จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังติด 50 อันดับสถาบันชั้นนำของเอเชีย
#QSWUR
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2018 ของ QS ซึ่งนำเสนอในวันนี้โดยนักวิเคราะห์การศึกษาระดับสูงทั่วโลกของ QS Quacquarelli Symonds เผยให้เห็นว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงติดอันดับ 1 ใน 50 มหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย แต่ตกลงมาอยู่ที่อันดับ 50 จากอันดับ 45 ในปีที่แล้ว นอกจากนั้นยังเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย Nanyang Technological University รั้งอันดับดีที่สุดในบรรดามหาวิทยาลัยในสิงค์โปร์
http://mma.prnewswire.com/media/554277/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg
ผลการค้นพบที่สำคัญในระดับประเทศ
– มหาวิทยาลัยมหิดลไต่จากอันดับที่ 61 มาเป็นอันดับที่ 58
– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ติด 100 อันดับแรก โดยไต่จากอันดับที่ 101 มาเป็นอันดับที่ 97
– ในบรรดามหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกของไทย มีเพียง 3 มหาวิทยาลัยที่มีการไต่อันดับขึ้น
– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคะแนนลดลงแปดในสิบจากตัวชี้วัดของ QS
– มหาวิทยาลัยไทย 12 แห่ง จากทั้งหมด 16 แห่งในการจัดอันดับของ QS มีคะแนนเกี่ยวกับบุคลากรระดับปริญญาเอกลดลง ชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยไทยมีบุคลากรไม่ทันกับอัตราการจ้างงานในระดับปริญญาเอกทั่วภูมิภาค
– อันดับมหาวิทยาลัยไทย 16 แห่งแสดงอยู่ในตารางที่ 2
ผลการค้นพบที่สำคัญในระดับภูมิภาค
– มีมหาวิทยาลัยใหม่หนึ่งแห่งขึ้นมาติด 10 อันดับแรกในปีนี้ นั่นคือ Fudan University ของจีน ซึ่งไต่ขึ้นมา 4 ขั้น มาอยู่อันดับที่ 7 แซงหน้า Peking University ที่อยู่อันดับ 9
– โดยรวมแล้ว จีนมีมหาวิทยาลัยสามแห่งที่ติด 10 อันดับแรก สิงคโปร์มีสองแห่ง เกาหลีใต้มีหนึ่งแห่ง
– QS จัดอันดับมหาวิทยาลัย 425 แห่ง จาก 17 ประเทศในเอเชีย ซึ่งมากกว่าที่เคยมีมา ส่งผลให้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ QS ในส่วนของเอเชีย มีภาพรวมผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตาราง 1: ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2018 ของ QS (10 อันดับแรก)
อันดับปี 2018
อันดับปี 2017
สถาบัน
ประเทศ/เขตแดน
1
3
NANYANG TECHNOLOGICAL UNIVERSITY (NTU)
สิงคโปร์
2
1
NATIONAL UNIVERSITY OF SINGAPORE (NUS)
สิงคโปร์
3
4
THE HONG KONG UNIVERSITY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY (HKUST)
ฮ่องกง
4
6
KAIST – KOREA ADVANCED INSTITUTE OF SCIENCE AND TECHNOLOGY
เกาหลีใต้
5
2
UNIVERSITY OF HONG KONG (HKU)
ฮ่องกง
6
5
TSINGHUA UNIVERSITY
จีน
7
11
FUDAN UNIVERSITY
จีน
8
7
CITY UNIVERSITY OF HONG KONG
ฮ่องกง
9
9
PEKING UNIVERSITY
จีน
10
8
THE CHINESE UNIVERSITY OF HONG KONG (CUHK)
ฮ่องกง
(C) QS Quacquarelli Symonds 2004-2017 http://www.TopUniversities.com/. All rights reserved.
วิธีการจัดอันดับ
QS ใช้วิธีการเฉพาะในการคำนวณการจัดอันดับ ซึ่งวิธีการถูกออกแบบมาเพื่ออธิบายถึงการแข่งขันที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาค โดยมีตัวบ่งชี้ 10 ประการ ดังนี้
– ชื่อเสียงทางวิชาการ (วัดคุณภาพงานวิจัย)
– ชื่อเสียงนายจ้าง (วัดการจ้างงาน)
– อัตราส่วนคณาจารย์ต่อนักเรียน (วัดคุณภาพการสอน)
– จำนวนงานวิจัยต่อคณะ (วัดงานวิจัย)
– จำนวนการอ้างอิงต่องานวิจัย (วัดงานวิจัย)
– อัตราส่วนคณะที่เป็นสากล (วัดความเป็นสากล)
– บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก (วัดคุณภาพการสอน)
– อัตราส่วนของนักศึกษาต่างชาติ (วัดความเป็นสากล)
– นักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้า (วัดความเป็นสากล)
– นักศึกษาแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศ (วัดความเป็นสากล)
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดอันดับได้ที่ www.TopUniversities.com
ตาราง 2: ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียของ QS (ภาพรวมของไทย)
อันดับปี 2018
อันดับปี 2017
ชื่อสถาบัน
50
45
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
58
61
มหาวิทยาลัยมหิดล
97
101
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
112
104
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
149
129
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
171=
161
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
178
165
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
188=
185
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
261-270
288
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
301-310
288
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
321-330
301
มหาวิทยาลัยนเรศวร
331-340
323
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
341-350
362
มหาวิทยาลัยศิลปากร
391-400
–
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
401-450
–
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
401-450
400
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
(C) QS Quacquarelli Symonds 2004-2017 http://www.TopUniversities.com/. All rights reserved.
สามารถตรวจสอบการจัดอันดับทั้งหมดได้ที่ www.TopUniversities.com