1

GISTDA หนุนนักลงทุนด้าน Aerospace ดันอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศไทย

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA หน่วยงานภายใต้การกำกับของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการพัฒนาและผลักดันอุตสาหกรรมเศรษฐกิจด้านการบินและอวกาศ
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park : SKP) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงการผลักดันอุตสาหกรรมด้านการบินและอวกาศ (Aerospace Industry) ของไทยและการนำร่องโครงการต่างๆ สู่การพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งมีการจัดตั้ง SKP Business Zone เปิดให้เช่าพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจ ที่จะทำธุรกิจด้าน Aerospace ในปัจจุบัน ได้เปิดให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิเช่น Swedish Space Corporation, DEPA, CGX เป็นต้น
โดยในพื้นที่ SKP ยังเป็นศูนย์รวมการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อวกาศฝีมือคนไทยมากมาย อาทิเช่น โครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการควบคุมและทดสอบประกอบดาวเทียม เพื่อใช้ในการควบคุมดาวเทียม THEOS และรองรับดาวเทียมในอนาคตอย่าง THEOS-2 ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเชิงกลยุทธ์และปฏิบัติการ ด้านการบินและอวกาศ รวมถึงห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ “GALAXI” – GISTDA’s Aerospace Laboratory of eXcellence and Innovation มุ่งเน้นวิจัยพัฒนาวัสดุและโครงสร้างอากาศยาน เพื่อส่งเสริมภารกิจนวัตกรรมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศด้านการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยาน อีกทั้งเป็นองค์กรของรัฐแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการบินและอวกาศ AS9100 จาก Lloyd’s Register ได้เริ่มให้บริการแก่หน่วยงานเอกชนในประเทศอาทิเช่น Aeroworks (Asia) Co., Ltd, Triumph Structures (Thailand) Ltd. และ Zodiac Airactering Equipment (Thailand) Ltd
นอกจากนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ SKP สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI : The Board of Investment of Thailand จึงได้เสนอสิทธิประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ โดยมีสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนที่จะช่วยสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน การยกเว้นภาษีเงินได้ ลดขั้นตอนการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้กับนักลงทุนอีกด้วย
การพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) หรือ Entrepreneurial Development Program (EDP) มีเป้าหมายเพื่อสนับ สนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นให้เกิดการลงทุนธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์

การพัฒนา “ผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs)” “บริษัทจัดตั้งใหม่ (Start-up Companies)” และ“วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของ SKP นั้น เป็นการมุ่งให้เกิดการเติบโต โดยใช้ข้อได้เปรียบจากสภาพแวดล้อม ทางวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็ง และสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มีการดำเนินการใน 3 ระดับ ได้แก่
1) Ignite เป็นกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักจากมหาวิทยาลัย (นักศึกษา /บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา/อาจารย์และบุคลากร/นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์) มีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและการสนับสนุนให้เกิดการสร้างสังคมผู้ประกอบการ โดยเน้น ซึ่งกิจกรรมจะมุ่งเน้นการสร้างแรงบัลดาลใจเพื่อพัฒนาไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่การพัฒนานวัตกรรมเช่น 1) กิจกรรม Academic Roadshow 2) การรับสมัครเครือข่ายสมาชิก 3) Technical Activities ( เช่น กิจกรรมทดสอบ UAV อากาศยานไร้คนขับ) 4) การฝึกงานของนักศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ สนับสนุนให้ดำเนินกิจการ ซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น จะมีลักษณะยืดหยุ่น โดยจะสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการ Lift-Off ได้เข้ารับการบ่มเพาะจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของมหาวิทยาลัย ( University Business Incubation Center) ก่อน
2) Lift-Off เป็นการเข้าร่วมโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมาย“ผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs)” และ “บริษัทจัดตั้งใหม่ (Start-up Companies)” ที่มีความต้องการพัฒนาองค์กรด้วยการเพิ่มช่องทางทางการตลาดและพัฒนาธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวและมีผลประกอบการที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ SKP จะมีบทบาทในการช่วยลดอัตราความล้มเหลวของการจัดตั้งธุรกิจในระยะแรก โดยการให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากร เช่น
– ด้านสถานที่ประกอบการ เครื่องมือ และข้อมูล
– การอบรมทักษะทางธุรกิจ (ดำเนินการร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของมหาวิทยาลัย (University Business Incubation Center))
– Professional networks
– สนับสนุนช่วยเหลือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัย และการวางแผนการตลาด
– โอกาสในการได้รับสนับสนุนด้านเงินร่วมทุน
รวมทั้ง ผู้ประกอบการจะได้ทดลอง และปรับปรุงการทำธุรกิจ ตลอดจนการพัฒนาสินค้าของตนเอง จนเกิดความมั่นใจ และสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง
3) ∆V (Delta V) เป็นการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ธุรกิจเริ่มมั่นคงแล้ว และมีความต้องการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กร ขยายเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อเร่งการเติมโตของกิจการ ด้วยการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้ง SKP จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Beta-product /Joint Project) และการเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือกิจการร่วมค้า (Strategic partnerships) หรือ การเข้าร่วมลงทุนหรือถือหุ้น (Venturing) เพื่อที่จะร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้าง มูลค่าให้กับองค์กร โดยสามารถขอรับการบริการโครงสร้างพื้นฐานของ SKP ได้ เช่น
– การขอรับคำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา
– การขอใช้บริการห้องปฏิบัติการ/ ทดสอบ
– การฝึกอบรม

เครื่องมือเพื่อการพัฒนานวัตกรรม การบริการ (SKP Service) มีทั้งหมด 7 ตัวได้แก่
1.Technology-Infrastructure-based Services
2.Business/IP Services
3.Financing and Access to finance
4.People Connectivity & Networking
5.Education/Access to knowledge
6.Brand Building
7.Management of the Program (HR)

บริการด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประกอบธุรกิจ
– พื้นที่สำหรับสำนักงาน ห้องประชุม
– พื้นที่พักอาศัย สำหรับผู้ประกอบการ
– เครือข่ายอินเตอร์เน็ท โทรศัพท์ โทรสาร
– ให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เช่น การวางระบบการจราจรทาอากาศ ฯลฯ
– ห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตชิ้นงาน การจัดการและการวางแผนการผลิต และการให้บริการทดสอบและวิจัย
– ให้บริการประกอบ ทดสอบ Environment Testing (อีก 2 ปีข้างหน้า)
– ให้บริการห้องปฏิบัติการ Research Unit
– อุปกรณ์เครื่องมือ

บริการด้านที่ปรึกษาธุรกิจ/IP (ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของมหาวิทยาลัยบูรพา/เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา)
ให้คำปรึกษาการเขียนโมเดลธุรกิจ การตลาด และการขาย
– ให้คำปรึกษาด้านการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับ SMEs
– การทำธุรกิจด้วยช่องทางสมัยใหม่ (Online, e-commerce)
– การวิจัยตลาด (Marketing Research)
– อำนวยการจดอนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา อื่นๆ อาทิ เช่น เครื่องหมายการค้า เป็นต้น
– การให้บริการสืบค้น สิทธิบัตร การแปลสิทธิบัตร
– การให้คำปรึกษาในการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ
– การให้คำปรึกษาและบริการร่างสัญญาต่างๆ

บริการด้านการเงิน
– ให้คำปรึกษาด้านการจัดการวางแผนการลงทุน ผลตอบแทนทางการเงิน การวิเคราะห์ความเสี่ยง (ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของมหาวิทยาลัยบูรพา/เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา)
– เชื่อมโยงกับ Crowd Funding
– การพิจารณาร่วมลงทุนของ สทอภ.

บริการด้านเครือข่ายธุรกิจ
– การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อความร่วมมือในการส่งเสริมการทำธุรกิจเช่น การออกงานแสดงสินค้า การเข้าประกวดในเวทีต่างๆ เป็นต้น
– การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) การเข้าร่วมเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Network)
– การเข้าสู่ Global supply chain

บริการด้านการศึกษาและฝึกอบรม (ร่วมกับสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ/สทอภ. และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของมหาวิทยาลัยบูรพา/เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา)
– การเข้าร่วมฝึกอบรม/ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
– การเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงทักษะด้านการตลาด การเงิน การผลิต และการบริหารงานบุคคล
– การฝึกอบรมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

บริการด้านการสร้างแบรนด์
– การนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด (Product launch)
– การประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านสื่อต่างๆ ของ สทอภ. /SKP
– Co-branding กับบริษัทต่างชาติ

บริการด้านการบริหารจัดการ
– ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
– ให้บริการด้านจัดการบุคลากร เช่น การเสาะหานักวิจัย/วิศวกร การจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค การแลกเปลี่ยนนักวิชาการ/นักวิจัย ลูกจ้าง (นักศึกษาฝึกงาน)
– ให้บริการจัดการ Outsourcing

สิทธิประโยชน์ (Incentive) ตามนโยบายรัฐบาล

การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และ นวัตกรรม (กรณีรายจ่ายทางภาษี 3 เท่า) (กรมสรรพากร) มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

มาตรการส่งเสริมกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
เป็นการขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการของ BOI ประกอบด้วย
1) ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสัดส่วนร้อยละ 200 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับประเภทกิจการในกลุ่ม A
3) สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557

สิทธิประโยชน์ทางการเงิน เป็นการประสานงาน และดำเนินการตามขั้นตอนร่วมกับ
1) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในการลงทะเบียนผู้ประกอบการ SMEs และขอรับสิทธิประโยชน์
2) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
3) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
5) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

สิทธิพิเศษ (Privileges)
การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศ
– ยกเว้นค่าข้อมูลดาวเทียมไทยโชตที่อยู่ในคลังข้อมูล เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการ
– ยกเว้นค่าข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งอยู่ในคลังข้อมูล ของ สทอภ. ซึ่ง สทอภ. ได้ทำการตกลงกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำข้อมูลดังกล่าวใช้ในการวิจัยและพัฒนา
– ยกเว้นค่าข้อมูลเรด้าร์ชายฝั่งเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาของผู้เข้าร่วมโครงการ
– ยกเว้นค่าข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ ของ สทอภ. เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาของผู้เข้าร่วมโครงการ
** หมายเหตุ **
การได้รับสิทธิพิเศษในการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและขอบเขตที่ สทอภ. กำหนดเป็นรายกรณี

การได้รับส่วนลดหรือยกเว้นค่าบริการ
ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการนั้น SKP ได้มีมาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบ (ตามข้อกำหนดในการเข้าร่วมโครงการ) โดยให้ผู้ประกอบการได้รับส่วนลดหรือยกเว้นค่าบริการ
**หมายเหตุ**
1. ผู้ประกอบการใหม่ ได้รับยกเว้นค่าบริการพื้นที่สำหรับสำนักงาน ใน Entrepreneurial Development Zone ภายในระยะเวลา 3 ปี
2. พบที่ปรึกษาได้ไม่เกิน 24 ชม. ครั้งละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
3. ชิ้นงานทางวิศวกรรมไม่เกินโครงการละ 200,000 บาท
4. สำหรับโครงการที่ผู้ประกอบการและ สทอภ. ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการร่วมกัน