Fintech และ เทคโนโลยีสมัยใหม่: ตอบรับโอกาสพร้อมทั้งเข้าใจความเสี่ยงกับกรณีศึกษาประเทศสิงค์โปร์

0
531
image_pdfimage_printPrint

ดร.นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ, บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย
Disruptive technology หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ได้สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อเศรษกิจทั่วโลก ธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบชัดเจนทั้งแง่บวกและลบจาก disruptive technology ก็คือธุรกิจการเงินและการธนาคาร
ยิ่งเป็นโลกดิจิตอลมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยิ่งข้น ซึ่งไม่เพียงแต่ธุรกิจการเงินการธนาคารเท่านั้น แต่ธุรกิจประเภทอื่น ๆเองต่างก็ได้รับผลกระทบจาก disruptive technology ด้วยเช่นกัน การที่ธุรกิจต่าง ๆนำเทคโนโลยีมาใช้งาน มีการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายมากขึ้น ก็นำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อทั้งตัวบริษัทเองและระบบเครือข่าย ทำให้ธุรกิจต้องแบกรับความเสี่ยงที่ไม่สามารรถคาดการณ์ล่วงหน้าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

โอกาสมักมาพร้อมกับความเสี่ยง ในข้อดีของเทคโนโลยี ก็มีความเสี่ยงที่เราต้องระวัง ต้องประเมิน บริหารจัดการและป้องกันอย่างเหมาะสม ความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับ Disruptive technology สามารถแบ่งได้เป็นหลายระดับดังต่อไปนี้

ระดับความเสี่ยง 1: ผลกระทบระดับองค์กร
ต้องมีการวิเคราะห์ความซับซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้บริหารด้านความเสี่ยงหรือ CRO (Chief Risk Officer) ของสถาบันการเงินจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางกลยุทธ์ในการกำกับดูแลและการควบคุมขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการ เช่น การป้องกันการฟอกเงิน และ การต่อต้านการจัดหาเงินทุนของการก่อการร้าย, ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, และ ความเสี่ยงด้านไซเบอร์
ระดับความเสี่ยง 2: ผลกระทบระดับกลุ่มอุตสาหกรรม
ในปัจจุบันองค์กรทางการเงินมีความเสี่ยงอย่างสูงที่การบริการทางด้านการเงินแบบเดิมจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Blockchain หรือ P2P lending ตัวอย่างการปรับตัวที่หลายองค์กรกำลังเดินหน้าทำคือการ ร่วมมือกันกับบริษัท Fintech เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด
ระดับความเสี่ยง 3: ผลกระทบระดับบุคคลและสังคม
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับการปฏิบัติงานขององค์กร งานพื้นฐานที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมีโอกาสสูงที่จะโดนทดแทนโดยระบบอัตโนมัติ ในขณะที่สายงานที่มีความซับซ้อนและต้องการการวิเคราะห์อาจได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น นี่เป็นสัญญานเตือนให้องค์กรเตรียมพร้อมบุคลากรกับการเปลี่ยนแปลงของความรู้ความชำนาญสำหรับการทำงานในอนาคต

กรณีศึกษา: การรับมือกับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศสิงค์โปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่โดดเด่นในด้านการขับเคลื่อนและส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกส่วนของสังคมมาเป็นเวลานาน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภูมิภาค สิงค์โปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมพร้อมๆไปกับการควบคุมและระวัง ที่จะเอื้อการพัฒนาเติบโตของนวัตกรรมที่ยั่งยืน

โดยสิงค์โปร์วางนโยบายและแนวทางปฏิบัติไว้เป็น 3 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้

1) วิสัยทัศน์: การลงทุนระยะยาวในอนาคต
ภายใต้แผนงาน “Smart Nation Transformation” รัฐบาลสิงคโปร์ได้ลงทุนจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Industry Transformation Programme) และกองทุนงานวิจัย (National Research & National Productivity Funds) เพื่อให้มั่นใจว่า ภาคธุรกิจและวิชาการได้รับแรงจูงใจ และส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยเพื่อพัฒนาให้สิงคโปร์เป็นผู้ทำทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

2) การศึกษา: การบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้เป็นผู้นำในอนาคต
รัฐบาลสิงคโปร์ลงทุนกว่า 145 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ผ่านทางสภาเศรษฐกิจในอนาคต (The Future Economy Council (FEC)) เพื่อสนับสนุนและเพิ่มทักษะของบุคลากรตนเองโดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น TechSkills Accelerator (TeSA) และ SkillsFuture for Digital Workplace เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพลเมืองของประเทศมีความพร้อมที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

3) นวัตกรรม: งานวิจัยที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม
เพื่อลดช่องว่างระหว่างงานวิจัยทางวิชาการ(ภาคทฤษฎี) และอุตสาหกรรม(ภาคปฏิบัติ) Agency for Science and Technology Research (A*STAR) มีโครงการต่าง ๆ เช่น Tech Depot ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยีและดิจิตอลโซลูชั่นสำหรับองค์กรในท้องถิ่น และ Tech Access ซึ่งช่วยให้ องค์กรขนาดกลาง และ ขนาดย่อม (SME) สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความชำนาญได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังให้ความสำคัญไปที่โครงการหุ่นยนต์เพื่อกระตุ้นการใช้หุ่นยนต์ให้แพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้าง

สำหรับอุตสาหกรรมทางการเงินแล้ว นี่อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมสำหรับองค์กรที่จะเพิ่มความสามารถและบริการแบบใหม่ รวมถึงวิธีการปรับตัวต่อตลาดและเศรษฐกิจที่พัฒนาตามเทคโนโลยี โดยการส่งเสริม ความโปร่งใส ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างองค์กร การบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวมและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม

ในวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2018 สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Singapore FinTech Festival 2018 ซึ่งเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ FinTech ทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงงานที่น่าตื่นเต้น เช่น FinTech Conference & Exhibition, Global FinTech Hackcelerator Demo Day, AI in Finance Summit และอื่น ๆ

Deloitte ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของงานนี้ ใคร่ขอเรียนเชิญบริษัท FinTech และสถาบันการเงินรวมไปถึงสมาคมการเงินที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานระดับโลกในครั้งนี้ ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ที่ https://fintechfestival.sg/ และดูข้อมูลเกี่ยวกับ Deloitte Insight ของงานปีนี้และในอดีตที่: https://www2.deloitte.com/sg/en/pages/financial-services/topics/singapore-fintech-festival.html

หลังงาน เราจะมาแชร์ว่ามีข้อมูลที่น่าตื่นเต้นน่าสนใจ รวมถึงนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นภายใน Fintech Festival รอติดตามนะครับ

แหล่งข้อมูล: Deloitte FSIReview Issue 18, August 2018