กุญแจไขความสำเร็จ ! การแพทย์ไทยก้าวสู่ Medical Hub แห่งอาเซียน
รู้หรือไม่ ? เทคโนโลยีการแพทย์ในประเทศไทยเป็นอันดับ 1 และมีความพร้อมมากพอที่จะเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical Hub) ในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ศูนย์กลางอาเซียน เพราะไทยเป็นประเทศที่มีการโดดเด่นในการให้บริการ แถมมีราคาที่ถูกกว่าต่างชาติมากถึง 5 เท่า และปัจจุบันธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์และธุรกิจเพื่อสุขภาพเติบโตสูง ชนิดที่ว่าจีดีพีพุ่งแรง จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรพบว่า ในปี 2561 มีธุรกิจในกลุ่มโรงพยาบาลจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ 7 แห่ง มีการเติบโตสูงถึง 7 % ซึ่ง GDP ของประเทศ โตเพียงแค่ 3 – 4 % ด้านนายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) ในฐานะผู้จัดงาน อินเตอร์แคร์ เอเชีย 2019 กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ดังนี้
แผนการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
นโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของภาครัฐ เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) โดยตั้งเป้าภายในปี 2568 นับเป็นหนึ่งในแผนของการพัฒนาระบบการบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ความเป็นเลิศในการให้บริการและราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ
ขึ้นชื่อว่าเป็นธุรกิจการให้บริการก็ต้องแข่งขันด้านบริการ เนื่องด้วยคู่แข่งที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ผู้ใช้บริการย่อมมีความต้องการสูง กระบวนการตัดสินใจไม่ได้คำนึงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว การให้บริการของธุรกิจที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย แน่นอนว่าต้องให้ความสำคัญกับด้านบริการเพื่อให้ประสบการณ์ที่ดี สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค และประเทศไทยเองก็มีการต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี ดังสมญานามที่ว่า“สยามเมืองยิ้ม” และอัตราค่ารักษาพยาบาลที่คุ้มค่า บวกกับเครื่องมือ อุปกรณ์ และค่าอื่น ๆ หากเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียน ไทยก็ยังคงเป็นประเทศที่เรียกได้ว่าราคาสมน้ำสมเนื้อ และจากข้อมูลเว็บไซต์ Numbeo ที่มีฐานข้อมูลค่าครองชีพและระบบสาธารณสุขโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า ประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลกปี 2019 ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ7 ที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุดในโลกและเป็นเพียงประเทศเดียวของอาเซียน ทำให้มั่นใจได้ว่าไทยนั้นจะเป็นเมดิคอลฮับของอาเซียนได้แน่นอน
เทคโนโลยีทันสมัยได้มาตรฐานทางการแพทย์
การได้รับการรับรองเครื่องมือที่มีความทันสมัยได้มาตรฐานสากล ทั้งในส่วนของยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรค รวมทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเครื่องมือในการรักษาโรค ที่มีความก้าวหน้าและเติบโตรวดเร็ว จากพัฒนาการของเทคโนโลยี และงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการแพทย์ของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ได้
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
นอกจากการท่องเที่ยวที่ไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศจุดหมายปลายทาง ที่คนอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณมากที่สุด ยังมีในเรื่องของการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวในลักษณะเชิงสุขภาพ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในนโยบาย Medical Hub ที่การท่องเที่ยวผลักดันเพื่อตอบโจทย์สไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสามารถสร้างความสุขและความเสมอภาคไปพร้อม ๆ กัน อย่างที่ว่ากันว่า “อายุแค่ไหนก็เที่ยวได้”
จากที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมมากพอ ที่จะผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ Medical Hub อย่างครบวงจร ทั้งนี้บริษัท บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด ได้เล็งเห็นโอกาสในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการยกระดับและพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันทางการค้าในธุรกิจผู้สูงอายุ จึงได้คิดริเริ่มจัดงานอินเตอร์แคร์ เอเชีย ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2559 เพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ และมีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐ ที่จะผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางสุขภาพและการแพทย์นานาชาติ โดยงาน InterCare Asia 2019 ครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2562 ณ HALL 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค