OMICS International เปิดเว็บไซต์เผยแพร่งานวิจัยอย่างเสรี หวังลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูล
ลอสแองเจลิส–22 พ.ย.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพจากประเทศในเอเชียและประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มักไม่ถูกนำไปอ้างอิงและเข้าไม่ถึงแวดวงวิทยาศาสตร์ระดับโลก
Dr. Srinubabu Gedela ซีอีโอของ OMICS International เผยว่า วารสารที่เข้าถึงได้อย่างเสรี หรือ Open Access Journals ถือกำเนิดขึ้นเพื่อทลายกำแพงข้อมูลและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งความรู้
โลโก้ – http://photos.prnewswire.com/prnh/20161023/431540LOGO
แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกจะสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ผลงานวิจัยกลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลมักเป็นแบบปิด ชุมชนนักวิจัยและประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น ผลงานวิจัยที่ถูกต้องและมีคุณภาพจึงควรได้รับการเผยแพร่อย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่งานวิจัยดังกล่าวจะล้าสมัย
สำหรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกนั้น ประเทศในเอเชีย (จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40% ขณะที่อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ลดลงสู่ระดับ 30% จากเดิมที่ 35% ส่วนยุโรปอยู่ที่ 20% และอีก 10% ที่เหลือเป็นของทวีปอื่นๆ ขณะเดียวกัน มีการคาดการณ์ว่าจีนจะทุ่มงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาแซงหน้ายุโรปและสหรัฐอเมริกาภายในปี 2563 และหากพิจารณาตามสัดส่วนจีดีพีจะพบว่า อิสราเอลและเกาหลีใช้งบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาสูงสุดที่ 4.21% และ 4.15% ตามลำดับ ตามมาด้วยญี่ปุ่น (3.49%) ฟินแลนด์ (3.32%) และสวีเดน (3.12%)
นอกจากนี้ OMICS International ยังเผยว่า สหรัฐอเมริกามีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา 5.14 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยจีน (3.97 แสนล้านดอลลาร์) ญี่ปุ่น (1.67 แสนล้านดอลลาร์) เยอรมนี (1.09 แสนล้านดอลลาร์) เกาหลีใต้ (7.7 หมื่นล้านดอลลาร์) และอินเดีย (7.2 หมื่นล้านดอลลาร์) ในช่วงหลายปีมานี้ แม้เงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนาจากประเทศในเอเชียจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพกลับไม่เป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยบทความจากประเทศในเอเชียไม่ได้ถูกนำไปอ้างอิงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่ง Dr. Gedela อธิบายว่า “อาจเป็นเพราะการเข้าถึงที่จำกัดและการขาดทักษะทางภาษาของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก งานวิจัยภาษาอังกฤษที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ปิดกั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวเอเชียและแอฟริกา อย่างไรก็ดี วารสารแบบเสรีสามารถลดอุปสรรคทางภาษาได้”
เกี่ยวกับ OMICS International
OMICS International มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน และเป็นผู้บุกเบิกการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างเสรี ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 50,000 คน ที่คอยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ OMICS Group จึงสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากที่มีวารสารเพียง 10 ฉบับในปี 2552 สู่วารสารที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 700 ฉบับในปี 2559 และมีฐานผู้อ่านเพิ่มขึ้นแตะ 30 ล้านราย นอกจากนี้ เว็บไซต์ ConferenceSeries.com ของ OMICS International ยังจัดการประชุมประจำปีระดับโลกกว่า 3,000 รายการ และมีการเฉลิมฉลองเดือนแห่งการเขียนเชิงวิชาการในเดือนพฤศจิกายน
ติดต่อ: ceo@omicsgroup.org