East Ventures ผู้บุกเบิกการร่วมลงทุนในบริษัทระยะเริ่มต้นในอินโดนีเซีย เผยแพร่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลประจำปี 2563 หรือ East Ventures – Digital Competitiveness Index (EV-DCI) 2020 ซึ่งเป็นรายงานการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน 34 จังหวัด และ 24 เมืองใหญ่ทั่วประเทศอินโดนีเซีย
รายงานดังกล่าวสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในอินโดนีเซีย หนึ่งในเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยความไม่เท่าเทียมกันของระบบนิเวศดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในเขตเมืองเมื่อเทียบกับเขตอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาทางดิจิทัลของอินโดนีเซียเพิ่งเริ่มต้น
ดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล East Ventures Digital Competitiveness Index (EV-DCI) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 9 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พร้อมใช้บริการดิจิทัล เนื่องจากส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟนใช้และเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม คะแนน EV-DCI ในส่วนของทรัพยากรมนุษย์และความเป็นผู้ประกอบการยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหมายความว่ามีชาวอินโดนีเซียกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่นำเทคโนโลยีไปใช้ทำธุรกิจหรือเพิ่มผลิตภาพ
ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลยังเห็นได้ชัดเจนจากการที่บริษัทอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอินโดนีเซีย (6 แห่งเป็นบริษัทยูนิคอร์น) คิดเป็นสัดส่วนเพียงน้อยนิดของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี การเพิ่มและขยายบริการจะช่วยให้บริษัทเหล่านี้คว้าโอกาสมหาศาลในการขยายธุรกิจแบบเท่าทวีคูณ
ข้อมูลสำคัญในรายงานประกอบด้วย
เกาะชวาคือศูนย์กลาง
จังหวัดต่าง ๆ บนเกาะชวาทำคะแนน EV-DCI ได้สูงสุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนถึงช่องว่างระหว่างเกาะชวากับภูมิภาคอื่น ๆ ในอินโดนีเซีย ยิ่งไปกว่านั้น คะแนน EV-DCI ของเมืองต่าง ๆ ยังตอกย้ำถึงการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน เห็นได้ชัดจากช่องว่างขนาดมหึมาระหว่างจาการ์ตา เมืองที่ทำคะแนนสูงสุด กับบันดุง เมืองที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับสอง
การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน
อุตสาหกรรมการเงินเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการปฏิวัติดิจิทัลในอินโดนีเซีย โดยในพื้นที่ที่คะแนน EV-DCI อยู่ในระดับสูง พบว่าธนาคารต่าง ๆ ปิดสาขาในอัตราที่รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ คะแนน EV-DCI ยังมีความสัมพันธ์กับอัตราการปล่อยสินเชื่อของบริษัทฟินเทคและจำนวนตัวแทนธนาคารแบบไม่มีสาขาธนาคาร
การขาดแคลนบุคลากรมากความสามารถ
การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้ตลาดบุคลากรมากความสามารถมีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยพื้นที่ที่มีความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลสูงมีแนวโน้มว่าจะดึงดูดบุคลากรมากความสามารถและแรงงานทักษะสูงมากกว่า
งานหลาย ๆ ตำแหน่ง เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ ผู้ควบคุมเครื่องจักร และกรรมกร มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปฏิวัติดิจิทัล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไอซีที การเงิน และการขนส่ง ซึ่งจำนวนบุคลากรในส่วนนี้ลดลงอย่างมาก
บาหลีใหม่
พื้นที่ที่เตรียมก้าวขึ้นเป็น “บาหลีใหม่” เช่น ลาบวนบาโจ ทะเลสาบโตบา หมู่เกาะราชาอัมพัต วัดโบโรบูดูร์ ภูเขาไฟโบรโม และเกาะโมโรไต ต้องมีการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล โดยเฉพาะในส่วนของการเข้าถึงข้อมูล ความสะดวกสบาย และความน่าดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
Willson Cuaca ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ East Ventures กล่าวว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลมอบโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมให้แก่ชาวอินโดนีเซียทุกคน อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียมักได้รับการประเมินเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างจาการ์ตา ขณะที่อีกหลายเมืองยังไม่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลจะทำให้อินโดนีเซียสามารถเปลี่ยนโบนัสประชากรเป็นการปันผลทางประชากร และเปลี่ยนความเป็นไปได้ให้กลายเป็นความจริง”
สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ east.vc/DCI
เกี่ยวกับ East Ventures
East Ventures คือนักลงทุนในบริษัทระยะเริ่มต้นรายแรกในอินโดนีเซีย และเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจการร่วมลงทุนระดับโลก โดยมีอัตราผลตอบแทนภายในอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2552 และให้การสนับสนุนบริษัทดิจิทัลกว่า 170 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 130 แห่งจากทั้งหมดก่อตั้งและดำเนินงานในอินโดนีเซีย
East Ventures ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับบรรดาผู้ประกอบการเพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัลของอินโดนีเซียตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทมองเห็นโอกาสก่อนใคร จึงเป็นผู้ร่วมลงทุนรายแรกที่สนับสนุนบริษัทยูนิคอร์นสองแห่งในอินโดนีเซีย ได้แก่ Tokopedia และ Traveloka หลังจากนั้นบริษัทได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานอีคอมเมิร์ซ เช่น Waresix (โลจิสติกส์), Xendit (การชำระเงิน), Kudo (ธุรกิจออฟไลน์สู่ออนไลน์), Shopback (อีคอมเมิร์ซ) รวมถึงการค้าแนวดิ่ง เช่น Sociolla (ความงาม) ไปจนถึงสื่อ เช่น IDN Media (เน้นกลุ่มมิลเลนเนียล และ gen-z), Tech in Asia (เน้นกลุ่มเทคโนโลยี) และ Katadata (เน้นกลุ่มธุรกิจและเศรษฐกิจ) ทั้งยังให้การสนับสนุน SME เช่น Mekari (บัญชี ภาษี และเงินเดือน), Moka (ระบบขายสินค้าหน้าร้าน), CoHive (โคเวิร์กกิ้งสเปซ) ตลอดจนการค้าปลีกรูปแบบใหม่ เช่น Warung Pintar (สินค้าอุปโภคบริโภค) และ Fore Coffee (ร้านกาแฟตามสั่ง) นอกจากนั้นยังสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เช่น Advotics (วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน) และ Nodeflux (คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และ AI)
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในบริษัทระยะเริ่มต้นและกองทุนที่เติบโตเต็มที่ ขณะเดียวกัน บริษัทมีส่วนในการขายกิจการกว่า 20 ครั้ง เช่น การขายกิจการ Kudo ให้ Grab, การขายกิจการ Loket ให้ Gojek, การขายกิจการ Bridestory ให้ Tokopedia รวมถึงการขายกิจการอีกหลายครั้งทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค นอกจากนี้ บริษัทยังดึงดูดเงินทุนต่อเนื่องรวม 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลอินโดนีเซียในปัจจุบัน
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200204/2710733-1