1

TAICCA และ CATCHPLAY ประกาศร่วมลงทุนใน SCREENWORKS ASIA เพื่อสร้างศูนย์ผลิตคอนเทนต์ของไต้หวัน

เพื่อผลักดันคอนเทนต์ออริจินัลของไต้หวันให้ไกลขึ้น Taiwan Creative Content Agency (TAICCA) และ CATCHPLAY ได้ประกาศร่วมลงทุนใน SCREENWORKS ASIA Ltd. เพื่อผลิตคอนเทนต์ออริจินัลของไต้หวันให้มากขึ้นสำหรับผู้ชมต่างประเทศ การลงทุนร่วมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของการผลิตคอนเทนต์ด้านความบันเทิง ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่แพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่มีจุดมุ่งหมายทำให้ไต้หวันเป็นมหาอำนาจด้านคอนเทนต์ของเอเชีย
CATCHPLAY เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศระดับชั้นนำของไต้หวัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง La La Land, Green Book และ Parasite และมีบริการสตรีมมิ่ง CATCHPLAY+ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการด้านคอนเทนต์ดิจิทัลเพียงไม่กี่รายที่ประสบความสำเร็จในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยมีผู้ใช้งานกว่า 6 ล้านคนทั่วไต้หวัน สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 10 ปีในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ CATCHPLAY ดำเนินการลงทุนด้านภาพยนตร์ที่น่าทึ่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเงินทุนแก่ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เช่น The Revenant, Assassin’s Creed และ Silence ของผู้กำกับชื่อดังอย่างมาร์ติน สกอร์เซซี่ และ 20 Once Again ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ร่วมผลิตกับ CJ Entertainment ของเกาหลี และเมื่อปี 2562 CATCHPLAY ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ HBO Asia ของ Warner Media ได้จัดจำหน่ายละครซีรีส์ไต้หวันเรื่องแรกอย่าง The World Between Us และกลายเป็นซีรีส์ภาษาจีนกลางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปีนั้น
Hsiao-Ching TING ประธาน TAICCA กล่าวว่า “ด้วยเครือข่ายการจัดจำหน่ายของเราเอง รวมถึงประสบการณ์ในการลงทุนด้านการผลิตทั่วโลก CATCHPLAY เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์จากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน ดังนั้น สำหรับการลงทุนด้านการพัฒนาภาพยนตร์ไต้หวัน TAICCA หวังที่จะใช้ประโยชน์จากช่องทางการจัดจำหน่ายระหว่างประเทศของ CATCHPLAY และปรับเปลี่ยนแนวทางเดิมที่ยืนหยัดมายาวนาน ด้วยการส่งออกภาพยนตร์ที่ผลิตเองของไต้หวันไปยังต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ “สากลวิวัตน์” และ “การสร้างแบรนด์” ขององค์กร อีกทั้ง TAICCA ยังตั้งตารอที่จะทำงานร่วมกับ CATCHPLAY ในการวางรากฐานคอนเทนต์ออริจินัลของไต้หวันเพื่อผนวกรวมเข้ากับตลาดโลก เพื่อทำให้ไต้หวันเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ออริจินัลที่มีอิทธิพลของโลก”
“เราเคยทำตามกฎของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ระหว่างประเทศ เพื่อนำเข้าคอนเทนต์ดี ๆ จากต่างประเทศมาสู่ผู้ชมชาวไต้หวัน ตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้ประสบการณ์ของเราจากตลาดต่างประเทศเพื่อเผยแพร่งานออริจินัลของไต้หวันแก่สายตาชาวโลก” Daphne YANG ซีอีโอของ CATCHPLAY กล่าว “เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ TAICCA สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวและศักยภาพในทีมของเรา เราหวังว่าการเป็นพันธมิตรกันครั้งนี้จะช่วยอุตสาหกรรมภาพยนตร์และรายการทีวีของไต้หวันสร้างแพลตฟอร์มใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล”
เป้าหมายหลักของ SCREENWORKS ASIA จะเป็นการผลิตและจัดจำหน่ายคอนเทนต์ออริจินัลด้านความบันเทิงระดับพรีเมียมของไต้หวันที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้ชมต่างประเทศ SCREENWORKS ASIA คัดเลือกหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจในระดับสากลเพื่อนำไปพัฒนาต่อ โดยมุ่งเน้นที่ภาพยนตร์ มินิซีรีส์ และความบันเทิงที่มีเนื้อหาของข้อเท็จจริง (factual entertainment) เพื่อขึ้นฉายที่โรงภาพยนตร์ ออกอากาศทางทีวี และบริการสตรีมมิ่ง ด้วยการสร้าง IP ทั่วโลกที่หลากหลายและข้ามอุตสาหกรรมเป็นเป้าหมายระยะยาว
โปรเจกต์แรกของ SCREENWORKS ASIA ที่ประกาศออกมา ได้แก่ The Making of An Ordinary Woman II ซึ่งเป็นภาคต่อของหนึ่งในซีรีส์ภาษาจีนกลางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของปี 2562 โดยซีรีส์ The Making of An Ordinary Woman และ The World Between US ได้รับการขนานนามว่าเป็นซีรีส์ภาษาจีนกลางท็อป 2 ของปี 2562 ที่คว้าเรทติ้ง 8.6 และ 9.2 ตามลำดับจาก IMDb ซึ่งเป็นบริการจัดเรทติ้งคอนเทนต์นานาชาติชั้นนำ ทั้งยังเข้าถึงผู้ชมหลายร้อยล้านคนในเอเชียและทั่วโลก ซีรีส์ทั้งสองมีต้นกำเนิดมาจากไต้หวันและถูกนำมาฉายใน CATCHPLAY+ แล้ว ขณะเดียวกัน SCREENWORKS ASIA ยังประกาศออกมาอีก 5 โปรเจกต์ที่เตรียมถ่ายทำ โดย 2 โปรเจกต์จะเริ่มต้นในฤดูร้อนนี้
นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา TAICCA ได้ทุ่มเทให้กับ IP ที่มีศักยภาพโดดเด่นเพื่ออำนวยความสะดวกในการต่อยอด หนึ่งในนั้นคือ The Method of Breathing หนังสั้นด้านศิลปะการต่อสู้ของผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Yi LIU และเป็นโปรเจกต์ระดับรางวัลที่ถูกคัดเลือกเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วจาก Taipei Golden Horse Film Project Promotion ซึ่งถูกนำมาพัฒนาอย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มที่จัดตั้งขึ้นโดย TAICCA และเข้าร่วมใน IP Showcase ที่เทศกาล European Film Market ปีนี้ในกรุงเบอร์ลิน นอกจากนี้ SCREENWORKS ASIA จะนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน เพื่อสร้างเวทีสำหรับอุตสาหกรรมคอนเทนต์และครีเอเตอร์ในการก้าวเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
TAICCA ใช้กองทุนพัฒนาเพื่อลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเติมเต็มช่องว่างของอุตสาหกรรม ซึ่งเข้ามาสร้างระบบนิเวศสำหรับภาพยนตร์ที่มีคอนเทนต์เกี่ยวข้องกับไต้หวันอย่างเป็นระบบ TAICCA จะยังคงเดินหน้าร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อต้อนรับผู้ร่วมลงทุนรายใหม่สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ทางวัฒนธรรมของไต้หวันต่อไป
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200729/2870692-1-a
คำบรรยายภาพ – จากซ้ายไปขวา: Karen Tang ผู้จัดการทั่วไปของ Screenworks, Daphne Yang ซีอีโอของ CATCHPLAY Group, Hsiao-Ching TING ประธานกรรมการ TAICCA และ Lolita Ching-Fang HU ประธานบริหารของ TAICCA
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200729/2870692-1-b
คำบรรยายภาพ – ผู้สนับสนุนด้านเงินทุนของ Screenworks และทีมงานสำหรับโปรเจกต์ต่อไป