1

กฟผ. เผยความสำคัญหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกล เบื้องหลังความสำเร็จสร้างความก้าวหน้าให้แก่องค์กรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นายนัฐวุธ พิริยะจิตตะ ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล กล่าวถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกล ของ กฟผ. ว่า หน่วยงานนี้มีหน้าที่ในการซ่อมบำรุงรักษาด้านเครื่องกลให้กับโรงไฟฟ้ากฟผ. และโรงไฟฟ้าหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศ-ต่างประเทศ อาทิ โรงไฟฟ้าที่สปป.ลาว โดยต้องซ่อมดูแลอุปกรณ์โรงไฟฟ้าและทำให้โรงไฟฟ้ามีความมั่นคงสามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังรับในการดูและซ่อมอุปกรณ์ด้านหม้อน้ำ ด้านกังหันไอน้ำ ด้านแก๊สระบาย และก็ด้านอุปกรณ์โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการซ่อมตามวาระประจำปี และ ซ่อมตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร่งด่วน
ในหน่วยนี้มีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ประมาณ 650 คน มีลูกจ้าง และ Outsource เพื่อช่วยในงานบำรุงรักษาทั้งหมด โดยหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกลถูกจัดตั้งมาประมาณ 40 กว่าปี มีการพัฒนาให้เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงระดับประเทศในการซ่อมอุปกรณ์ใหญ่ เช่น อุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เทียบเคียงโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ โรงงานปิโตรเคมี สามารถเป็นที่พึ่งของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพราะเรามีประสบการณ์สูง มีองค์ความรู้สูงในการซ่อมบำรุงรักษา
ส่วนงานหลักของนั้น เป็นการซ่อมโรงไฟฟ้าประจำปี เช่น มีงาน Minor Inspection งาน Over hall รถยนต์ที่มีการซ่อมใหญ่ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาจากการปรับปรุงโรงไฟฟ้าหงสาที่สปป.ลาว ซึ่งไปแก้ไขปรับปรุงโรงไฟฟ้าหงสาที่มาจากผู้ผลิตคือจีน Harbin Design ปรับปรุงโรงไฟฟ้าให้มีความมั่นคง มีความพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งงานปรับปรุงโรงไฟฟ้าของเราเองเมื่อใกล้หมดอายุและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้ขยายอายุการใช้งานต่างๆ หรือแม้กระทั่งงาน Modulation ใหญ่ งานปรับปรุงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ งานปรับปรุงใหญ่ทั่วไป รวมถึงงานเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าภาคเอกชน รวมทั้งโรงไฟฟ้าที่เราไปทำ MOU ร่วมกับกรมพัฒนากรมโรงงานอุตสาหกรรม
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งซื้อและพัฒนาศึกษาเอง พร้อมประดิษฐ์เครื่องมือหรือปรับปรุงกระบวนการในเรื่องของ Process Innovation ที่จะมาช่วยในการทำงาน มีการจัดซื้อเครื่องเชื่อมที่ทันสมัย ซื้อหุ่นยนต์มาใช้ในการซ่อมบำรุงรักษา ส่วนการนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำงานนั้น มีการนำโดรนมาใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์หม้อน้ำ มีการใช้ Software ใหม่ๆ มาช่วยในการ Calculate คิดวิเคราะห์ต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่แม่นยำ สำหรับส่วนของสิ่งประดิษฐ์ เรามีเครื่องเจียเบรคแก๊สระบาย ซึ่งเป็น Mobile Machining พร้อมทั้งมีการพัฒนาการทำงานที่เชื่อมต่อ Big Data กับเครื่องมือใหม่ๆ ช่วยพัฒนาการทำงานมากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นการซื้อเข้ามาโดยเฉพาะที่เป็นอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ ซึ่งราคาแพง อีกส่วนหนึ่งเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นเครื่องมือพิเศษ อาทิ โดรน ซึ่งเรานำมาดัดแปลงติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเข้าไป อาทิ ติดเครื่องมือทดสอบต่างๆ เครื่องมือแปลผลต่างๆ อีกสิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำคือนำหุ่นยนต์มาช่วย เรามีการผลิตหุ่นยนต์ไต่หม้อน้ำเป็นรถไต่ถังเพื่อขึ้นไปตรวจสอบหม้อน้ำ ทำความสะอาดและทดสอบด้วยการวัดความหนา และ ยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนั้นเรายังร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ MTec STech หรือหน่วยงานต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาปรับปรุง เพื่อทำให้การทำงานบำรุงรักษารวดเร็ว มั่นคง ถูกต้อง ไม่ต้องนำเข้า Supervisor ไม่ต้องนำเข้าเครื่องไม้เครื่องมือใหญ่ๆ จากต่างประเทศ
สำหรับการพัฒนาบุคลากร HR MHR HRD ถือเป็นสิ่งสำคัญ เรามีการสร้างศูนย์เชื่อมขึ้นมา เพื่อทำทางด้าน HR MHR ทางด้าน Vender สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราก็ลงทุนด้านตึกอาคาร เครื่องมือใหม่ แล้วก็มีระบบการพัฒนาช่างเชื่อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน พัฒนาเรื่องอุปกรณ์เพราะว่าเทคโนโลยีทางด้านการเชื่อมนี้เป็นไปตาม Material ที่เปลี่ยนแปลงตลอด และเครื่องไม้เครื่องมือต้องเร็ว แม่นยำมากขึ้น อีกประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาคน ส่งเสริมในการอบรม และเรานำคนเข้าสู่ระบบเชื่อมสากลตามที่ EWS ให้เป็นมาตรฐานมากขึ้นและเดินตามมาตรฐานอาชีพที่รัฐบาลกำหนด เข้าไปสู่ Asian และระดับโลก พัฒนาระบบงานเชื่อมให้เข้าสู่ Code and Standard มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะพยายามทำเรื่องของ Certification and Qualification รองรับให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ล่าสุดหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกล ของ กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าร่วมจัดแสดงในงานประชุมวิชาการนานาชาติติด้านการเชื่อมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 8 (Asia Pacific IIW International Congress (IIWAP 2019)) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เนื่องจากงานเชื่อมเป็นงานที่สำคัญมากในงานมนุษยศาสตร์เครื่องกลและก็เป็นทั้งพระเอก ทั้งผู้ร้ายในงานมนุษยศาสตร์เครื่องกล ต้องมีการลงทุนทางด้านเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ต้องมีพันธมิตรในการมาร่วมด้วยช่วยกันในการพัฒนา มีการเรียนรู้ Knowledge ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมร่วมกัน มีการลงทุนด้าน HRD เรื่องคน ซึ่งผู้ที่มาอยู่ในงานนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงในวงการเชื่อม มีทั้ง Collaboration และ Connection ในการที่จะมาบูรณาการในการเชื่อมร่วมกัน อีกทั้งยังมีองค์ความรู้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามพัฒนาการเทคโนโลยีของ Material ที่เปลี่ยนไปในระดับโลกที่เบาขึ้น เชื่อมยากขึ้น แก้ไขปัญหาในการซ่อมมากขึ้น เนื่องจากจะมีกระบวนการ Pre-Heat และ Post-Heat พวกนี้มันจะเป็นความรู้ที่ผมคิดว่ามันจะได้จากการมาพูดคุย อีกทั้งยังมาแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี และเราก็เป็นไปตาม EWS และก็มีศูนย์เชื่อมตัวนี้เป็นหน้าเป็นตาของระดับประเทศ ก็ถือว่าเราก็ให้ความสำคัญครับ แล้วก็ย้ำอีกทีในเรื่องของ Collaboration และ Connection และก็องค์ความรู้ที่ต้องเก็บเกี่ยวกันในงานนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานก็คือ Knowledge Sharing และก็มารับเทคโนโลยี และก็มารับฟังในเรื่องของ Conference ต่างๆในงาน ซึ่งเทคโนโลยี Knowledge Sharing Case Study ในงานเชื่อมนี่มันเปลี่ยนแปลงไปเร็ว ส่วนหนึ่งที่กฟผ. เป็นจุดแข็ง คือเราซ่อมแก้ไขด้วยตัวเอง เราใช้บุคลากรของเราที่ได้ไปเรียนจากพระนครเหนือ หลักสูตรเชื่อม หรืออะไรต่างๆ พวกนี้ เราสามารถทำได้เร็วถูกต้อง ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมได้ดี