Smiling owl ตรวจวัดพัฒนาการเพื่อความเป็นเลิศรอบด้านของลูกน้อย

0
930
image_pdfimage_printPrint

90740

ตรวจวัดพัฒนาการเพื่อความเป็นเลิศรอบด้านของลูกน้อย
เพื่อไขความต่าง สร้างความสุข เสริมสุขภาพตรงจุด

มาร่วมใส่ใจสุขภาพเด็ก รณรงค์และส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการและได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมตามช่วงวัย เพื่อค้นหาความเป็นเลิศในตัวลูกน้อย ด้วยเครื่องมือตรวจวัดพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศรอบด้านของลูกน้อยด้วย โดยเริ่มตรวจพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่วัย 1 เดือน – 5 ปี ช่วยพ่อ-แม่ ตัดสินใจเลือกส่งเสริมลูกตามความถนัด ช่วยส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศรอบด้านทั้งด้านสติปัญญา พัฒนาการ จิตใจ อันนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

พญ. มัณฑนา ชลานันต์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์และตัวตนที่แตกต่างกัน จึงตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเข้าใจตัวตนของเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่พ่อและแม่จะตอบสนองให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน แต่ละวัยให้มีพัฒนาการที่เป็นเลิศ การส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการและได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมตามช่วงวัย จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ ทักษะทางสังคม การแก้ไขปัญหา และมีความคิดสร้างสรรค์อันนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต แพทย์สามารถตรวจวัดตัวตนของเด็กเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับพัฒนาการและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้ มีการตรวจวัดพัฒนาการเด็กเพื่อความเป็นเลิศรอบด้านของลูกน้อย ส่งเสริมให้ตรวจพัฒนาการเด็กวัย 1 เดือน – 5 ปี ด้วยเครื่องมือมาตรฐานทางการแพทย์ระดับสากล โดยกุมารแพทย์พัฒนาการเด็กที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือดังกล่าว เพื่อที่แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเพื่อเสริมจุดเด่นเติมเต็มจุดด้อยแก่ลูกน้อยอย่างถูกต้องแต่ละบุคคล (Tailor-made) พร้อมทั้งแนะนำการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสู่ความเป็นเลิศ สามารถตรวจได้ตั้งแต่วัย 1 เดือนจนถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับเด็กทั้งในด้านการส่งเสริมในจุดเด่น ค้นหาสิ่งที่เด็กถนัด และหาจุดที่สามารถต่อยอดให้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ การตรวจพัฒนาการเด็ก วัย 1 เดือน – 5 ปี จะคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือ ASQ และ Denver II รวมถึงตรวจพัฒนาการด้วยเครื่องมือมาตรฐาน Mullen Scale of Early Learning ตรวจวัด Executive Function และตรวจวัด Pre-academic skills เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน มีการประเมินตามโปรแกรมต่างๆ อาทิการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น ว่ามีพัฒนาการปกติหรือล่าช้ากว่าวัย โดยใช้ ASQ และ Denver II โดยการแปลผลจะบอกได้ว่าเด็กมีพัฒนาการปกติหรือมีแนวโน้มล่าช้ากว่าวัยหรือไม่และการตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย เพื่อค้นหาความถนัดแต่ละด้าน ด้วยเครื่องมือมาตรฐานที่มีความพร้อม Mullen โดยการแปลผลสามารถบอกเป็นคะแนนของพัฒนาการในแต่ระดับเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานสากล เพื่อรับคำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมต่อเด็กแต่ละช่วงวัย ส่วนการตรวจวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย ทักษะในการบริหารจัดการ และทักษะก่อนเข้าเรียนและทักษะในการเรียนของเด็ก เพื่อค้นหาความถนัด และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน (Pre-academic skills) ด้วยเครื่องมือมาตรฐานที่มีความพร้อม Mullen และ Brief-P การใช้เครื่องมือคัดกรองพัฒนาการที่มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังตรวจวัดทักษะ ในการบริหารจัดการ โดยการแปลผลสามารถบอกเป็นคะแนนของพัฒนาการในแต่ละด้านเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานสากล พร้อมทั้งรับการประเมินทักษะก่อนเข้าเรียนและทักษะในการเรียน เพื่อรับคำแนะคำอย่างละเอียดในการส่งเสริมพัฒนาการ ที่เหมาะสมต่อเด็กแต่ละช่วงวัย เด็กแต่ละคนควรมีปัจจัยสู่ความสำเร็จและความสุขที่เรียกว่า 7Q ได้แก่ Intelligence Quotient มีสติปัญญา และพัฒนาการทางสมองที่ดี Emotional Quotient การมีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่นได้ รวมทั้งสร้างความสุขให้แก่ตนเองได้ Social Quotient การมีทักษะทางสังคม สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข Moral Quotient ความรับผิดชอบจริยธรรม และคุณธรรมประจำตน Adversity Quotient สามารถแก้ไขปัญหาและการเผชิญกับวิกฤต Creativity Quotient คือ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ และแนวคิดในรูปแบบใหม่ๆ Health Quotient มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลเด็กแต่ละคนให้มีทั้ง 7Q นั้น
ศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ จะตรวจวัดตัวตนของเด็กแต่ละคนในแต่ละวัย ด้วยการตรวจวัดพัฒนาการด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ซึ่งสามารถบอกความสามารถของเด็กในแต่ละด้าน ได้แก่ เชาวน์ปัญญา (Cognitive Composite Score), ความสามารถการใช้สายตาในการแก้ปัญหา (Visual Reception), ความสามารถในการเข้าใจภาษา (Receptive Language), ความสามารถด้านการใช้ภาษา (Expressive Language), ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor), และความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) การตรวจวัดทักษะการบริหารจัดการ ด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ซึ่งสามารถบอกความสามารถของเด็กในการวางแผน (Planning), ความสามารถในการจดจำ เพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง (Working Memory), ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ (Inhibition Control), ความยืดหยุ่น (Shift), และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) เมื่อตรวจวัดแล้วแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำพ่อ-แม่ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการเลี้ยงดูสำหรับลูกน้อยแต่ละคนในแต่ละวัยได้อย่างเหมาะสม

***********************************************************************************
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลกรุงเทพ
ปานฤทัย คงยิ้มละมัย (ปิงปอง) / พัชรดนัย แก้วสม (ธีร์) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
ผู้แทนประชาสัมพันธ์ : บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชัน จำกัด
อำไพพรรณ นภาสกุลคู (โอ่ง) โทร. 086-351-7729 E-mail: mascotcom1@hotmail.com