1

ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน ลดภาษีนำเข้า ดันงานวิจัยไทยสู่สากล เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ – 29 สิงหาคม 2560
งานวิจัย เป็นตัวชี้วัดศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศทางหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปตัวชี้วัดที่สำคัญ ก็คือ “จำนวนเงินที่ประเทศนั้นๆ นำไปใช้ในการวิจัย เมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีของประเทศ” ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง อเมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ฯลฯ ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายในการวิจัยจะเกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพี ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามักจะต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 0.5 ด้วยซ้ำ ซึ่งประเทศไทยเราลงทุนอยู่ประมาณเพียงประมาณร้อยละ 0.26 เท่านั้นในอดีต ปัจจุบันภาษีในการนำเข้าเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ทางภาครัฐมีการปรับอัตราภาษีให้ลดลง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกับต่างประเทศ ในการก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาให้ทัดเทียบนานาชาติ และได้มาตรฐานในระดับสากล ตลอดจน ส่งเสริมทักษะความสามารถผู้ปฏิบัติงานไทยให้สามารถใช้เครื่องมือแล็บที่ทันสมัยมากขึ้น ตลอดจน สามารถดึงดูดนักวิจัยและบริษัทต่างประเทศ ให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยความพร้อมด้านเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการฯ ของไทยที่ได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน
ดร.อุดม ชนะสิทธิ์ – นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า “เครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับห้องปฏิบัติการ จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้เครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มีใบรับรอง ISO ที่น่าเชื่อถือ และผู้เลือกใช้สามารถตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือนั้นได้จริง การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์การห้องปฏิบัติการฯที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน จำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ ฯ ที่ทันสมัย ปัจจุบันสัดส่วนของ R&D ทั้งในเอกชนและรัฐบาลมีการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันประมาณ 0.75% ของ GDP หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท นับเป็นทิศทางที่ดีที่ภาคเอกชนและภาครัฐจะร่วมมือกันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยสู่ระดับสากลอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ มูลค่าตลาดเครืองมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยรวมกว่า 60,000 ล้านบาท จะเป็นตัวชี้วัดความสามารถด้านงานวิจัยและการพัฒนาของประเทศทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน และระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานงานวิจัยของประเทศได้เป็นอย่างดี
นายธีรยุทธ์ ลีลาขจรกิจ ผู้อำนวนการสายงานธุรกิจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ในฐานะผู้จัดงานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล คาดการณ์ถึงภาพรวมการเติบโตของตลาดเครื่องมือและเทคโนโลยีทางแล็บ จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยกลุ่มเครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบ น่าจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง จากแนวโน้มการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) และ กฏระเบียบการจัดการด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องมือวิจัยทางคลินิกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยขั้นสูงที่ตอบสนองการใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยโครงสร้างตลาดผู้ซื้อเครื่องมือแล็บปัจจุบันพบว่า ภาคอุตสาหกรรมเริ่มเข้ามาลงทุนซื้อหาเครื่องมือแล็บมากขึ้น นอกเหนือจาก รัฐบาล หน่วยงานวิจัย การศึกษาและมหาวิทยาลัย กลุ่มโรงพยาบาลและสาธารณสุข นอกจากนี้ ในกลุ่ม SME ที่ต้องการสร้างมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพสินค้า ก็เริ่มให้ความสนใจกับการซื้อเครื่องมือแล็บบ้างแล้ว โดยในงานไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล ปีนี้ ที่จัดระหว่าง 6-8 กันยายนนี้ ที่ ไบเทค กรุงเทพฯ จะเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้ผลิตและผู้จำหน่าย เครื่องมือและเทคโนโลยีทางแล็บ จาก 330 บริษัท จาก 30 ประเทศ และวิทยากรกว่า 160 คน จากทั่วโลกที่พร้อมเปิดงานประชุมนานาชาติกว่า 200 หัวข้องานประชุม โดยคาดว่า จะมีนักลงทุน ผู้ซื้อ และผู้ใช้เครื่องมือแล็บจากทั่วเอเชีย มาร่วมงาน กว่า 10,000 คน โดยจัดให้มีกิจกรรม ผู้ซื้อพบผู้ผลิต เพื่อสร้างฐานให้ไทยเป็นตลาดการค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์แห่งใหม่ของอาซียน นอกจากนี้ภายในงานจะมีการประชุมและเผยแพร่ข้อมูล ด้านมาตรฐานห้องเล็บประเภทต่างๆ การประชุมนานาชาติด้านไบโอเทค การประชุมความร่วมมือด้านพัฒนายา ชีววัตถุ และวัคซีน เพื่อลดการนำเข้า การให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือทางห้องแล็บล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ฯลฯ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนชมงานและสัมมนาล่วงหน้าได้ที่ www.thailandlab.com ผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้รับสิทธิพิเศษในการลุ้นรับรางวัลสร้อยคอทองคำที่หน้างาน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ติดต่อ คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี | โทร.02-6700900 | อีเมล์ saengtip.won@vnuexhibitionsap.com