Campaign ” ติดอาวุธความรู้ติดปีกเอสเอ็มอีไทย “จ.ยโสธร

0
377
image_pdfimage_printPrint

วันที่ 13 มิถุนายน 2560 ฝ่ายมาตรการส่งเสริมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) ร่วมกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( SME Development Bank) และพันธมิตร จัดงานเสวนาแคมเปญ ” ติดอาวุธความรู้ติดปีกเอสเอ็มอีไทย” เป้าหมายเพื่อช่วยให้ความรู้ด้านซอฟท์แวร์ดิจิทัล การบริหารโลจิสติก สร้างกิจการขนาดย่อมและผู้ประกอบการยุคดิจิทัลให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายประชารัฐ ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยงบประมาณกว่าสองหมื่นล้านบาท โดยมีนางสาวเพ็ญศรี เจริญสุทธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดงานและให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นณ ห้องทับทิม AB โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ จ.ยโสธร
DEPA ดำเนินงานตามนโยบายยกระดับผู้ประกอบการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดงานโร้ดโชว์และการเสวนาเพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอีทั้งรายเก่าและรายใหม่ทั่วประเทศสามารถดำเนินกิจการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับความรู้ความสามารถให้ทัดเทียมอารยประเทศและเป็นคู่ค้ากับนานาชาติได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังผนึกกำลังด้านการจัดสรรเงินทุนร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรมอุตสาหกรรม และบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อม (บยส) ในการให้กู้ในกองทุนของบยส.และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย ผู้มีสิทธิขอกู้สินเชื่อพิเศษนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการทั่วไป คือ ผู้ที่ประกอบกิจการครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การค้า การบริการ รับจ้าง ฯลฯ ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) ทั้งในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และผู้ประกอบการรายย่อย คือ ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการธุรกิจรายย่อย โดยกิจการมีขนาดเล็ก ครอบคลุมการค้าขาย ผลิต หรือธุรกิจบริการรับจ้าง อาทิ ร้านค้า คลีนิค ร้านแว่นตาโรงแรม โฮสเทล พ่อค้า แม่ค้า ตามตลาดย่านการค้าต่างๆ หรือบริการรับจ้าง ที่มีกิจการเป็นหลักแหล่ง โดยมีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 5 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) และผู้ประกอบการ Start-up ที่มีนวัตกรรม คือ ผู้ประกอบการ Start-up เป็นธุรกิจใหม่ที่ดำเนินกิจการไม่เกิน 3 ปี โดยพิจารณาจากการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือการจดทะเบียนการค้า หรือเอกสารทางราชการอื่นๆ โดยเป็นผู้ประกอบการที่ต้องผ่านการฝึกอบรม หรืออยู่ระหว่างการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การตลาด การบัญชี และการผลิต จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ บสย. เห็นชอบ ขณะที่ผู้ประกอบการนวัตกรรม เป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรม หรือมีการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความแตกต่างจากเดิม เช่น การปรับปรุงพัฒนาสินค้า บริการ หรือกระบวนการ โดยได้รับการรับรองการมีนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีจากธนาคาร หรือหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เป็นต้น โดยมีการเริ่มดำเนินนโยบายมาแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 และมีผู้ประกอบการสนใจยื่นความจำนงมาแล้วหลายราย ได้รับการอนุมัติไปแล้วกว่าพันล้านบาท
ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาขอคำปรึกษาทั้งทางด้านข้อมูลความรู้การใช้ซอฟท์แวร์ดิจิทัลเพื่อธุรกิจ แผนการดำเนินงานที่คาดว่าสามารถทำได้และงบประมาณที่ต้องการขอรับเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โทรศัพท์ 0 2141 7158