ASEAN-China Smart Ocean Center จัดการประกวดภาพยนตร์ Learning about Ocean สำหรับนักศึกษาจีนและอาเซียน

0
1403
image_pdfimage_printPrint

“ฉันจะไม่มีวันลืมช่วงเวลาที่ได้ก้าวเท้าเหยียบมหาวิทยาลัยเทียนจิน ช่วงเวลาของฉันในมหาวิทยาลัยเทียนจินแห่งนี้นับเป็นบทสำคัญในชีวิต ซึ่งฉันได้กอบโกยความรู้และมิตรภาพดี ๆ แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 แต่เราก็ได้เข้าร่วมการประกวดภาพยนตร์ China-ASEAN ‘Learning about Ocean’ Student Film Competition ทางออนไลน์ เราทั้งสองได้รับประสบการณ์จากการประกวดนี้อย่างมาก และจะเก็บประสบการณ์นี้ไว้ในความทรงจำตลอดไป” Annisa และ Gustiana จากสถาบันเทคโนโลยีสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวด้วยความหลงใหล

สิ่งที่ทั้งสองพูดนั้นตรงกับผู้เข้าร่วมการประกวดนี้ ซึ่งศูนย์ ASEAN-China Smart Ocean Center (ACSOC) ได้จัดขึ้นในหัวข้อ “Learning about Ocean” หรือ “เรียนรู้เกี่ยวกับมหาสมุทร” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากจีนและอาเซียน ทางผู้จัดได้ให้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทรรวมกัน 10 ข้อ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเลือก 1 ข้อเป็นหัวข้อหลักในผลงานวิดีโอของตัวเอง การแข่งขันดังกล่าวมีขึ้นเป็นเวลา 4 เดือน มีนักศึกษาเข้าร่วมประกวดกว่าร้อยรายจากมหาวิทยาลัย 23 แห่งใน 5 ประเทศ และนับจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2563 การประกวดนี้มีผู้ส่งผลงานถึง 69 รายการ นอกจากนี้ ทางผู้สนับสนุนการประกวดยังได้เชิญศาสตราจารย์ชื่อดังมาร่วมเป็นกรรมการตัดสินด้วย ไม่ว่าจะเป็นศาสตราจารย์ Yuen Kum Fai จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง และศาสตราจารย์ Xiaoqi Zeng จากมหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งประเทศจีน รวมถึงกรรมการผู้ทรงเกียรติรายอื่น ๆ

“วิทยาศาสตร์แบบชาวบ้านเป็นกลวิธีสำคัญในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมหาสมุทร การประกวดภาพยนตร์นักศึกษาครั้งนี้ไม่ได้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ความรู้ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มระดับนานาชาติสำหรับนักศึกษาจีนและอาเซียนในการสื่อสารและเรียนรู้ระหว่างกันด้วย” Lam Wei Haur สมาชิกสถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยีอาเซียน กล่าว

การประกวดภาพยนตร์นี้สะท้อนให้เห็นมิตรภาพและความร่วมมือร่วมใจระหว่างนักศึกษาจีนและอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ได้มีการริเริ่มหลักสูตร China-ASEAN Smart Ocean International Student Innovation Course Program ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทียนจิน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษา 27 รายจากอินโดนีเซีย ไทย และกัมพูชา

ในหลักสูตรนี้ มหาวิทยาลัยเทียนจินได้จัดกิจกรรมเยี่ยมเยือนและพบปะสังสรรค์มากมายสำหรับนักศึกษานานาชาติ โดยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ทางมหาวิทยาลัยเทียนจินได้จัดปาร์ตี้ต้อนรับผู้เข้าร่วมหลักสูตรนี้ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล โดยนักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมร้องเพลงพื้นบ้านของจีนอย่าง Jasmine ขณะที่นักศึกษาจากอินโดนีเซียได้ทำการแสดงเพลง Leaving on a Jet Plane พร้อมดีดกีตาร์

หลักสูตรนี้ดำเนินมาได้ 3 ปีแล้ว และนับจนถึงวันนี้ก็ได้เปิดคอร์สให้ความรู้เกี่ยวกับทะเลและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้นักศึกษาจากประเทศแถบอาเซียนมาแล้วกว่า 70 คน โดยคุณ Thanirin นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “วันแรกที่เดินทางถึงจีนก็รู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้าน การได้มีโอกาสร่วมหลักสูตรอันน่าตื่นเต้นนี้เป็นเรื่องน่ายินดีมาก เพราะไม่ได้ทำให้รู้ลึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังได้สัมผัสความงดงามของจีนด้วย”

ศูนย์ ACSOC ยังได้พยายามสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมกีฬา และการฝึกอบรมบุคลากรมากความสามารถด้วย โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 นักกีฬากว่า 100 รายจากมหาวิทยาลัยจีนและต่างประเทศ 7 แห่ง ได้ร่วมการแข่งขัน Rowing Dynamometer Competition ในศึก China-ASEAN Universities Rowing Race ซึ่งในการแข่ง Time Trial รุ่น 500 เมตรหญิง คุณ Supawadee Roopmoh จากมหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลชนะเลิศโดยทำเวลาได้ 1 นาที 44.8 วินาที โดยในระหว่างที่สัมผัสกับวัฒนธรรมการแข่งเรือพายและลงแข่งกีฬาอย่างดุเดือดนั้น นักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ก็ได้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน จนก่อให้เกิดสายสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างกัน

ศูนย์ ACSOC ยึดมั่นในการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่หันมาทำงานในทะเลมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการพูดคุยกันระหว่างจีนกับชาติอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 22 กันยายน หลักสูตร ASEAN-China Smart Ocean Practical Program ได้จัดพิธีเปิดขึ้นที่มณฑลส่านซี หลักสูตรดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาจากพื้นที่ห่างจากชายฝั่งที่ยังไม่เจริญเต็มที่ ได้มีโอกาสฝึกอบรมวิชาชีพทางทะเล ฝึกให้พวกเขาเป็นคนเดินเรือที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และกระตุ้นความก้าวหน้าในความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างอาเซียนกับจีน

Du Fuqiang ได้มอบธงผ้าไหมให้กับมหาวิทยาลัยเทียนจิน เพื่อแสดงความขอบคุณในนามของเพื่อนร่วมชั้นทุกคน โดยกล่าวว่า “หลักสูตรนี้ทำให้ผมมีโอกาสในการเป็นลูกเรือและได้เห็นโลกในมุมมองที่แตกต่างจากเดิม งานนี้ยังจะช่วยยกระดับชีวิตของครอบครัวด้วย”

แผนการฝึกอบรมตามหลักสูตรระบุว่า ผู้ที่ทำผลงานได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร จะได้รับเลือกจากบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือชื่อดังให้เข้าทำงาน โดยให้เงินเดือนไม่น้อยกว่า 1600 ดอลลาร์

ทั้งนี้ การเรียนรู้เกี่ยวกับมหาสมุทรช่วยทำให้ผู้คนเข้าใจความสำคัญของมหาสมุทร และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างชาติอาเซียนกับจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การทำงานในทะเลช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้สำรวจมหาสมุทร และกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างชาติอาเซียนกับจีน โดย Delu Pan สมาชิกสภาวิศวกรรมแห่งชาติจีน กล่าวว่า “บัดนี้ ศูนย์ ACSOC ได้กลายเป็นไพ่เด็ดสำหรับจีนในการสื่อสารกับชาติอาเซียน ACSOC จะทำงานให้หนักขึ้นในการให้ความรู้ คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยี และสร้างคลังสมอง เพื่อก่อให้เกิดชุมชนทางทะเลที่มีอนาคตร่วมกัน”

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1580117/China_Oceanic_Development_Foundation.jpg
คำบรรยายภาพ – นักศึกษาอินโดนีเซียร้องเพลงที่งานปาร์ตี้