ผลการวิจัยใหม่ซึ่งนำเสนอที่มหาวิทยาลัยเยลระบุว่า ระบบการจำแนกประเภทที่โลกการเงินใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง GICS ยังมีข้อบกพร่อง เพราะมองข้ามปัจจัยสำคัญอย่างความยั่งยืน ขณะเดียวกัน SICS ซึ่งเป็นระบบการจำแนกประเภทอีกระบบหนึ่งที่คิดค้นขึ้นโดยคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (SASB) ก็มีข้อบกพร่องเช่นกัน เพราะให้ความสำคัญกับเกณฑ์ชี้วัดด้านความยั่งยืนมากเกินไป เมื่อเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดทางการเงินอื่นๆที่ใช้กันทั่วไป
คุณเดซิโอ นาสซิเมนโต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนประจำกองทุน Richmond Global Compass Fund ได้นำเสนอรายงานหัวข้อ “Industry Classification and Environmental, Social and Governance (ESG) Standards” (มาตรฐานการจำแนกประเภทอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) ในการประชุม Sustainable Finance Symposium 2018 on the State of ESG Disclosure Standards ซึ่งจัดขึ้นโดย Yale Initiative on Sustainable Finance (YISF) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
Richmond Global Compass ได้ข้อสรุปว่า การผนวกรวมทั้งสองระบบด้วยการซ้อนกลุ่มอุตสาหกรรม SICS ทับกลุ่มอุตสาหกรรม GICS จะก่อให้เกิดระบบการจำแนกประเภทที่มีความแม่นยำมากขึ้น และลดความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะแสดงให้เห็นว่าการอาศัยระบบใดระบบหนึ่งที่ต่างไม่มีความสมบูรณ์อาจให้ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่ผิดพลาดบางประการในพอร์ตการลงทุนของผู้จัดการ และอาจเป็นการทำผิดหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์
Richmond Global Compass ได้นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์อันเป็นที่ยุติจากการวิจัยดังกล่าว โดยเริ่มจากการทดสอบระบบการจำแนก GICS และ SICS แยกกันต่างหาก และพบว่าระบบ GICS มีประสิทธิภาพกว่า SICS เมื่อใช้จำแนกบริษัทที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะระบบ GICS มีการนำไปใช้จำแนกประเภทครอบคลุมตลาดทุนกว่า 95% ในปัจจุบัน จึงมีการป้อนข้อมูลระหว่างตัวระบบกับผู้จัดการที่ใช้ระบบนี้
จากนั้นได้มีการศึกษาให้ลึกขึ้นไปอีกขั้นโดยบูรณาการสองระบบเข้าด้วยกัน ด้วยการผนวกรวมกลุ่ม GICS ทั้งสิ้น 11 กลุ่ม เข้ากับกลุ่ม SICS อีก 10 กลุ่ม เพื่อสร้างระบบการจำแนกใหม่ที่อาจมีกลุ่มอุตสาหกรรมรวมกันมากถึง 110 กลุ่ม แต่บางกลุ่มเป็นเซตว่าง (null set) ดังนั้นตัวเลขจริงอาจเหลือประมาณ 30-40 กลุ่มอุตสาหกรรม ต่อมาได้มีการทดสอบระบบการจำแนกใหม่นี้ในรูปแบบเดียวกับที่ทดสอบระบบ GICS และ SICS ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจมาก เพราะเมื่อประเมินชุดข้อมูลต่างๆ เช่น บริษัทขนาดเล็กและใหญ่ในดัชนี S&P500 และ S&P1500 รวมถึงในสหราชอาณาจักรแล้ว พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมในสัดส่วน 95% มีพัฒนาการดีขึ้นในแง่ของความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือ บริษัทที่ถูกจำแนกประเภทเป็นกลุ่มต่างๆ มีความสัมพันธ์กันกับอีกกลุ่มหนึ่งลดลงในแง่ของความเคลื่อนไหวในราคาหุ้น นอกจากนี้ ในกลุ่มอุตสาหกรรม 95% ที่ปรากฏให้เห็นพัฒนาการดังกล่าว ขนาด (magnitude) โดยเฉลี่ยของพัฒนาการเหล่านี้อยู่ที่ 51%
Richmond Global Compass เชื่อว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาภาคส่วนนี้ แต่ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเบื้องต้นก็ส่งสัญญาณในทางที่ดี บริษัทกำลังเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นสำคัญมากขึ้น และอาจนำไปสู่การพัฒนาระบบการจำแนกที่มีความแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม ด้วยการสร้างสมดุลระหว่างเกณฑ์วัดสำคัญทั้งทางการเงินและนอกกลุ่มการเงินทั้งหมด โดยผู้จัดการที่ใช้ระบบการจำแนกประเภทที่เหมาะสมยิ่งขึ้นจะมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของตน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในช่วงเวลาอันสับสน ทั้งนี้ Richmond Global Compass เชื่อว่า ท้ายที่สุดตลาดทั้งหลายจะต้องหันมาใช้ระบบการจำแนกที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะขับเคลื่อนตลาดและโลกของเราไปในทิศทางที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://rgcompass.com หรือโทร +1-212-350-0222
สื่อมวลชนติดต่อ: Charlotte Luer โทร. +1-239-404-6785 อีเมล: cluer@ljhfm.com
ที่มา: Richmond Global Compass