การประเมินค่าสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่
การประเมินค่าสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่
“สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี” ชื่ออย่างเป็นทางการ สนามกีฬานี้ตั้งอยู่ที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย และดำเนินการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทยเช่นกัน สนามนี้มีความจุถึง 25,000 คน เริ่มก่อสร้าง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 และเปิดใช้สนามใน พ.ศ.2538
สำหรับ “สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี” เป็นสนามที่มีการจัดกิจกรรมสำคัญๆ มากมาย อาทิเช่น
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ในปี พ.ศ. 2538
การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 หรือ “ล้านนา เกมส์ ครั้งที่ 25” (31 มกราคม – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)
การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ HONDA RACING FEST และ TOYOTA MOTOR SPORT
งานแสดงพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 “เชียงใหม่เกมส์” วันที่ 13-24 ธันวาคม 2545
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 “เชียงใหม่เกมส์” วันที่ 9-19 ธันวาคม 2555
การแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 31 “เวียงพิงค์เกมส์” วันที่ 15-19 มกราคม 2556
การแสดงคอนเสิร์ต MTV EXIT Live In Chiangmai วันที่ 25 มิถุนายน 2554 และคนหัวใจสิงห์ อัสนี-วสันต์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554
กิจกรรมทางการเมือง ได้แก่ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
สำหรับการประเมินค่าทรัพย์สิน “สนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่” นี้ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
วิธีต้นทุน ประเมินค่าโดยคำนวณราคาที่ดินตามราคาตลาด กรณีนี้เป็นที่ราชพัสดุ สมมติถ้าขายได้ตามราคาตลาด เป็นเงินเท่าไหร่ หากเช่าเป็นเวลา 30 ปีมาทำสนามกีฬานี้ จะเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ณ วันนี้เหลือมูลค่าอยู่เท่าไหร่ตามระยะเวลา แล้วบวกด้วยค่าก่อสร้างและค่าพัฒนาอื่นๆ ที่หักค่าเสื่อมแล้ว ก็จะได้ราคาประเมินค่าตามวิธีต้นทุน
วิธีการเปรียบเทียบตลาด การประเมินค่าวิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีใครขายสนามกีฬาขนาดใหญ่นี้ ถ้าเป็นในต่างประเทศก็อาจจะมี แต่บริบทต่างกัน สภาวะแวดล้อมก็แตกต่างกัน เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่เราสามารถหา “ค่าเช่าตลาด” เช่น ค่าเช่าสนามศุภชลาศัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น รวมทั้งค่าเช่าและค่าบริการอื่นๆ ตามราคาตลาดได้ เป็นต้น เพื่อนำตัวเลขต่างๆ มาประเมินค่าด้านรายได้ตลาด
วิธีรายได้ก็คือการประเมินค่าโดยการแปลงรายได้สุทธิในแต่ละปี มาเป็นมูลค่าตามระยะเวลาที่สามารถครอบครองได้ เช่น 30 ปี หรืออาจจะได้รับการต่ออายุไปนานกว่านั้น หรืออาจจะแทบเรียกว่า “ตลอดไป” เมื่อทราบรายได้สุทธิที่พึงจะได้ ประมาณค่าอัตราผลตอบแทนหรือ Capitalization Rate และประมาณการระยะเวลาในการลงทุน เราก็จะสามารถประเมินค่าสนามกีฬาแห่งนี้ได้
เมื่อประมาณการได้เบื้องต้นแล้ว ก็อาจสอบถามกับผู้รู้ในวงการกีฬา หรือในกิจการที่เกี่ยวกับกีฬาอื่นๆ เพื่อให้สมมติฐานที่ตั้งไว้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการประเมินค่าทรัพย์สินนี้ ก่อนตัดสินใจการลงทุนด้านอสังหาฯ ใดๆ ควรประเมินค่าทรัพย์สินให้รอบคอบและถี่ถ้วนให้ดีก่อน เพื่อความคุ้มค่าและคุ้มทุนในการลงทุนต่อไป
อย่างไรก็ตามหากต้องการทราบข้อมูลในการให้บริการการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถติดต่อฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สิน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส สามารถติดต่อและสอบถามรายละเอียดของบริการได้ที่ โทร.02-295-3905 ต่อ 114 หรือ Email : area@area.co.th หรือ Line ID : @trebs หรือคลิก https://lin.ee/n0dWX94
ขอบคุณที่มา : AREA ประเมินค่าสนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่
[Tag]: ประเมินค่า , ประเมินราคา , ประเมินสนามกีฬา , สนามกีฬา , ประเมินค่าทรัพย์สิน , ประเมินราคา