สค.ร่วมสถาบันรามจิตติหนุนศักยภาพครอบครัวในท้องถิ่น
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2558เร็วๆ นี้ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้ร่วมกับสถาบันรามจิตติจัดเวทีสัญจรระดมความคิดตั้งโจทย์การทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวเชิงพื้นที่ ดึงพลังความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาร่วมตั้งโจทย์ โดยมีหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนเป็นหน่วยประสานการทำงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น เน้นยุทธศาสตร์การทำงานบนฐานเชื่อมต่อข้อมูลและการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยชี้ถึงสภาวการณ์ด้านครอบครัวอยู่หลายเรื่องที่ชี้ถึงสภาวการณ์ครอบครัวไทยที่กำลังเผชิญช่องว่างทางความสัมพันธ์และมีแนวโน้มเปราะบางว่า เด็กไทยในปัจจุบันไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ จากอัตราหย่าร้าง1ใน3ของคู่จดทะเบียนสมรส โดยเมื่อเมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่าสภาวการณ์ด้านครอบครัวนี้ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก โดยพบว่าเด็กซึ่งไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ มีแนวโน้มความเสี่ยงในหลายเรื่อง และที่น่าสนใจคือข้อมูลชี้สถานการณ์ครอบครัวยากลำบากที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และมีความต้องการในการดูแลช่วยเหลือที่แตกต่างกันไปตามบริบทและสถานการณ์ปัญหาอีกด้วย โจทย์เรื่องความเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวจึงเป็นโจทย์ท้าทายยิ่งในปัจจุบัน
นางอัจฉรา พุ่มมณีกร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว กรมสตรีและสถาบันครอบครัว ชี้ว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ถือเป็นหน่วยงานหลักระดับชาติในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มมีการพัฒนาการทำงานด้านข้อมูลเพื่อให้ สค. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเองมีข้อมูลสภาวการณ์ด้านครอบครัวในพื้นที่ของตน
ซึ่งมีดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ เป็นที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในกลุ่มเป้าหมายครอบครัว 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) ครอบครัวฐานะยากจน 2 ) ครอบครัวที่มีผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง3) ครอบครัวที่มีลักษณะเฉพาะอาทิ ครอบครัวแม่วัยรุ่น และ4) ครอบครัวที่ทีความรุนแรงในครอบครัวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และได้ร่วมกับจังหวัดนำร่องได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี และภาคใต้ จังหวัดพังงา ในการร่วมมือขับเคลื่อนการพัฒนากลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและการทำงานเชิงพื้นที่โดยมีการทำงานเชิงลึกในแต่ละชุมชนกว่า 50ชุมชนนำร่องในการขับเคลื่อนงานพัฒนาครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังว่าจะก่อให้เกิดตัวแบบเชิงระบบที่จะทำงานด้านครอบครัวเพื่อสร้างความเข้มแข็งระยะยาว