ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำทีมผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมของไทยสู่ MIT ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการการสร้างระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในประเทศไทย
ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม
โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือ IDE Center by UTCC นำทีมพันธมิตร อาทิ เมืองนวัตกรรมอาหาร
(Food Innopolis) Innotech มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และบริษัท บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด มหาชน
ตลอดจนทีมผู้ชนะจากการแข่งขันจากรายการ IDE Competition 2018 เข้าร่วมกิจกรรม MIT Innovation
Deep Dive 2018 ณ สหรัฐอเมริกา เพื่อต่อยอดแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม
และผลักดันนำเสนอผลงานสู่เวทีระดับนานาชาติ
รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “กิจกรรม MIT Innovation
Deep Dive 2018 เป็นกิจกรรมที่ทาง IDE Center by UTCC
ได้นำทีมผู้ชนะเลิศการประกวดแผนธุรกิจที่มีความร่วมมือในการสร้างสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรร
มตามแพลตฟอร์มของ MIT ได้แก่ MIT Enterprise Forum Thailand ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดยได้เดินทางไปยังเมืองเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เพื่อนำทีมสตาร์ทอัพไทยก้าวสู่เวทีระดับโลก พร้อมเปิดโอกาสทางธุรกิจ
และเชื่อมโยงกับนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก
นอกจากนี้ยังได้นำพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนสัมผัสกับระบบนิเวศน์ทางผู้ประกอบการ Ecosystem ของ MIT
ที่สามารถพัฒนาความร่วมมือจนสามารถสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นอย่างมากมายในโลกปัจจุบัน
เพื่อนำมาร่วมมือผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทยตลอดจนภูมิภาคในอนาคต
ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างจริงจังระหว่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและ MIT มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
และได้สร้างพันธมิตรเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Ecosystem ดังกล่าว”
โดยทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกของไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้แก่ ทีม CMIT ROBOTICS
สร้างแบบ Delta Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเรียนรู้ทักษะการทำงานมนุษย์ และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทีม
Algeaba เทคโนโลยีการเลี้ยงสาหร่ายสำหรับ Future Feed ในอนาคต รวมถึงทีม Fresh and Green
ผู้นำเทคโนโลยีเชิงลึกทางด้านวัสดุศาสตร์ ในการสร้างวัสดุย่อยสลายทางชีวภาพ
เพื่อเคลือบผักผลไม้สำหรับส่งออกให้มีอายุยาวนานขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งทั้ง 3
ทีมได้เดินทางไปกับโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และพันธมิตรในเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมโปรแกรมที่จัดโดยผู้เชี่ยวชาญของ MIT
เพื่อต่อยอดแผนธุรกิจ รวมทั้งได้มีโอกาสนำเสนอแผนธุรกิจของตนเองในงาน Startup spotlight ที่จัดโดย MIT
Enterprise Forum Cambridge อีกด้วย
“นอกจากการนำเสนอผลงานเเล้วทีมผู้ชนะยังได้เข้าอบรมกับบุคลากรมากประสบการณ์ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ
และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยตรง เช่น Perfect Pitch, Entrepreneurial Finance, Advisory Board
เป็นต้น เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ ขยายผล และพัฒนาธุรกิจของตนเองในส่วนของความร่วมมือในอนาคต
วันนี้ทางท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ. ดร. เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์เข้าร่วมหารือกับ Bill Aulet
Managing Director, The Martin Trust Center for MIT Entrepreneurship & Professor of the Practice,
MIT Sloan School เพื่อพูดคุยเรื่องความร่วมมือการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมต่อไป”
รศ.ดร.เสาวณีย์ กล่าวเสริม
ทั้งนี้กิจกรรม IDE Competitions
เป็นกิจกรรมการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจที่รวบรวมรายการการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจที่สำคัญไว้ ทั้งสิ้น 3
รายการ ประกอบด้วย การแข่งขันกะเทาะเปลือก การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม Global Social
Venture Competition (GSVC) ในระดับภูมิภาคอาเซียน และการแข่งขัน MITEF Startup Competition
Thailand ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับโลก ซึ่ง IDE Competitions
เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ของ IDE Center by UTCC
ภายใต้แนวทางการเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสายพันธุ์ใหม่ในกระบวนการ IDE Accelerator
เพื่อสร้างโอกาสและผลักดันให้ผู้ประกอบการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจ
และบ่มเพาะให้ผู้ประกอบสามารถเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดผลกระทบเชิงบวกที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม