงผลงานชิ้นนี้อีกครั้งในรอบวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม ส่วนในรอบวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม ผลงานชิ้นนี้จะแสดงโดย โชตเดชา ดังฌินาคุปต์ และณัชพร ศรฬสวรรณ
4) Harmonized เป็นผลงานเต้นร่วมสมัย ออกแบบและนำแสดงโดย ณพิชญา อัมพันแสง และอนุรักษ์ งามตา ซึ่งการแสดงชุดนี้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของการแสดงคู่ ในรายการ ATOD International Dance Competition มาแล้ว และผลงานชิ้นนี้จะจัดแสดงพิเศษเพียงรอบเดียวในวันอาทิตย์ที่26 ตุลาคม
5) ห้วงมหรรณพ เป็นผลงานเต้นรวมสมัยที่ผสมผสานนาฎศิลปะไทยชิ้นล่าสุดของ โชตเดชา ดังฌินาคุปต์
6) Iris เป็นผลงานโมเดิร์นบัลเลต์ที่ออกแบบท่าเต้นโดย สรัสนันท์ ชัยศิลปิน
7) Embrace to be Embraced ผลงานร่วมสมัยล่าสุดและเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำร่วมกับนักเต้นจากคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ ของ สุพัฒชัย ลาภปกรณ์กุล หลังจากจบการศึกษา และทำงานเป็นนักเต้นอาชีพและอาจารย์ของสถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศสิงคโปร์
รายละเอียดผลงาน
ชื่อผลงาน: Unfolding
ผู้ออกแบบท่าเต้น: James Pett
นักแสดง: สรัสนันท์ ชัยศิลปิน, โชตเดชา ดังฌินาคุปต์, วรบรรจง ปิยสันติวงศ์, แสงทิพย์ วารีแสงทิพย์, นพร วัฒนเกษม, วิทวัส กรมณีโรจน์, สุพัฒชัย ลาภปกรณ์กุล, ภัทราวดี ถิ่นอนันต์, แพงพิม สมใจ, สธนธร ปรมรรตมสกล, ชนกานต์ พันธ์พิจิตร, ณิชาภัทร ถวัลย์วาณิชกุล, พิชญา ศิรินานุวัฒน์, วุฒิพงษ์ มงคลพันธ์, ณัชพร ศรฬสวรรณ, ดวงธิดา เลี้ยงสกุล, ศรุดา จันทราพานิชกุล และ กาญจนากร สะเพียรชัย
เพลง: Unfolding, I Think So, Slow Song by Rival Consoles & L’Envol by Kangding Ray
Unfolding คือ ผลงานที่ได้รับแรงบัลดาลใจมากจากความสัมพันธ์ของศิลปินกับประเทศไทย โดยผลงานชิ้นนี้เน้นการค้นหาและทดลองเพื่อปลดปล่อยอารมย์ของนักแสดงผ่านความยากลำบากและความผิดหวังของพวกเขา ศิลปินต้องการแสดงผลงานต่อผู้ชมเพื่อสื่อสารว่าการส่งต่ออารมณ์ออกไปจะสามารถทำให้เราปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระได้ ผ่านการเต้นเดี่ยว การเต้นคู่ การเต้นสามคน และการเต้นเป็นกลุ่ม
ชื่อผลงาน: Man of the Crowd
ได้รับแรงบัลดาลใจจาก: ‘Man of the Crowd’ Edgar Allan Poe
ผู้ออกแบบท่าเต้นและแสดง: James Pett
เพลง: One Earth, One People, One Love by Terry Riley & Kronos Quartet.
Under the Tree – Alex Somers remix by Daniel Bjarnason.
End by Alex Somers & Sigur Ros
“Ce grand malheur, de ne pouvoir être seul” This great misfortune, of not being able to be alone. ความโชคร้ายอย่างที่สูดของการที่ไม่สามารถอยู่โดยลำพัง เป็นแนวคิดที่ได้แรงบันดาลใจจาก ‘Man of the Crowd’ โดย Edgar Allan Poe ซึ่งเป็นกาค้นคว้าผ่านการสังเกตการณ์ ตัวละครลึกลับที่ทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราอยู่ในฐานะใดท่ามกลางความหลากหลายของหมู่ตัวละครทั้งหมดในสังคม ในขณะที่บางทีเราก็ปลดปล่อยตัวตนภายในของเราออกไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็นับเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คนในสังคมด้วยเช่นกัน
ชื่อผลงาน: Synergy of Love
ผู้ออกแบบท่าเต้น: โชตเดชา ดังฌินาคุปต์
นักแสดง: โชตเดชา ดังฌินาคุปต์ และณัชพร ศรฬสวรรณ (รอบการแสดงวันเสาร์),
อนุรักษ์ งามตา และสรัสนันท์ ชัยศิลปิน (รอบการแสดงวันอาทิตย์)
เพลง: จากภาพยนตร์เรื่องจันดารา
Synergy of Love เป็นผลงานการเต้นร่วมสมัยที่ผสมผสานท่าเต้นแบบตะวันตกเข้ากับนาฏศิลป์ไทยและเรื่องราวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ที่ผูกพันกับความเชื่อของคนไทย เมื่อยากเกินที่จะได้รับความรัก แต่ละคนต่างหาทางที่จะได้รับความรักนั้น ในผลงานชุดนี้แสดงชายผู้หนึ่งพยายามใช้มนต์ดำเพื่อให้ตนได้รับรักจากฝ่ายหญิง หากแต่ในขณะเดียวกันฝ่ายหญิงก็ใช้ไสยศาสตร์เพื่อให้ฝ่ายชายรักตน แม้ความรักที่ต่างฝ่ายจะครอบครองความรัก หากแต่รักนั้นก็เป็นรักที่ไม่บริสุทธิ์
ชื่อผลงาน: Harmonized
ผู้ออกแบบท่าเต้นและแสดง: ณพิชญา อัมพันแสง และอนุรักษ์ งามตา
ความรู้สึกและจิตวิญญาณของคนสองคนที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์ ผ่านการเต้นคู่พาร์เดอเดอร์ที่ไร้รอยต่อ ร่วมด้วยดนตรีและการเต้นที่ไหลลื่น จะสามารถเห็นและสัมผัสได้ว่าพวกเขาสอดประสานกลมกลืนกันอย่างแท้จริง …. หนึ่งความรัก หนึ่งหัวใจ
ชื่อผลงาน: ห้วงมหรรณพ
ผู้ออกแบบท่าเต้น: โชตเดชา ดังฌินาคุปต์
นักแสดง: โชตเดชา ดังฌินาคุปต์, ชนกานต์ พันธ์พิจิตร, วรบรรจง ปิยสันติวงศ์, พิชญา ศิรินานุวัฒน์, ณัชพร ศรฬสวรรณ, และ ดวงธิดา เลี้ยงสกุล
เส้นทางสู่พระนิพพานตามหลักพุทธศาสนา ต้องอาศัยความเพียรและสั่งสมบารมีเนิ่นนานหลายชาติ เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามห้วงมหรรณพ ที่มีอุปสรรคนานัปการ มีความห่วงทางโลกเป็นเสมือนคลื่นน้ำวนดูดกลืนผู้ที่กำลังบำเพ็ญบารมีนี้
เป็นธรรมดาโลกที่ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ก็อาจเพลี่ยงพล้ำในเส้นทางนี้ ต้องอาศัยการบำเพ็ญอริยสัจ จึงจะตัดความห่วงทางโลก และก้าวผ่านห้วงมหรรณพสู่พระนิพพานได้
ชื่อผลงาน: Iris
ผู้ออกแบบท่าเต้น: สรัสนันท์ ชัยศิลปิน
นักแสดง: แสงทิพย์ วารีแสงทิพย์, แพงพิม สมใจ, ณิชาภัทร ถวัลย์วาณิชกุล, พิชญา ศิรินานุวัฒน์, ดวงธิดา เลี้ยงสกุล,และ กาญจนากร สะเพียรชัย
Iris เป็นผลงานโมเดิร์นบัลเลต์ที่มาจากความประทับใจในบทเพลงที่ชื่อ “ไอรีส” และภาพยนต์เรื่องหนึ่ง เมื่อคนๆหนึ่งไม่ต้องการที่จะให้โลกรับรู้ถึงการมีตัวตนของตนเอง หากแต่ต้องการให้คนที่เขารักรับรู้ถึงตัวตนของเขาเพียงเท่านั้น
ชื่อผลงาน: Embrace to be Embraced
ผู้ออกแบบท่าเต้น: สุพัฒชัย ลาภปกรณ์กุล
นักแสดง: แสงทิพย์ Wareesangtip, นพร วัฒนเกษม, ภัทราวดี ถิ่นอนันต์, แพงพิม สมใจ, สธนธร ปรมรรตมสกล, ณิชาภัทร ถวัลย์วาณิชกุล, วุฒิพงษ์ มงคลพันธ์ และ ศรุดา จันทราพานิชกุล
Vulnerable มีหมายความว่า ง่ายต่อการทำให้เจ็บหรือเป็นอันตรายทั้งในทางร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์
แต่ Vulnerability ไม่ใช่ความอ่อนแอ หากแต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ชี้วัดความกล้าหาญ
ความกล้าที่แท้จริง มาจากความกล้าที่จะแสดงตัวตนออกมาให้ผู้อื่นเห็น กล้าที่จะร้องขอ กล้าที่จะพูดถึงความรู้สึก และกล้าที่จะบอกกล่าวใจสิ่งที่ยากจะพูดถึง จงโอบกอดและยอมรับความเปราะบางของตนนั้น แล้วคุณจะรับการโอบกอดนั้นเช่นกัน
ประวัติของคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์
คณะบางกอกซิตี้บัลเลต์เป็นคณะบัลเลต์อาชีพแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 ภายใต้การบริหารงานของคุณมาซาโกะ ฮิราตะ ซึ่งมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาความสามารถและสนับสนุนผลงานของนักเต้นในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรตแล้วที่คณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ได้สร้างสรรค์ผลงานการเต้นอันน่าประทับใจทั้งในแบบคลาสสิคและร่วมสมัยให้กับผู้ชมชาวไทย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้คณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ได้ร่วมงานกับคณะบัลเลต์ระดับโลกมากมาย อาทิ ในผลงานการแสดงบัลเลต์เรื่อง Don Quixote กับคณะ Paris Opera Ballet (ปี พ.ศ. 2550) การแสดงบัลเลต์เรื่อง Romeo & Juliet กับคณะ Asami Maki Ballet (ปี พ.ศ. 2551) การแสดงบัลเลต์ร่วมสมัยกับคณะ Le Ballet du Grand Théâtre de Genève และการแสดงบัลเลต์เรื่อง The Nutcracker ร่วมกับคณะ l’Opéra de Paris (ปี พ.ศ. 2555) และการแสดงบัลเลต์เรื่อง La Sylphide ร่วมกับคณะ English National Ballet (ปี พ.ศ. 2556)
ด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องที่จะสร้างผลงานที่ใหม่และหลากหลายออกสู่สายตาผู้ชม คณะบางกอกซิตี้บัลเลต์มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาศักยภาพของคณะให้ทัดเทียมกับคณะเต้นที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ นอกจากนี้คณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ยังได้ก่อตั้งโรงเรียนบอกกอกซิตี้บัลเลต์ขึ้น ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาความสามารถในการเต้นบัลเลต์และการเต้นร่วมสมัยให้แก่ผู้ที่มีความสนใจ ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนบอกกอกซิตี้บัลเลต์มีนักเรียนกว่าร้อยคน
ประวัติศิลปินผู้ออกแบบท่าเต้น
James Pett แข่งขันยิมนาสติกมานานกว่า 10 ปี และได้เป็นตัวแทนประเทศอังกฤษไปแข่งขันในรายการยิมนาสติกระดับโลก World Gymnastrada ณ ประเทศออสเตรีย ในปี ค.ศ.2007 James จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมจาก Trinity Laban Conservatoire of Music and Dance ในปี ค.ศ. 2011 และได้รับรางวัล The Marion North Award ในความโดดเด่นด้านการแสดง และในปี ค.ศ.2010 เขายังได้ทำงานร่วมกับ Patricia Lent ในการฟื้นฟูการแสดง Merce Cunningham’s Scramble ซึ่งเป็นการเต้นเดี่ยวแบบดั้งเดิมของ Cunningham
ค.ศ. 2011-2013 James เต้นให้กับคณะเต้นรำ Richard Alston Dance Company และได้ไปแสดงทั่วโลก ในปี ค.ศ.2011 เขาแสดงในผลงานชุด Dance Umbrella เขายังได้ร่วมกับ Robert Cohan ในผลงาน In Memory และในปี ค.ศ.2012 เขาได้แสดงในนิทรรศการ The Bride and the Bachelors ที่ Barbican Centre โดยทำงานกับ Jeannie Steele ในการรวบรวมผลงานต่างๆ ของ Cunningham นอกจากนี้ผลงานการเต้นคู่ของเขาใน Unfinished Business ซึ่งออกแบบโดย Richard Alston ยังได้รับเลือกจาก New York Times ให้เป็นผลงานเต้นที่ยอดเยี่ยมที่สุดในปี ค.ศ.2013
ในปีค.ศ.2018 James ได้รับเชิญไปร่วมงานกับ M&T In Motion ซึ่งก่อตั้งโดยนักออกแบบท่าเต้นชาวออสเตรเลีย Tim Podesta และนักเต้นตัวเอกของรอยัลบัลเลต์ Mara Galeazzi โปรแกรมนี้มีชื่อว่า Forte ซึ่งจัดแสดงทั่วประเทศออสเตรเลีย โดยแสดงครั้งแรกที่เมือง Melbourne ถือเป็นโปรแกรมที่รวมผลงานที่ของ Tim Podesta และ ผลงานชื่อ Proximity ซึ่งเป็นผลงานออกแบบและเต้นคู่ของ James กับ Travis Clausen-Knight จัดแสดงด้วย และจากการโปรแกรมดังกล่าวส่งผลให้การแสดงของเขาที่จัดแสดงที่ Sadlers Wells, Lilian Baylis ขายบัตรได้ทั้งหมด ซึ่งงานแสดงครั้งนั้นมีชื่อว่า The Zoo ประกอบด้วยผลงานสองชิ้น คือ Informal Between ซึ่งเป็นการเต้นคู่ที่เขาร่วมออกแบบ และการเต้นคู่ชาย-ชาย ความยาว 45 นาทีที่เขาเป็นผู้แสดง ในปี 2019 James ได้เป็นศิลปินร่วมของ Fabula Collective และได้แสดงผลงาน ณ โรงละคร Cerulean Noh กรุงโตเกียวเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
James เต้นให้กับคณะเต้น Wayne McGregor ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ถึง 2019 และปัจจุบันยังคงร่วมงานในโครงการพิเศษ รวมถึงการจัดกิจกรรมด้านการเรียนรู้กับ Studio Wayne McGregor อยู่
อนุรักษ์ งามตา จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขาเริ่มร่วมงานกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ในปี ค.ศ. 2007 และได้รับตำแหน่งนักแสดงนำของคณะในปี ค.ศ. 2009 อนุรักษ์ได้รับเชิญให้ร่วมแสดงกับคณะเต้นและโรงเรียนเต้นมากมายทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น Danceworks Production (ประเทศมาเลเซีย), Ena Ballet Studio (ประเทศญี่ปุ่น), Suganami Classical Ballet School (ประเทศญี่ปุ่น), โรงเรียนอารีย์นาฎยศิลป์ (ประเทศไทย), Rising star (ประเทศไทย), Point Studio (ประเทศไทย)
นอกจากนั้นอนุรักษ์ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันเต้นทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ และได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลเหรียญทองจากการแข่งขัน Yokosuka International Ballet Competition ที่ประเทศญี่ปุ่น รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 จากการแข่งขันประเภท Pas de Deux (Open age) ของการแข่งขัน ATOD International 2018 รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภท CSTD Classical Championship (Open Age) ทั้งในปี ค.ศ. 2015 และ ค.ศ. 2016 รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภท Classical Solo (Open age) จากการแข่งขัน The 18th Asia Pacific Dance Competition ที่มาเก๊า เป็นต้น และในงานมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อนุรักษ์ได้รับคัดเลือกให้แสดงในบทนำเป็นพระสุธนในการแสดงมโนราห์บัลเลต์ และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากนี้ อนุรักษ์ยังได้เป็นตัวแทนของคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ไปร่วมแสดงบัลเลต์ในงาน Chorea International Dance Festival ณ สาธารณรัฐสโลวัก
ณพิชญา อัมพันแสง เริ่มต้นเรียนบัลเลต์เมื่ออายุ 17 ปี จนสามารถจบหลักสูตร Royal Academy of Dancing ในปี ค.ศ. 2001 เธอจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานาฏศิลป์สากล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 1997 และได้รับทุนไปศึกษาทางด้านการเต้นที่เกาะฮ่องกง เมื่อกลับมาเธอเข้าร่วมคณะซีพีเอ (CPA: The Company of Performing Artist) ในฐานะนักเต้นนำการแสดงในบัลเลต์หลายเรื่อง อาทิเช่น มโนราห์บัลเลต์, Beauty and the Beast, Contemporary 101, Swan Lake เป็นต้น นอกจากนี้เธอยังออกแบบท่าเต้น สำหรับมิวสิคัลเรื่อง Chicago และ Chorus line ให้กับสถาบันแดนส์เซ็นเตอร์
เธอเข้าร่วมกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ตั้งแต่ปี 2003 และเป็นเวลากว่า 10 ปีที่เธอร่วมแสดงบัลเลต์เรื่องต่างๆ ในบทนำ ทั้ง Sleeping Beauty, Talisman-Grand pas De Deux, Coppelia, Lament-Pas De Deux, La Sylphide, Swan Lake, Nutcracker-Pas de Deux, Monotones the Pas de Trois และในจูเนียร์บัลเลต์คอนเสิร์ตครั้งที่ 20 เธอแสดงในบท Mercedes ในบัลเลต์เรื่อง Don Quixote นอกจากนี้เธอยังเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลมากมาย ได้แก่ รางวัลอันดับ 1 การแข่งขัน A.T.O.D International Dance Competition ปี 2018, รางวัลอันดับ 1 ประเภทการเต้นคู่ จากเวที CSTD Thailand Dance Competitionปี 2015 และ Asia Pacific Dance Competition ปี 2015 ที่มาเก๋า เธอและ อนุรักษ์ งามตา ภายในชื่อทีม Heart & Soul ได้เข้ารอบรองสุดท้ายในการแข่งขัน Thailand Got Talents season 5 เธอได้รับเชิญไปแสดงทั้งที่ประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ อิตาลีและมาเลเซีย และเธอยังเป็นนักเต้นรับเชิญให้กับคณะ18Monkeys ในการแสดง Carmen
นอกจากนี้ ณพิชญา มีผลงานออกแบบท่าเต้นมากมาย ทั้ง The Greatest of the King The Greeting of the Land, Melodies of the King Melodies for Us ซึ่งเป็นการแสดงร่วมกับคณะออเคสตราจากกองทัพบกไทย ในปี ค.ศ. 2017, การแสดง Dream และ Believe ของสถาบัน Point Studio ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเต้นรำของเธอเอง ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนถึงปัจจุบัน ถึงกระนั้นเธอยังคงเป็นนักเต้นนำในกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์
สรัสนันท์ ชัยศิลปิน ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดลำพูน เริ่มเรียนบัลเลย์คลาสสิกตั้งแต่อายุ 4 ปี กับสถาบันเชียงใหม่นาฏยศิลป์สากล จนจบบัลเลต์คลาสสิกขั้นสูงหลักสูตรจากประเทศอังกฤษ และต่อมาจบระบำแจ๊สแดซ์หลักสูตรจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงผ่านการอบรมต่างๆ มากมาย
สรัสนันท์มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเต้นหลากหลายประเภททั้งในและต่างประเทศ โดยรางวัลที่สร้างชื่อเสียง ได้แก่ รางวัลบัลเลต์แชมเปียนชิพจากเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2549 รางวัลคะแนนรวมสูงสุดจากการแข่งขันเต้นนานาชาติเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 8 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นต้น
สรัสนันท์ร่วมแสดงกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2557 ก็ได้รับบทเป็นนักแสดงนำเรื่อยมา สรัสนันท์มีผลงานการแสดงบัลเลต์หลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น Don Quixoté, Coppélia, Raymonda, Swan Lake, Flower Festival in Genzano, Sleeping Beauty และ La Bayadère นอกจากนี้ สรัสนันท์ยังร่วมแสดงงานคอนเทมโพารี่ต่างๆ และงานออกแบบท่าเต้นจากนักออกแบบท่าเต้นหน้าใหม่อีกหลากหลายผลงานด้วยกัน ล่าสุดได้สรัสนันท์รับเชิญให้ไปแสดงโมเดิร์นบัลเลต์ในงาน Chorea International Dance Festival 2019 ณ กรุงบราทิสลาวา ประเทศสาธารณรัฐสโลวัก
โชตเดชา ดังฌินาคุปต์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะศิลปกรรมศาสต์ สาขาศิลปะการแสดง จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้รับการฝึกสอนจาก รศ. ดร. ศิริมงคล นาฏยกุล, อาจารย์อรรจมาภรณ์ ชัยวิสุทธิ์ และ Nyeng Hong Phong (Vietnam Dance College) โชตเดชาได้แสดงบัลเลต์ในกับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ในฐานะนักแสดงนำในหลายบทบาทด้วยกัน เช่น “Ocean & Pearl”(ค.ศ. 2011), “Solor” จากบัลเลต์เรื่อง La Bayadère องค์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 2012, แสดงGrand Pas de deux จากบัลเลต์เรื่อง Sleeping Beauty ในปี ค.ศ. 2014 และแสดง Grand Pas de deux จากเรื่องRaymonda ในปี ค.ศ. 2016 โชตเดชายังได้แสดงในผลงานเต้นร่วมสมัยโดยนักออกแบบท่าเต้นที่มีความสามารถมากมาย อาทิ แสดงในผลงานชื่อ Facing (2010) ออกแบบท่าเต้นโดย อรวี ชำนาญศิลป์ ผลงานชื่อ The Games People Play (2010) โดย Jie Choong Wan-Chin และ Dance into the Light (2010) โดย Nathanael Marie นอกจากนี้โชตเดชายังได้รับคัดเลือกให้แสดงในงานแสดงมากมาย เช่น แสดงในบัลเลต์เรื่อง Don Quixote (2011) ให้กับ Dance works Production ประเทศมาเลเซีย และร่วมแสดงในมโนราห์บัลเลต์ ในงานมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นอกจากนี้ โชตเดชายังเป็นนักออกแบบท่าเต้นในรูปแบบไทยโมเดิร์นที่มีผลงานโดดเด่นมากมาย อาทิ Eclipse (2012), Ananta (2013), Klesha (2014), บูชา (2015), ลาวเจริญศรี (2016), Blessing from the Sun (2018), และ Synergy of Love” (2019) ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับเลือกให้ไปแสดงในงาน CHOREA International Dance Festival ณ สาธารณรัฐสโลวัก
สุพัฒชัย ลาภปกรณ์กุล เริ่มเรียนศิลปะการแสดง ตั้งแต่อายุ 14 ปี สุพัฒชัยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาดนตรีสากล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาไม่นานในปี พ.ศ. 2555 สุพัฒชัยเป็นนักเต้นอาชีพของคณะบางกอกซิตี้ และในปี พ.ศ. 2557 ได้ไปศึกษาต่อด้านศิลปะการแสดง เอกวิชานาฏศิลป์สากล ที่ Nanyang Academy of Fine Arts (NAFA) ณ ประเทศ สิงคโปร์ และจบการศึกษาด้วย คะแนนสูงสุด รางวัล The Best Graduation Award (เกียรตินิยม อันดับ1 ของ ภาควิชา)
สุพัฒชัย มีประสบการณ์การเต้นไม่ว่าจะเป็นในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น the International Dance Festival in Bangkok, Singapore’s Dance Festival, World Dance Alliance Asia Pacific, M1 Contact Contemporary Dance Festival and TARI Dance Festival และยังได้รับเชิญ ไปสอนพิเศษให้แก่โรงเรียนต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบัน สุพัฒชัย เป็นผู้ออกแบบท่าเต้น และครูสอนบัลเลต์และการเต้นร่วมสมัยที่ Attitude Performing Arts Studio อีกทั้ง ยังเป็นอาจารย์ผู้สอน Ballet Technique ที่ NAFA และ Singapore Raffle Music Collage (SRMC)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณกนกรัตน์ วีรานุวัตติ์ 081-841-4075 Kanokrat@kanokratpr.com