CAT เดินหน้า Smart City ร่วมงาน Asia IoT Business Platform (AIBP

0
465
image_pdfimage_printPrint

D4A9669

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมสนับสนุนจัดงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร โดยภายในงาน นอกจากการจัดแสดงผลงานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ IoT และ M2M จากองค์กรต่างๆ แล้ว ยังมีส่วนของการประชุมสัมมนาที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ภาพรวมและสถานการณ์ปัจจุบัน ของ M2M และ IoT ในประเทศไทย, ยุทธศาสตร์และนโยบายของภาครัฐ รวมไปถึงการอภิปรายในห้วข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ IoT ทั้งในด้านอุตสาหกรรม ,การขนส่ง ,ธุรกิจการเงินการลงทุน และสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น
ดร.ยุทธศาสตร์ นิธิไพจิตร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูล บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายในงานว่า “ปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เข้าถึงอินเทอร์เนตซึ่งมีอยู่ทุกที่ ผ่านสมาร์ทดีไวซ์เชื่อมต่อด้วยซิมโมบายล์ ดังนั้น ถ้ากล่าวถึงเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี สำหรับคนไทยแล้ว การผลักดันประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจึงจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป รัฐบาลไทย ก็ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี โดยมีแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 20 ปี มารองรับในเชิงนโยบาย ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าว คือการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ให้เกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดเชียงใหม่เป็นโครงการนำร่อง”

สำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของเมืองได้รวดเร็ว และสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน ศูนย์ข้อมูล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT มาช่วยในเรื่องของระบบจัดการการจราจร ไปจนถึงระบบจัดการน้ำ การจัดการขยะ ระบบตรวจจับ ตลอดจนการเฝ้าระวังความปลอดภัย โดย CAT จะเข้ามาสนับสนุนในส่วนของโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Digital Infrastructure) รวมถึงสนับสนุนโครงสร้างระบบการเชื่อมต่อ (Connectivity)
“หากไม่ใช่การพัฒนาบนโครงข่ายที่ดี การใช้งานอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ อาจมีความติดขัด ดังนั้นบทบาท CAT คือ สร้างโครงข่ายพื้นฐานที่มั่นคง โดยมีการพัฒนาทั้งในส่วน โครงข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศ โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ,โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเข้าถึงผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรามองว่าการคอนเนคทิวิตี้ที่ดีต้องเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ CAT จะพยายามเป็นแกนกลางสนับสนุนความร่วมมือทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี IoT และในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของชาติ CAT จึงมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันโครงการ Smart City ให้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบพร้อมสนับสนุนและเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ความเป็นเลิศในด้าน ICT สร้างโอกาสการเรียนรู้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Machine to Machine (M2M) โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์/เครื่องมือผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IoT) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”