1

โรคมะเร็งปอดเสี่ยงสู่เข้าสังคมผู้สูงอายุ

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งที่พบ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก ในบรรดาผู้ป่วยใหม่ 12.7 ล้านคน พบมะเร็งปอด 1.6 ล้านคน ส่วน ผู้เสียชีวิต 7.6 ล้านคน เป็นผู้ป่วยมะเร็งปอด 1.37 ล้านคน
นพ. ฉัตรชัย คูวัธนไพศาล แพทย์อายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลวัฒโนสถ กล่าวว่าโรคมะเร็งปอดเป็นปัญหาสำคัญ ในอัตราผู้เสียชีวิตหนึ่งใน 5 อันดับแรกของประเทศ สถานการณ์ภาพรวมของอัตราการเกิดโรคมะเร็งในประเทศไทยคล้ายกับประชากรทั่วโลก กล่าวคือ จะพบอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคืออายุที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงของโรคก็จะเพิ่มขึ้นด้วย และขณะนี้สังคมไทยก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเกิดจากหลายๆสาเหตุ สำหรับโรคมะเร็งปอดสาเหตุหลักสำคัญอันดับหนึ่งคือการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใกล้ชิด( second hand smoker) อาการของโรคมะเร็งปอด ผู้ป่วยบางท่านที่ตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมาตรวจเช็คสุขภาพ บางท่านอาจมีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก ไอมีเสมหะปนเลือด ปอดอุดตันอักเสบ น้ำหนักลดเบื่ออาหาร หรือเมื่อโรคมะเร็งลุกลามไปกระดูกอาจมีอาการปวดหลัง หรือปวดบริเวณตำแหน่งของกระดูกที่มะเร็งกระจายไป เมื่อลุกลามไปตับอาจมีอาการตัวเหลืองหรือดีซ่าน ถ้าลุกลามไปสมอง อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด Early detection ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ทำให้ตรวจพบโรคในระยะแรก ทำให้สามารถให้การรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที ผลการรักษาดีกว่าการปล่อยให้โรคเรื้อรังจนมีอาการของโรคมะเร็ง มีการกระจายไปยังอวัยวะสำคัญอื่นแล้ว จากการศึกษาในต่างประเทศ ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด คือ ผู้ที่สูบบุหรี่ การตรวจด้วยเครื่อง CT scan (Low dose CT) สามารถตรวจพบโรคมะเร็งปอดในระยะแรกได้เพิ่มขึ้น สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที ทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งด้วย x ray ปอดธรรมดา การรักษาในปัจจุบันโรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่รักษาได้ เมื่อตรวจพบ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ส่วนการรักษาโรคมะเร็งปอดนั้น ขึ้นกับระยะของโรค ชนิดเซลมะเร็งที่ตรวจพบ และ สุขภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย
นพ. ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าโรงพยาบาลวัฒโนสถ มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโดยมีทีมแพทย์ สหสาขา (Tumor board , Tumor conference ) ทั้งทีมศัลยแพทย์โรคมะเร็ง ,รังสีวินิจฉัย, รังสีรักษา , แพทย์นรีเวชโรคมะเร็ง , intervention radiologist , pain spacialist , แพทย์โภชนาการ ,พยาบาลเฉพาะทาง , และอีกมากมาย ร่วมกันวินิจฉัย วางแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างครบองค์รวม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย เรามีเครื่อง PET/CT scan รุ่นใหม่ ช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง เราใช้เครื่องฉายแสงแบบสี่มิติเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด ในขณะที่ผลข้างเคียงน้อยที่สุด ส่วนการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลไม่เล็ก ในระยะเริ่มต้น จะรักษาด้วยการผ่าตัด ในระยะที่สูงขึ้นผ่าตัดไม่ได้ เราจะพิจารณาให้การฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด ส่วนในระยะที่ตัวโรคกระจายไปอวัยวะสำคัญอื่นๆแล้ว เราจะใช้ยาเคมีบำบัด หรือ ยามุ่งเป้า (targeted therapy) ที่จะได้กล่าวต่อไป Gene mutation ยีนผิดปกติ ในมะเร็งปอด ปัจจุบันเราพบว่าโรคมะเร็งปอดจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะ ชนิดกลุ่มเซล non-squamous เกิดจากยีนผิดปกติในร่างกาย ที่เรียกว่ายีน EGFR หรือ ยีน ALK สามารถตรวจจากชิ้นเนื้องอกที่ปอด หรือ จากตำแหน่งที่มะเร็งกระจายไป เช่นที่ตับ ถ้าเอาชิ้นเนื้อไม่ได้ หรือได้ไม่พอ ยังสามารถตรวจจากเลือดได้ ถ้าพบยีนผิดปกติ ซึ่งในคนไทย คนเอเชีย ตรวจพบยีน EGFR ผิดปกติ ประมาณ 40-60% ณ ขณะนี้มียารักษามุ่งเป้าชนิดเม็ดรับประทาน ออกฤทธิ์ที่ยีนผิดปกตินี้โดยตรง พบการตอบสนองต่อยา (objective response rate) ถึง 50%-80% ผู้ป่วยไม่ต้องฉีดยาเคมี ผมไม่ล่วง ไม่คลื่นไส้ อาเจียน เท่า ยาเคมีบำบัด บางท่านที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายและตรวจพบยีนผิดปกติดังกล่าว ใช้ยามุ่งเป้าชนิดเม็ดมาแล้ว 4-5 ปี ขณะนี้ก็ยังได้ผลอยู่ นับเป็นการรักษาที่เปลี่ยนโฉมการรักษาโรคมะเร็งปอด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาเคมีบำบัดในอดีต ส่วนในกลุ่มที่ตรวจไม่พบยีนกลายพันธุ์ เรายังคงใช้ยาเคมีบำบัด โชคดีที่ขณะนี้มียาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนใหม่ๆ ทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนอันเกิดจากยาเคมีบำบัดลดลงไปมาก และยังมียากระตุ้นเม็ดเลือดขาวไว้ให้ในรายที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้เราสามารถลด หรือ ป้องกัน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัดได้ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา
ปัจจุบันโรงพยาบาลวัฒโนสถได้ร่วมมือกับสถาบันรักษามะเร็งระดับโลก “The University of Texas MD Anderson Cancer Center” ในฐานะที่เป็น Sister Institute เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไปท้ายนี้ขอฝากสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งคือ การงดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดทั้งสิ้น