OGT ขยายบริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดด้วยเทคนิค FISH

0
510
image_pdfimage_printPrint

OGT-Logo Logo

อ็อกซ์ฟอร์ด, อังกฤษ–13 ก.ย.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ตัวตรวจจับ (probe) ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยและจำแนกวิธีการรักษาโรคมะเร็งปอดชนิด NSCLC

Oxford Gene Technology (OGT) บริษัทด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิค FISH (Fluorescence in situ Hybridization) มาตรฐาน CE-IVD สำหรับโรคมะเร็งปอด โดยใช้ตัวตรวจจับ (probe) สองตัวใหม่ ได้แก่ Cytocell Aquarius(R) ROS1 Plus Breakapart และ RET Breakapart * ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงและแม่นยำในการตรวจจับการสับเปลี่ยนตำแหน่งของจีโนม ที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอดที่พบได้บ่อยอย่างโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC) โดยจะเข้ามาเติมเต็มตัวตรวจจับที่มีอยู่เดิมของ OGT (ALK Breakapart, EGFR Amplification และ EML Breakapart) เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการวินิจฉัยโรคและจำแนกผู้ป่วย

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160909/406091LOGO )

มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งเพศชาย ในปี 2555 มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดรายใหม่มากถึง 1.8 ล้านรายทั่วโลก[1] โดยเป็นมะเร็งปอดชนิด NSCLC ในสัดส่วนสูงถึง 85%[2] Manisha Maurya นักวิทยาศาสตร์คลินิกประจำ Royal Marsden NHS Foundation Trust ได้อธิบายถึงความสำคัญของตัวตรวจจับใหม่นี้ว่า “เนื่องจากมะเร็งปอดชนิด NSCLC สามารถจำแนกประเภทโมเลกุลได้หลายกลุ่มย่อย ดังนั้น การแยกแยะจีโนมอย่างถูกต้องแม่นยำจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด จากการวิจัยพบว่า ตัวตรวจจับใหม่ทั้งสองตัวมีการส่งสัญญาณที่แม่นยำชัดเจน ทำให้เห็นภาพและวัดผลได้โดยง่าย จึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการจำแนกกลุ่มและรักษาโรคมะเร็งปอดชนิด NSCLC”

Steve Chatters ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโสประจำฝ่ายพยาธิวิทยาของ OGT กล่าวว่า “ปัจจุบันการวิจัยโรคมะเร็งกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยทาง OGT ก็ได้มีการร่วมงานกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คลินิกชั้นแนวหน้า เพื่อพัฒนานวัตกรรมอันล้ำสมัยโดยต่อยอดมาจากความรู้ใหม่ๆด้านวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น Cytocell Aquarius ROS1 Plus Breakapart ที่มิได้ครอบคลุมแค่ยีน ROS1 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงส่วนที่ขาดหายไปของ ROS1-GOPC ซึ่งช่วยให้การวิเคราะห์เป็นไปอย่างครอบคลุมมากขึ้น”

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยตัวตรวจจับใหม่นี้ มีให้เลือก 2 รูปแบบ มาพร้อมกับบัฟเฟอร์ระบบไฮบริด ซึ่งช่วยร่นเวลาและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังรองรับชิ้นเนื้อที่ผ่านการแช่ในฟอร์มาลีนและฝังพาราฟิน (FFPE) โดยจะส่งสัญญาณความเข้มสูงแต่แบคกราวด์ต่ำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้ ทำให้วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง

สามารถดาวน์โหลดโบรชัวร์ใหม่ของ OGT เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ogt.com/NSCLC

อ้างอิง

1. Ervik M, et al (2016) Cancer Today. Lyon, France: International Agency for Research on Cancer. Cancer Today. Available from: http://gco.iarc.fr/today , accessed 30/08/2016
2. Molina JR, et al (2008) Non-Small Cell Lung Cancer: Epidemiology, Risk Factors, Treatment, and Survivorship. Mayo Clinic proceedings Mayo Clinic. 83(5):584-594

หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ:

เกี่ยวกับ Oxford Gene Technology

Oxford Gene Technology (OGT) นำเสนอโซลูชั่นการวิจัยด้านพันธุศาสตร์ระดับเวิลด์คลาสให้กับสถาบันวิจัยเชิงคลินิกและสถาบันวิจัยเชิงวิชาการชั้นนำหลายแห่ง บริษัทก่อตั้งขึ้นโดย Professor Sir Edwin Southern และมีลูกค้าในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก OGT มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับการยอมรับในตลาดการแพทย์ระดับจีโนมที่มีขนาดใหญ่และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิค FISH (Fluorescence in situ Hybridization) อันประกอบด้วย Cytocell(R), CytoSure(TM) และ SureSeq(TM) ของบริษัท รวมถึง microarray และ next generation sequencing (NGS) ล้วนมอบการวิเคราะห์พันธุกรรมที่มีศักยภาพสูง เพื่อความแม่นยำในการระบุและยืนยันตัวแปรที่เป็นสาเหตุของโรคพันธุกรรม

* Cytocell Aquarius(R) RET Breakapart และ ROS1 Plus Breakapart ได้รับการรับรองมาตรฐาน CE-IVD และพร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2559

CytoSure(TM), SureSeq(TM) และ myProbes(R) สำหรับใช้ในการวิจัยเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในขั้นตอนการวินิจฉัยโรค และผลิตภัณฑ์ Cytocell บางส่วนอาจไม่มีให้บริการในสหรัฐอเมริกา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Oxford Gene Technology
Begbroke Science Park, Begbroke Hill, Woodstock Road, Begbroke, Oxfordshire, OX5 1PF, U.K.
โทร. +44(0)1865-856826
แฟกซ์: +44(0)1865-848684
อีเมล: contact@ogt.com
เว็บไซต์: http://www.ogt.com
ทวิตเตอร์: @OxfordGeneTech

ที่มา: Oxford Gene Technology