Dubai ต้นแบบเมืองอัจฉริยะระดับโลก เร่งสร้าง Smart Cities World ด้านประเทศไทยตั้งเป้า5 ปี มุ่งสร้างสมาร์ทซิตี้

0
409
image_pdfimage_printPrint

Dubai ต้นแบบเมืองอัจฉริยะระดับโลก เร่งสร้าง Smart Cities World
ด้านประเทศไทยตั้งเป้า5 ปี มุ่งสร้างสมาร์ทซิตี้

ใครจะเชื่อบ้างว่าจากดินแดนทะเลทราย ไม่ใช่ประเทศ แต่เป็นแค่เมืองใน UAE หรือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( United Arab Emirate‎) เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมอ่าวเปอร์เซียประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์
ล่าสุด Dubai เร่งสร้างเมือง Smart Cities World มีระบบการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยี ทั้งการไม่ใช้กระดาษ การสร้างระบบการจราจรไร้คนขับ และการพัฒนาระบบ 5G ที่ใช้งานได้จริง

โดยทางรัฐบาลท้องถิ่น Dubai ภายใต้ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้จัดตั้งหน่วยงาน Smart Dubai มีหน้าที่ในการเร่งพัฒนาระบบเมืองให้มีความสามารถสูงที่สุด มีระบบโครงข่ายด้านเทคโนโลยีให้ครบทุกด้าน โดยมีเป้าหมายให้รัฐ Dubai เป็นเมือง Smart Cities World เชื่อมโยงโครงข่ายเทคโนโลยีระดับนานาชาติ โดยมีบุคลากรมากกว่า 140 คน ทางภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งระบบการสื่อสาร 4G 5G , ระบบ Blockchain, ระบบ Internet of Things (IoT), ระบบ Artificial Intelligence (AI) ,ผู้เชี่ยวชาญระบบ Big Data, นักบริหารจัดการ ให้เมืองมีเป็นระบบไร้กระดาษ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเทคโนโลยีด้านอื่นๆ

จากข้อมูลล่าสุดของ Statista ระบุ โครงการ Smart City ทั่วโลก มีมูลค่าเม็ดเงินในปี 2015 ถึง 14.85 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 34.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2020
ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ Internet-of-Things ( IoT ) ของเมืองดูไบ เช่น ระบบไฟฟ้า, กล้องวงจรปิด , ระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ ของเมืองจะมีมูลค่า 20.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2020
นอกจากนี้ยังไม่นับกลุ่ม Smart Home , กลุ่มรถยนต์หรือกลุ่ม สาธารณูปโภค ซึ่งทาง Dubai ต้องเตรียมความพร้อมเนื่องจากเป็นเมืองชั้นนำของโลก ด้านการค้าการท่องเที่ยว และ นวัตกรรมการลงทุน ทางโครงการจึงต้องเร่งการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตทั้งระบบ 5G โดยจะเปิดประมูลคลื่นในเดือน กันยายน 2018 เพื่อให้รองรับอินเทอร์เน็ตรองรับความเร็วระดับ 4K
นอกจากนี้ ดูไบยังส่งเสริมให้มี WIFI เพื่อให้บริการทั่วเมืองให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
ดร. Aisha Bint Butti Bin Bishr ผู้อำนวยการหน่วยงาน Smart Dubai ระบุ การสร้างเมือง Smart Dubai เพื่อรองรับเครือข่ายเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ต้องทำให้เมืองสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองเทคโนโลยีระหว่างกัน แล้วนำความคิดเห็นเหล่านี้มาพัฒนาระบบเมืองต่อไป ดังนั้น กลยุทธ์การเชิญชวนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากทั่วโลก มาร่วมพัฒนาเมืองถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเมือง
นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา เราได้ขยายความร่วมมือกับผู้นำ SmartCities หลากหลายเมืองทั่วโลก ซึ่งจะมีการจัดประชุม SmartCities เป็นครั้งแรกภายในปี 2562 ที่ Dubai
อีกทั้งยังมีการร่วมมือระหว่างกันผ่านระบบ Network online เพื่อประสานความร่วมมือได้อย่างทันที นอกจากนี้ยังมีการเชิญชวนภาคเอกชนหลายแห่งผ่านโครงการ Dubai Data Initiative ในการจัดประชุมทางเศรษฐกิจและวิชาการเชิงลึกโดยเฉพาะทางด้านกฎหมายเพื่อให้นวัตกรรมที่คิดค้นสามารถทำการตลาดและการขายได้ในอนาคต
ที่ผ่านมาทางโครงการได้ร่วมมือกับเป็นพันธมิตรกับ Dubai Silicon Oasis Authority, du, Visa, Smart Dubai, Dubai Chamber, RIT University และ Orange Business Services และอื่นๆ
– Dubai กับความปลอดภัยสูงสุด
Dubai ได้พัฒนา Smart City และ Safe City Solutions ให้เป็นเขตปลอดภาษีของ Business Park โดยมีการทดสอบระบบกับทุกภาคส่วนเศรษฐกิจผ่านโครงข่ายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบ end-to-end และมีการทดสอบโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตทุกชนิดทั้ง บนสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) เพื่อปรับใช้อย่างเหมาะสมกับ Smart Cities ข้อตกลงดังกล่าวร่วมถึงโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของเมืองเพื่อให้บริการที่ดีขึ้นแก่ผู้พักอาศัยและธุรกิจ
– Dubai เริ่มพัฒนาเมืองไร้กระดาษ
ซึ่งการพัฒนาเมืองด้านนี้ มุ่งเน้นให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันโอนย้ายข้อมูลการทำธุรกรรม เพื่อประหยัดเวลาในการให้บริการให้มากที่สุด
โดยเริ่มติดตั้งระบบให้แก่ 6 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานตำรวจ, หน่วยงานการขนส่งและถนน, หน่วยงานบริหารจัดการน้ำ, หน่วยงานที่ดิน และ หน่วยงานการท่องเที่ยว
โดยภาครัฐงดออกเอกสารทางกระดาษ แต่จะเป็นการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างกันอย่างทันที เช่น หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานธนาคาร แบบ peer-to-peer โดยจะมีการออกรหัสผ่านแบบลายเซ็นที่มีความปลอดภัยเฉพาะด้าน ในรูปแบบ blockchain โดยดำเนินการเฉพาะแพลตฟอร์มเฉพาะที่กำหนดเท่านั้น
ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย และข้อกำหนดของศาลที่ให้ได้รับรองความถูกต้อง โดยมีระยะเวลาภายในปี 2564 ต้องทำให้เมืองแห่งนี้เป็นสังคมปลอดกระดาษ
– การสร้างระบบทรัพยากรบุคคลและสรรหาบุคลากรรูปแบบใหม่
ทาง Smart Dubai Gov (SDG) เตรียมสร้างระบบทรัพยากรบุคคลและสรรหาบุคลากรรูปแบบใหม่ ผ่านเทคโนโลยี AI เพื่อให้ระบบจดจำอัตลักษณ์รายบุคคล โดยมีความสามารถการบันทึกการเข้าออกงาน, การบันทึกการวันลาหยุด เป็นต้น
– สร้างเครือข่ายรองรับอุปกรณ์ระบบ IoT
ทางหน่วงงานได้สร้างได้สร้างโครงการ Digital Wealth Initiative และ Internet Internet of Things ของ Dubai เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ IoT ที่ดีที่สุด เพื่อแก้ไขความซับซ้อนของระบบการขนส่งและการจัดส่งสินค้า มีการติดตั้งระบบแท็กอัจฉริยะซึ่งจะตรวจสอบความถูกต้องของบริการแบบ door-to-door
– สถานีตำรวจแห่งอนาคต
ทางโครงการเปิดตัวหน่วยรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ นั้นคือ หุ่นยนต์ตำรวจที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระโดยใช้พลังงานไฟฟ้า 100% โดยสามารถทำงานได้ 24 ชม. หากที่สถานีตำรวจไม่มีตำรวจที่เป็นมนุษย์ ผู้ที่เข้ามาติดต่อสมารถติดต่อทั้งการจ่ายค่าปรับ, รับเรื่องร้องเรียน, รับแจ้งของหาย ซึ่งระบบนี้จะเข้ามาทำหน้าที่แทนตำรวจที่เป็นมนุษย์ถึง 25% และจะเป็นกองกำลังพิเศษของรัฐบาลท้องถิ่น Dubai ภายปี 2573

ประเทศไทยตั้งเป้าหมาย 5 ปี ทำสมาร์ทซิตี้เริ่มต้นปี 61
ต้นปี 2561 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) ว่าได้เริ่มดำเนินการแล้ว ตามที่กระทรวงดีอี โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้เสนอโครงการสมาร์ทซิตี้ ระยะ 5 ปี ในที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปีแรก ตั้งเป้าหมายสมาร์ทซิตี้ในพื้นที่ตัวแทนภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ 77 จังหวัดภายใน 5 ปี โดยหน่วยงานของดีอีที่รับผิดชอบมีหลายหน่วยงาน อาทิ ดีป้า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นต้น ทั้งนี้ แนวคิดสร้างสมาร์ทซิตี้ ภาครัฐบาลยังมีแนวทางให้หลายหน่วยงานในแขนงต่างๆเข้ามาร่วมดำเนินการและพัฒนาต่อยอด ที่ผ่านมาบ้านเราจึงเกิดโครงการตามแนวคิดเมืองอัจฉริยะหลายโครงการ อาทิ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ และ Digital Park Thailand ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ร่วมพัฒนาโครงการดังกล่าว คือ CAT Telecom ที่เป็นเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา Smart Concept ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดย CAT ได้วางระบบเครือข่าย LoRa สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย IOT ในภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ และ การวางระบบการเชื่อมโยงเพื่อการสื่อสารข้อมูล และศูนย์ข้อมูล Data Center ในโครงการ Digital Park Thailand
ซึ่งทั้งหมดนี้คนไทยกำลังรอพบกับเมืองอัจฉริยะที่จะเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม สัมผัสได้ ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อนานาประเทศเปลี่ยนไป