1

จีอี เฮลธ์แคร์ มุ่งเผยแพร่เทคโนโลยีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่แม่นยำ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็งเต้านมให้กับคนไทย

• ประเด็นปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำแมมโมแกรมที่ลดลง ในผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง[4] ซึ่งพบมากในผู้หญิงเอเชีย โดยความคลาดเคลื่อนของการตรวจวัดดังกล่าวสามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม 4-6 เท่า
• พบว่าการใช้ระบบอัลตราซาวด์จากเทคโนโลยีล่าสุด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยมะเร็ง
เต้านมสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงจากความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง มีความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้น 35%[2]

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 29 มีนาคม 2562 – จีอี เฮลธ์แคร์ มุ่งมั่นในการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีการคัดกรองมะเร็งเต้านมในประเทศไทย มุ่งเน้นการตรวจรักษาแบบเฉพาะเจาะจง แนะนำระบบอัลตราซาวด์เต้านม 3 มิติแบบอัตโนมัติรุ่นล่าสุดเพื่อขยายทางเลือกเพิ่มเติมในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้หญิงไทยที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง ผลการศึกษาระบุว่า ภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง (เต้านมประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่อมเต้านมมากกว่า 50%) พบมากในผู้หญิงเอเชีย[1]

นพ.เฉลิมเดช กรรณวัฒน์ รังสีแพทย์ ศูนย์ถันยรักษ์ กล่าวว่า “มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกของโรคมะเร็งที่สร้างภาระด้านโรคมะเร็งให้กับประเทศไทย[2] สัญญาณที่บ่งบอกถึงมะเร็งเต้านมไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจนนอกจากจะได้รับการตรวจคัดกรองโดยผู้เชี่ยวชาญ และจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอด เพิ่มโอกาสในการใช้วิธีการรักษาอื่นที่ไม่ใช่การผ่าตัด เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย ในฐานะแพทย์ ผมรู้สึกยินดีอย่างมากที่ศูนย์ถันยรักษ์สามารถให้บริการเทคโนโลยีที่ทันสมัยดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และยกระดับมาตรฐานโดยรวมของการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในประเทศไทย”

ในส่วนของการคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเองและการทำแมมโมแกรมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้หญิงเอเชียมักมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงกว่าผู้หญิงในภูมิภาคอื่น[2] และผลการศึกษาสำคัญจากหลายสถาบันระบุว่าภาวะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมที่สูงไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมขึ้น 4-6 เท่า[2] แต่ยังเป็นสาเหตุให้การตรวจพบมะเร็งด้วยวิธีทำแมมโมแกรมทำได้ยากยิ่งขึ้น ในรายงานสองฉบับของ Breast Cancer Society Consortium เกี่ยวกับการทำแมมโมแกรมแบบใช้ฟิล์ม ระบุว่าประสิทธิภาพการทำแมมโมแกรมลดลง 21% ในผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูง[4]

ในกรณีดังกล่าว ควรจะทำการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยการทำอัลตราซาวด์ และระบบอัลตราซาวด์
แบบอัตโนมัติของจีอี เฮลธ์แคร์ จะช่วยยกระดับการให้การรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ 3 มิติที่สามารถถ่ายภาพเต้านมผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมสูงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วภายในเวลาประมาณ 15 นาที และยังมีคุณสมบัติใหม่ที่สอดคล้องกับสรีระของผู้หญิง เช่น การพัฒนารูปทรงและขนาดที่เหมาะสมของเครื่องมือตรวจวัด ที่แนบสนิทกับเต้านมจะช่วยลดแรงกดสัมผัสขณะตรวจวัด และสามารถให้ภาพภ่ายที่มีความแม่นยำชัดเจนและครอบคลุมบริเวณเต้านมที่สำคัญในท่านอนหงายตามธรรมชาติของผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง นอกจากนี้ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติที่ช่วยลดข้อผิดพลาด และมีความแม่นยำในการตรวจคัดกรอง จะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของรังสีแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยผลในภายหลัง

ดร. ราจาน คาลีดินดี ผู้จัดการใหญ่ จีอี เฮลธ์แคร์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “จีอี เฮลธ์แคร์ มีความภาคภูมิใจที่ได้นำเสนอเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สนับสนุนให้รังสีแพทย์สามารถดำเนินการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ และเฉพาะเจาะจงตามปัจจัยเสี่ยงและสภาวะแวดล้อมของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น โดยเราหวังว่าเทคโนโลยีจาก จีอี เฮลธ์แคร์ ดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและลดความกังวลของผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง และพร้อมที่จะเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมในประเทศไทย เนื่องจากหากพบความเสี่ยงหรือความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ”

###

เกี่ยวกับจีอี เฮลธ์แคร์
จีอี เฮลธ์แคร์ เป็นธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพในเครือจีอี ที่มีมูลค่าทางธุรกิจ 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะผู้นำการให้บริการด้านการถ่ายภาพทางการแพทย์ การตรวจสอบทางการแพทย์ การผลิตทางชีวภาพ และเทคโนโลยีการบำบัดเซลล์ และยีน ซึ่งจีอี เฮลธ์แคร์ช่วยให้การวินิจฉัย การรักษา และการตรวจสอบมีความแม่นยำผ่านอุปกรณ์ที่ล้ำสมัย ทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแอปพลิเคชั่น และการบริการ ด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 100 ปีในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ และพนักงานมากกว่า 50,000 คนทั่วโลก จีอี เฮลธ์แคร์ช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งสำหรับผู้ป่วย ผู้ให้บริการด้นการดูแลสุขภาพ นักวิจัย บริษัทด้านชีววิทยาศาสตร์ทั่วโลก ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook, LinkedIn, Twitter และ The Pulse หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของได้ที่ https://corporate.gehealthcare.com

——————–

[1] RW Jakes,a SW Duffy,b FC Ng,c F Gaoa,d and EH Nge, Mammographic parenchymal patterns and risk of breast cancer at and after a prevalence screen in Singaporean women, International Journal of Epidemiology, 2000;29:11-19
[2] FDA PMA P110006 summary of safety and effectiveness.
[3] https://www.researchgate.net/publication/319175466_National_and_Subnational_Population-Based_Incidence_of_Cancer_in_Thailand_Assessing_Cancers_with_the_Highest_Burdens
[4] Boyd NF et al. Mammographic Density and the Risk and Detection of Breast Cancer. NEJM 2007; 356: 227-36.