Ctrip Corporate Travel นำเสนอกลยุทธ์การจัดการการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในงาน Asia-Pacific Corporate Travel Summit

0
335
image_pdfimage_printPrint

การประชุมสุดยอด Asia-Pacific Corporate Travel Summit ประจำปี 2560 ถือเป็นงานประจำปีที่มีความสำคัญมากที่สุดงานหนึ่งในอุตสาหกรรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ งานนี้จัดขึ้นโดยบริษัท Ctrip Corporate Travel ผู้นำด้านการจัดการการท่องเที่ยวของจีน ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ในหัวข้อ “เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจด้วยกลยุทธ์ TM+” โดยบรรดาบริษัทชั้นนำในธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงสายการบิน โรงแรม บริษัทควบคุมและจัดการการใช้จ่ายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ รวมถึงผู้ให้บริการไมซ์ (การประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ) ต่างมาร่วมอภิปรายเชิงลึกในประเด็นต่างๆ โดยเน้นไปที่การวิเคราะห์แนวโน้มของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการยกระดับการให้บริการ

http://photos.prnasia.com/prnvar/20170227/0861701636

เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจด้วยกลยุทธ์ TM+

ข้อมูลตลาดปี 2559 จาก Ctrip Corporate Travel และ Global Business Travel Association (GBTA) ซึ่งเป็นองค์กรการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก เผยให้เห็นว่า การใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจของจีนพุ่งขึ้นแตะ 2.90 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 เป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น

ในขณะที่ตลาดกำลังขยายใหญ่ขึ้น ความจำเป็นในการยกระดับอุตสาหกรรมก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว คุณฟาง จี้ฉิน รองประธานของ Ctrip และซีอีโอของ Ctrip Corporate Travel กล่าวในระหว่างการเปิดการประชุมว่า “นอกจากจะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ลูกค้าองค์กรยังต้องการยกระดับประสิทธิภาพการจัดการ ด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร ความต้องการของลูกค้าองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป และความที่อุตสาหกรรมจำเป็นต้องเพิ่มมูลค่าของตนเอง เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ Ctrip Corporate Travel จึงเปิดตัวกลยุทธ์ TM+ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้”

ความครอบคลุม การบริการตนเอง และความฉลาด ถือเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ TM+ โดยในด้านความครอบคลุมนั้น ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอจะต้องครอบคลุมหลายส่วนและรอบด้าน โดยในแนวนอนจะต้องครอบคลุมตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบิน การจองห้องพักในโรงแรม ไมซ์ และอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดบริการครบวงจร ส่วนในแนวดิ่งต้องครอบคลุมการจองและการชำระเงิน ไปจนถึงจัดการแบบฟร้อนท์เอนด์ ตลอดจนการจัดการแบ็คเอนด์ที่ครอบคลุมการชำระเงินคืนและการวิเคราะห์ข้อมูล ก่อเกิดเป็นระบบการจัดการและควบคุมที่ครบวงจร ส่วนในด้านของการบริการตนเองนั้น TM+ ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมจากการจองตั๋วและการชำระเงินแบบบริการตนเอง ไปสู่กระบวนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมถึงการดูแลลูกค้าใหม่และการรักษาลูกค้าเก่า การตรวจสอบบัญชีรายจ่าย การเปลี่ยนแปลงประวัติของผู้เดินทาง รวมถึงการส่งอินวอยซ์และการยืนยันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของความฉลาดนั้น จะมีการให้คำแนะนำอย่างชาญฉลาดและคุ้มราคาตามความต้องการของผู้เดินทางเป็นหลัก โดยดูจากประวัติการเดินทาง อีกทั้งยังมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้จ่ายรายบุคคลกับการใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร รวมถึงเทียบกับการใช้จ่ายภายในอุตสาหกรรมโดยอาศัยข้อมูลบิ๊กดาต้า

กระบวนการครบวงจร: มาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

ลูกค้าต่างต้องการยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ Ctrip Corporate Travel จึงเปิดตัวแอปพลิเคชันเวอร์ชั่นอัปเกรดในการประชุมครั้งนี้ โดยมีการอัปเกรดฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น การอนุญาตและการจอง การของบเพิ่มสำหรับการเปลี่ยนเที่ยวบิน และการชำระเงินคืนภายหลังการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจแบบครบวงจรในจุดเดียว การอัปเกรดแอปครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการลดต้นทุนการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการท่องเที่ยว

Ctrip Corporate Travel จะเดินหน้าเปิดเวทีให้ผู้ที่ทำธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจได้มาพบปะพูดคุยกัน พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือกับบรรดาผู้ให้บริการการท่องเที่ยว ระบบอัตโนมัติในสำนักงาน และซอฟต์แวร์ชำระเงินคืนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ตลอดจนแพลตฟอร์มการจัดซื้อขององค์กร รวมถึงแพลตฟอร์มทางการเงินและสังคม ทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นความพยายามในการแสวงหาและพัฒนาองค์ประกอบของกลยุทธ์ TM+ ให้สร้างสรรค์มากขึ้น และเพื่อการยกระดับการให้บริการในอุตสาหกรรมการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

รูปภาพ: http://photos.prnasia.com/prnh/20170227/0861701636