Medical Devices ASEAN 2019 ขน 300 แบรนด์ชั้นนำโชว์เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์

0
346
image_pdfimage_printPrint

บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผนึกกำลังกระทรวงสาธารณสุข และพันธมิตร ร่วมจัดงาน Medical Devices ASEAN 2019 (MDA 2019) งานแสดงเครื่องมือแพทย์นานาชาติและการประชุมวิชาการทางการแพทย์ ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2562 อาคาร 5-6 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้ธีม “Building the Future of Healthcare” โดยรวมผู้ประกอบการกว่า 300 แบรนด์ทั้งไทย-เทศร่วมแสดงเทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ล่าสุด พร้อมด้วยสัมมนาวิชาการ และการจำลองสถานการณ์เพื่อสาธิตการกู้ชีพฉุกเฉินผ่านเทคโนโลยีสุดทันสมัย คาดมีบุคลากรทางกรทางการแพทย์สนใจเข้าร่วมงานกว่า 4,200 ราย

เภสัชกรปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED) พันธมิตรร่วมจัดงานฯ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยในช่วงปี 2562-2564 มีแนวโน้มเติบโตในอัตราเฉลี่ย 8.0-10.0% ต่อปี จากหลายปัจจัย นำโดยนโยบายของภาครัฐที่ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ใน 4 ด้าน Wellness Hub, Medical Service Hub, Academic Hub และProduct Hub นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ผนวกกับประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปของไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 11.23 ล้านคนในปี 2560 เป็น 13.1 ล้านคนปี 2564 รวมทั้งอัตราการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่ทันสมัย และใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ไทยและเครื่องมือที่ทันสมัย ส่งผลให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เลือกเข้ามารับการรักษาที่ประเทศไทยมากขึ้นประมาณ 6.9% ของผู้ป่วยรวม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคือแผนการขยายธุรกิจของกลุ่มโรงพยาบาลใหม่และการลงทุนด้านเครื่องมือแพทย์ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ไทยเป็น Medical Hub ในภูมิภาคอย่างแท้จริง สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย จึงร่วมกับงาน Medical devices ASEAN 2019 เป็นครั้งที่ 2 โดยจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี 2562 ภายในงาน MDA เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ และรวมรวมสมาชิกผู้ที่อยู่ในแวดวงการแพทย์ได้มีโอกาสมาร่วมชมงาน MDA ที่นำเครื่องมือแพทย์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลกมาจัดแสดงไว้ในงานเดียว ถือว่าเป็นงานที่วงการแพทย์ไม่ควรพลาดครับ”

ด้านนางสาวนิชา อัครเมธากุล ผู้จัดการโครงการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้จัดงาน Medical Devices ASEAN (“MDA”) กล่าวว่า “งาน Medical Devices ASEAN 2019 ได้รวบรวมผู้ประกอบการกว่า 300 แบรนด์ชั้นนำกับ 4 พาวิลเลี่ยนจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน รวมถึงผู้ประกอบการจากประเทศไทย

มาจัดแสดงเทคโนโลยี และเครื่องมือทางการแพทย์ อาทิ หุ่นยนต์ช่วยกายภาพทั้งระบบเอว ระบบข้อต่อ และช่วงขาส่วนล่างทั้งหมดที่สามารถสั่งการด้วยตัวเอง หรือระบบคำสั่งจากสมองมนุษย์ หุ่นยนต์ทางการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบสื่อสารภายในโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อและส่งข้อมูลแบบแยกส่วน ระบบ AOC (AMBULANCE OPERATION CENTER) หรือนวัตกรรมที่พัฒนามาเพื่ออุดช่องโหว่ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งเรื่องพื้นที่ และเวลาในการรักษาผู้ป่วยแบบครบวงจรด้วยเครื่องมืออัจฉริยะผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถค้นหาและเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เชื่อมให้หมอที่โรงพยาบาลสามารถสั่งการออนไลน์ไปยังเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาล เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดยในงานก็จะจัดให้มีการจำลองสถานการณ์เพื่อสาธิตการกู้ชีพฉุกเฉินทุกวัน พร้อมทั้งอัพเดทข้อมูลแนวโน้มของธุรกิจ และอุตสาหกรรมให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้วิเคราะห์แนวทางในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมีการจัดประชุมวิชาการทางการแพทย์จากหน่วยงานต่างๆ อาทิ เทคนิคการแพทย์ การแพทย์ฉุกเฉิน รังสีวิทยา การบริหารสถานพยาบาล เทคโนโลยีดูแลผู้สูงวัยและการอบรมเจ้าหน้าที่จัดซื้อของโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ คาดการณ์ว่าตลอดทั้ง 3 วันการจัดงานจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 4,200 ราย เพื่อส่งเสริมธุรกิจระหว่างผู้ผลิต นำเข้า จัดจำหน่าย และผลักดันการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรการแพทย์”

นายแพทย์ ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลนำร่องใช้เทคโนโลยีกู้ชีพฉุกเฉินครบวงจรเปิดเผยว่า “เรื่องของงานสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก หมอเรียนจบไปหลายปีแล้วแต่ว่ายังต้องอ่านตำราติดตามข่าวสารทุกวัน เพื่อให้ทันเหตุการณ์ และทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ประเทศไทยไม่สามารถมีงบประมาณที่มากพอที่จะใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ดีที่สุดได้ แต่ว่าสามารถจะใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อประชาชน อย่างเช่นโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ ก้าวคนละก้าว จึงประสานงานกับเอกชนในการติดตั้งเทคโนโลยีสาขาการกู้ชีพฉุกเฉินทั้งระบบ ตั้งแต่ระบบการติดตามและระบุตำแหน่งรถพยาบาล ระบบสัญญาณชีพที่สามารถแสดงสัญญาณชีพจากบนรถพยาบาล ไปสู่แพทย์ที่ศูนย์สั่งการฯ ติดตามอาการคนไข้ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้แบบReal time และแสดงพารามิเตอร์ผ่านโทรศัพท์ ระบบการสื่อสารระหว่างแพทย์ เจ้าหน้าที่ และศูนย์สั่งการ สุดท้ายแว่นตาอัจฉริยะ ที่หมอหรือเจ้าหน้าที่ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ สามารถเห็นสถานการณ์แบบเดียวกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ภายนอกได้ การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ ทำให้ขณะที่เจ็บเดินทางมาที่โรงพยาบาล หมอสามารถสั่งการรักษาได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นผลลัพธ์การรักษาคนไข้ในเรื่องของ อุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคทางสมอง ก็จะดีขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลดีถึงประชาชนโดยตรง”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://medicaldevicesasean.com/