เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทำนายอนาคต 2018 – การก้าวสู่ยุคถัดไป ของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และจักรกล
โดย อโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน
เป็นเวลาผ่านมานานนับหลายศตวรรษแล้วที่คนเราใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับเครื่องจักร แต่ในปี 2018 รูปแบบของการทำงานร่วมกันนี้จะถูกถักทอให้เข้ามาสู่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ที่มาพร้อมกับความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของทุกสิ่งตั้งแต่วิถีของการดำเนินธุรกิจ การจัดลำดับความสำคัญที่มีต่อการรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงรูปแบบของการให้บริการด้านความบันเทิง
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต่อยอดมาจาก รายงาน “ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และจักรกล (Next Era of Human-Machine Partnership” ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ และสถาบันเพื่ออนาคต (Institute for the Future: IFTF) ได้มีการตีพิมพ์ไปเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา บรรดาผู้นำของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ต่างร่วมกันแบ่งปันถึงผลกระทบของ AI, AR, IoT และ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะช่วยเปลี่ยนองค์กร รวมถึงการใช้ชีวิตของทุกคนไปสู่ดิจิทัลในปี 2018
พันธมิตรของเราที่สถาบันสำหรับอนาคต (IFTF – The Institute for the Future) ได้ทำนายไว้เมื่อไม่นานมานี้ ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล และช่วงเวลาระหว่างปัจจุบัน และอนาคตในปี 2030 มนุษย์และเครื่องกลจะทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของเรา เป็นเวลานานนับหลายศตวรรษที่เราทำงานกับเครื่องจักรกล แต่ ณ ปัจจุบัน เรากำลังจะก้าวเข้าสู่บทใหม่ของการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ในรูปแบบที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นอย่างมหาศาล ให้ความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความเป็นไปได้มากขึ้นจากที่ผ่านมา
เทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ต่างๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เทคโนโลยีการผสานสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (Augmented Reality หรือ AR) เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) ไปจนถึงความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่สร้างความเป็นไปได้จากการพัฒนาก้าวไกลทั้งเรื่องซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ (analytics) ไปจนถึงพลังที่ใช้ในการประมวลผล เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งไปสู่ทิศทางดังที่กล่าวมา
หลักฐานยืนยันดูได้จากทั้งรถยนต์อัจฉริยะ (connected cars) บ้าน ธุรกิจและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ หรือแม้กระทั่งการที่เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการจัดการพืชผลและการดูแลปศุสัตว์ เรามาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อ ในการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้ากันอย่างมึนงงนี้
คำทำนายที่ 1: AI จะจัดการ “งานที่ใช้ความคิด” ได้อย่างรวดเร็ว
ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า AI จะเปลี่ยนรูปแบบในการที่เราใช้เวลาไปกับข้อมูล ไม่ใช่แค่เพียงเก็บรักษาเท่านั้น ธุรกิจต่างๆ จะควบคุม AI ให้ “ทำงานที่ต้องใช้ความคิด” (thinking tasks) วิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในการกำหนดขอบเขตด้านข้อมูล การถกประเด็น สำหรับการวางแผนสถานการณ์ในอนาคต (scenario planning) และการทดสอบทุกนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยี AI จะช่วยลดปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรค และให้อิสระกับผู้คนเพื่อตัดสินใจได้มากขึ้นและเร็วขึ้น การมีข้อมูลความรู้จะช่วยให้แผนการหรือโครงการใหม่ๆ ไม่เกิดการติดขัด สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ที่จะกลายเป็นผู้นำวัตกรรมด้าน AI จะเริ่มมองเห็นตัวอย่างที่เป็นจริง จากการที่ประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้ กลายเป็นความจริงสำหรับธุรกิจ
นักทฤษฏีหลายรายระบุว่า AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานในส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้อาจก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งช่วยปลดปล่อยโอกาสใหม่ๆ ให้กับมนุษยชาติ ยกตัวอย่าง การเกิดขึ้นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในแขนงใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรม AI และปรับรูปแบบการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ หรือประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการ ทั้งนี้ ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมทักษะความสามารถเหล่านี้ โดย AI จะมีอิทธิพลเหนือทักษะต่างๆ สำหรับผู้มีความสามารถโดดเด่นในอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดตัวแปรว่าอะไรคือสิ่งที่ควรหรือไม่ควรถูกจัดหมวดหมู่ไว้ในด้านผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจ และตัดสินใจในด้านกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อทั้งหมดนี้เข้าที่เข้าทาง เทคโนโลยีจะสามารถชี้แนะโอกาสเชิงบวกในการดำเนินธุรกิจด้วยความเร็วสูงสุด ดูได้จากตัวอย่างของการใช้ AI ในด้านการประมวลผลทางความคิดในธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตรกรรม ไปจนถึงบริการด้านการเงิน ดังนั้น ความท้าทายจะตกอยู่กับองค์กรที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในเชิงธุรกิจของเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน AI รวมทั้งต้องมั่นใจได้ว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษอยู่ในมืออีกด้วย
คำทำนายที่ 2: การเพิ่มความฉลาด (IQ) ให้กับสรรพสิ่ง หรือ Things
เริ่มต้นในปี 2018 เราจะมุ่งสู่การก้าวหน้าขนานใหญ่ในการฝัง (embed) สิ่งที่เป็นความฉลาด (intelligence) ไว้ในตัวเมือง องค์กรธุรกิจ บ้านเรือน และยานพาหหนะที่ยกระดับไปสู่ศักยภาพด้าน IoT ด้วยราคาของพลังการประมวลผลที่ลดลง พร้อมทั้งโหนดที่เชื่อมต่อกันที่ลดลงจนเกือบเป็น 0 เหรียญสหรัฐ เราจะมีจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อนับ 100,000 ล้านชิ้นในไม่ช้า และจะขยับขึ้นเป็นล้านล้านชิ้น ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เอามารวมกัน พลังประมวลผลด้วยขุมพลังของ AI จะช่วยให้เครื่องกลควบคุมทรัพยากรทางกายภาพ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น เราจะพัฒนาไปสู่ “การเป็นผู้ควบคุมดิจิทัล” สำหรับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัวเรา เทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของตัวเรา ทุกๆ สิ่งจะทำงานได้อย่างฉลาดและช่วยให้เราใช้ชีวิตได้สมาร์ทยิ่งขึ้น
เรากำลังเห็นเรื่องที่กล่าวมานี้ในรถยนต์ ซึ่งจะจัดมาพร้อมเซนเซอร์ในระบบอัลตร้าโซนิก เทคโนโลยีที่ใช้ลำแสงเป็นตัววัดระยะทางระหว่างยานพาหนะกับการจดจำท่าทาง (gesture recognition) และในที่สุด นวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้การขับขี่อัตโนมัติกลายเป็นความจริงที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เราจะต้องทำความคุ้นเคยกับการใช้รถที่จะต้องจองเพื่อเข้าใช้บริการตามกิจวัตร แจ้งอู่ว่าต้องทำอะไรบ้างและกำหนดตารางการอัพเดตซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง
ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับนวัตกรรม IoT และการติดตั้งใช้งาน มีการลงทุนเพิ่มขึ้น และปัจจัยสำคัญอย่างเช่น ความริเริ่มจากภาครัฐบาล และความก้าวหน้าของ 5G กำลังเป็นแรงขับเคลื่อน
คำทำนายที่ 3 เราจะหันมาสวมใส่ AR headsets
ไม่นานเกินรอ เส้นแบ่งระหว่าง ความเป็นจริงที่ “เป็นจริง” และ เทคโนโลยีที่จำลองภาพเสมือนจริง หรือ Augmented Reality จะเริ่มเลือนหายไป การนำ AR ไปใช้ในเชิงพาณิชย์เริ่มเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างเช่น ทีมคนงานก่อสร้าง บรรดาสถาปนิก และวิศวกร กำลังนำ AR headsets มาใช้จำลองภาพในการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ ใช้ในความร่วมมือที่ต้องมีมุมมองเดียวกันในเรื่องของการพัฒนา และการฝึกอบรมแรงงานที่ต้องทำงานนั้นๆ ในเวลาที่ฝ่ายเทคนิคไม่สามารถไปดูด้วยตัวเองที่ไซต์งานในวันนั้นได้ ในการทำงาน AR จะนำผู้คนและมนุษย์มาอยู่รวมกัน ช่วยให้ผู้คนสื่อสารโต้ตอบกับข้อมูลในวิถีทางที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยภูมิภาคนี้จะกลายเป็นโครงการวิจัย หรือ testbed สำหรับแอปพลิเคชันเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่การควบคุมนวัตกรรม AR และการนำมาใช้งาน
คำทำนายที่ 4 สัมพันธภาพกับลูกค้าที่ลึกซื้งยิ่งขึ้น
ดัชนีเกี่ยวกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies’ Digital Transformation Index ชี้ให้เห็นว่า 52 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น คิดว่าตัวเองจะล้าสมัยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และ 83 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่าถูกคุกคามจากองค์กรสตาร์ทอัพ สิ่งที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา ก็คือประสบการณ์ของลูกค้าต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด
ภายในปีหน้า ด้วยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ก็คือการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (ML – Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในระดับแถวหน้า จะช่วยให้องค์กรธุรกิจเข้าใจลูกค้ามากขึ้นและให้บริการได้ดียิ่งขึ้น ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ หรือก่อนที่ลูกค้าจะต้องการ การบริการลูกค้าจะมุ่งที่การผสมผสานกันอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างคนและเครื่องจักรกล ดังนั้นแทนที่จะยกเลิกการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าไปสู่ chatbots รุ่นแรก และกำหนดข้อความต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ทั้งมนุษย์ และเอเจ้นท์เสมือนจริงที่มีความฉลาดทำงานได้แบบอัตโนมัติ จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมเดียวกัน ผู้บริโภคในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ต่างต้องการการติดต่อสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล และขับเคลื่อนด้วยโมบาย นอกจากนี้ ผู้บริโภคเหล่านี้ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่นวิธีการจ่ายเงินที่เป็นทางเลือกใหม่ โดยในความเป็นจริง นวัตกรรมในการจ่ายเงินในระดับโลกส่วนใหญ่ เกิดจากการผลักดันของผู้นำอุตสาหกรรมในภูมิภาค และความต้องการของผู้บริโภคก็จะมีความต้องการเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยในปี 2018 จะได้เห็นแบรนด์สินค้าต่างๆ ถูกกดดันให้ต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าเหล่านี้ให้ได้
คำทำนายที่ 5 ต่อไปการเช็คอคติ จะง่ายเสมือนการเช็คตัวสะกด
ภายในทศวรรษหน้า เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น VR และ AI จะช่วยให้ผู้คนค้นพบและดำเนินการด้านข้อมูลโดยไม่มีอารมณ์หรืออคติจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะที่ช่วยให้เพิ่มอำนาจในการตัดสินมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม
ในเวลาอีกไม่ช้านาน เราจะได้เห็นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการกระบวนการจ้างและการโปรโมทคนเพื่อคัดกรองอคติอย่างมีสติและไม่มีสติ ในขณะเดียวกัน VR จะถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นโดยเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เพื่อให้มั่นใจว่าจะมอบโอกาสเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนคุณงามความดีเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การใส่หน้ากากเพื่ออำพรางตัวตนจริงของพนักงานที่มุ่งหวังด้วย avatar สุดท้ายแล้ว การนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้ ก็จะทำให้ในวันหนึ่ง “การเช็คอคติ” กลายเป็นสารฆ่าเชื้อ หรือ sanitizer ที่ทำกันจนเป็นกิจวัตร เหมือนกับการ “เช็คตัวสะกด” แต่ให้ประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง
คำทำนายที่ 6 สื่อและความบันเทิงจะกลายเป็นพื้นที่แห่งใหม่สำหรับ อีสปอร์ต
ในปี 2018 เราจะได้เห็นผู้เล่นจำนวนมากขึ้น ที่นั่งอยู่หลังจอคอมพ์ หรือใช่ VR headsets เพื่อต่อสู้ในจักรวาลที่สร้างขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในความละเอียดภาพสูง เนื่องจากมีผู้เล่นและผู้ชมจำนวนหลายร้อยล้านคนเข้ามามีส่วนร่วม จึงทำให้ อีสปอร์ต กลายเป็นกระแสหลักในที่สุด ทั้งนี้ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กำลังเดินหน้าสู่การตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ พร้อมกับที่เรากำลังมุ่งไปสู่เอเชียนเกมในปี 2022 ซึ่งจะเป็นงานที่มีการชิงเหรียญทองสำหรับอีสปอร์ต
ปรากฏการณ์ของ อีสปอร์ต ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ขยายไปสู่วงกว้างมากขึ้น ถ้าจะให้กล่าวคือ กระทั่งกิจกรรมที่เป็นสาระสำคัญของ “มนุษย์” อย่างการเล่นกีฬา ก็จะถูกแปลงไปสู่ดิจิทัล เทคโนโลยีเปิดกว้าง “การกีฬา” ในทุกประเภท คุณไม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่กำยำ หรือสร้างมันขึ้น เพียงคุณมีการตอบโต้ทางสัมผัสที่รวดเร็ว และมีทักษะด้านเครื่องยนต์ คุณสามารถเล่นและคว้าชัยชนะได้ ทั้งนี้ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกจะเห็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ในเรื่องนี้ โดยประเทศจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ กำลังมุ่งไปสู่งานอีเวนต์และการลงทุนในเรื่องนี้ สิงคโปร์ ก็กำลังมุ่งเน้นที่การสร้างมืออาชีพด้านอีสปอร์ตในประเทศ โดยมีสถาบันฝึกฝนเพื่อสร้างแชมเปี้ยนด้านอีสปอร์ตในอนาคต
นอกจากนี้ กีฬาแบบเดิมๆ อย่างเช่น การปั่นจักรยาน ยังยกระดับการแข่งขันด้วยการเก็บเกี่ยวข้อมูลเพื่อหาข้อได้เปรียบรวมถึงวิธีการพลิกโฉมการแข่งขัน ในอนาคตทุกองค์กรธุรกิจจะกลายเป็นองค์กรธุรกิจด้านเทคโนโลยี และเวลาว่างจะกลายเป็นประสบการณ์แห่งการเชื่อมต่อ
คำทำนายที่ 7: เราจะเดินทางเข้าสู่ “มัลติ-คลาวด์”
คลาวด์ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นรูปแบบไอทีที่มีการฝังเรื่องของระบบควบคุมการทำงานทั้งหมด ระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะไว้ในโครงสร้างพื้นฐานไอที ในปี 2018 นี้ องค์กรธุรกิจต่างๆ จะพากันมุ่งไปสู่แนวคิดของมัลติ-คลาวด์กันอย่างท่วมท้น เพื่อให้มีข้อได้เปรียบจากคุณค่าของคลาวด์ในทุกโมเดล ไม่ว่าจะเป็น ไพรเวทคลาวด์ พับลิค คลาวด์ ไปจนถึงการโฮสต์ การจัดการ และคลาวด์ในรูปของซอฟต์แวร์เชิงการบริการ หรือ SaaS
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการย้ายแอปพลิเคชัน และเวิร์กโหลดจำนวนมากขึ้นไปสู่คลาวด์ที่หลากหลาย การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของคลาวด์ที่เป็นไซโล จะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดั้งนั้นองค์กรต้องมีความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากระบบวิเคราะห์ข้อมูลและความริเริ่มด้าน AI เรื่องนี้ยังส่งผลไปถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์แบบผิดที่ผิดทางเพราะจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ปรารถนา องค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกจะยังคงถูกท้าทายเพื่อทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานตอบโจทย์ความท้าทายที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนได้ ในขณะที่ยังคงต้องใส่ใจแอปพลิเคชันสำหรับอนาคต
ก้าวต่อไปคือ เราจะเห็นการเกิด “เมกะ คลาวด์” ซึ่งจะร้อยเรียงไพรเวทคลาวด์ที่หลากหลาย รวมถึงพับบลิค คลาวด์ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบรวมได้อย่างสอดคล้อง เมกะ คลาวด์ จะให้มุมมองรวมของสภาพแวดล้อมไอทีทั้งหมดได้อย่างชาญฉลาด การทำให้เมกะคลาวด์ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้นั้น เราจะต้องสร้างนวัตกรรมแบบมัลติ-คลาวด์ ในระบบเชื่อมต่อเครือข่าย (เพื่อย้ายข้อมูลไปมาระหว่างคลาวด์ได้) รวมถึงสตอเรจ (เพื่อเก็บข้อมูลไว้ในคลาวด์ที่เหมาะสม) และประมวลผล (เพื่อใช้ประโยชน์เรื่องของระบบประมวลผลที่ดีที่สุดและเร่งงานเวิร์กโหลด) การจัดลำดับการทำงานทั้งหมด หรือ Orchestration (เพื่อเชื่อมระบบเชื่อมต่อเครือข่าย รวมถึงสตอเรจ และการประมวลผลร่วมกันระหว่างคลาวด์ต่างๆ) และ สิ่งที่เป็นโอกาสใหม่คือ ลูกค้าจะต้องรวมการทำงานของ AI และ ML เพื่อให้เป็นระบบอัตโนมัติ และมีมุมมองเชิงลึกไปสู่ความเหนือชั้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมไอทีแบบเน็กซ์เจน
คำทำนายที่ 8 ปีแห่งการเสียเหงื่อไปกับเรื่องเล็กๆ
ในโลกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากยิ่งขึ้น การไว้วางใจในบุคคลที่สามจะเป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้น องค์กรจะไม่ได้เป็นแค่หน่วยเล็กๆ แต่จะมีระบบเชื่อมต่อระหว่างกันมากมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่มหาศาล การกระเพื่อมของความยุ่งเหยิงจะแผ่ไปไกลขึ้น เร็วขึ้น เพราะตอนนี้เทคโนโลยีเชื่อมต่อเราไปยังหนทางที่น่าพิศวง ลองพิจารณาว่าหนึ่งในช่องโหว่ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากผู้โจมตีใช้หลักฐานอ้างอิงตัวตนล็อกอินเข้าไปที่ระบบ HVAC ของผู้อื่น
ดังนั้น ในปีใหม่นี้ จะกลายเป็นปีของการดำเนินการสำหรับองค์กรข้ามชาติ โดยเป็นแรงบันดาลใจจากการจู่โจมของกฏระเบียบข้อบังคับใหม่เช่น GDPR ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อองค์กรทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ความสำคัญอันดับต้นคือการติดตั้งเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และเทคโนโลยีเพื่อปกป้องข้อมูลและป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องนี้จะเติบโตอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้องค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะถูกผลักดันให้เพิ่มงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย และยังต้องมองที่ความพยายามร่วมกันทั้งองค์กรเช่นการรับรู้ของพนักงาน การรักษาความปลอดภัย IoT จะอยู่อันดับต้นของลิสต์เรื่องการรักษาความปลอดภัยที่จัดเป็นความสำคัญอันดับต้นของภูมิภาคเช่นกัน เพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ในส่วนของจุดเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ใกล้อุปกรณ์ ตลอดจนระบบงานหลัก ไปจนถึงคลาวด์ (from edge to core to cloud) เนื่องจากนวัตกรรม IoT รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว