Agility เผยหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดอันดับผู้นำโลจิสติกส์กลุ่มตลาดเกิดใหม่

0
493
image_pdfimage_printPrint

– อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ติดกลุ่มผู้นำในการจัดอันดับ 50 ประเทศ

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำผลงานดีกว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ ในดัชนี Agility Emerging Markets Logistics Index ประจำปี ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นมาตรวัดความสามารถในการแข่งขันโดยพิจารณาจากความแข็งแกร่งด้านโลจิสติกส์และปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ

ปัจจัยแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจ บวกกับจุดแข็งด้านการผลิตและการมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดอันดับต้น ๆ ในดัชนี ตามหลังเพียงยักษ์ใหญ่อย่างจีน (1) และอินเดีย (2) และเทียบเคียงประเทศในภูมิภาคอ่าวอาหรับที่มีพลังงานอุดมสมบูรณ์

ดัชนีดังกล่าวเป็นมาตรวัดความสามารถในการแข่งขันของ 50 ประเทศ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความน่าดึงดูดสำหรับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งสินค้า สายการเดินเรือ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ และผู้กระจายสินค้า ประเทศที่ติด 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย เม็กซิโก กาตาร์ ตุรกี และเวียดนาม ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 และฟิลิปปินส์รั้งอันดับที่ 20

นอกจากนี้ ดัชนียังรวมผลการสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั่วโลกกว่า 500 คน ซึ่งเลือกเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์มากที่สุด รองจากอินเดียและจีน ผู้ตอบแบบสำรวจ 56% ระบุว่า ความขัดแย้งทางการค้าที่ยืดเยื้อระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนอาจส่งผลดีต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกแทนจีน ในแง่ของการเป็นแหล่งผลิตและจัดหาสินค้า

“อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้นำระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยนอกจากสิงคโปร์แล้ว ประเทศเหล่านี้ถือเป็นประเทศแรก ๆ ในอาเซียน ที่ปรับปรุงและบูรณาการกระบวนการทางการค้าให้ง่ายขึ้น เป็นอัตโนมัติ และครบวงจร ผ่านการใช้ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single Window) ซึ่งสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีนี้” Andy Vargoczky รองประธานอาวุโสฝ่ายขายและการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Agility GIL กล่าว “ประเทศเหล่านี้มีความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งระดับโลกเพิ่มขึ้นทุกปี”

ในบรรดา 50 ประเทศ พบว่า จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ติดอันดับสูงสุดในการจัดอันดับโลจิสติกส์ภายในประเทศ ขณะที่การจัดอันดับด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ จีน อินเดีย และเม็กซิโก รั้งอันดับสูงสุด ตามด้วยเวียดนามในอันดับ 4 อินโดนีเซียในอันดับ 5 และไทยอยู่ในอันดับที่ 7 ส่วนประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจที่ดีที่สุดนั้น ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และกาตาร์

ไฮไลท์ของดัชนีและผลการสำรวจประจำปี 2562

– จีนและอินเดียรั้งสองอันดับแรกในการจัดอันดับตลาดโลจิสติกส์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ เมื่อวัดจากขนาดและความแข็งแกร่ง แต่ตามหลังคู่แข่งขนาดเล็กกว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ การเคลื่อนไหวของสินเชื่อและหนี้สิน การบังคับใช้ตามสัญญา มาตรการต่อต้านการทุจริต เสถียรภาพของราคา และการเข้าถึงตลาด โดยจีนอยู่ในอันดับ 7 และอินเดียอยู่ที่อันดับ 10 เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจดังกล่าว
– กลุ่มประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาตลาดเกิดใหม่นั้นอยู่ในภูมิภาคอ่าวอาหรับและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีปัจจัยแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อธุรกิจและมีจุดแข็งหลักที่ดึงดูดกิจกรรมโลจิสติกส์ โดยในกรณีของภูมิภาคอ่าว ได้แก่ ความมั่งคั่งด้านพลังงาน ส่วนความได้เปรียบของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ กำลังการผลิต สำหรับประเทศในอ่าวอาหรับนั้น ยูเออี (อันดับ 3) ซาอุดีอาระเบีย (6) กาตาร์ (8) โอมาน (12) บาห์เรน (16) และคูเวต (18) ติดอันดับสูง ขณะที่ประเทศอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย (อันดับ 4) มาเลเซีย (5) เวียดนาม (10) ไทย (11) และฟิลิปปินส์ (20)
– ผู้บริหารอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มองว่า ปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนหดตัวลง 10% เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดที่ส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างตั้งกำแพงภาษีซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าและข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัว ผู้ตอบแบบสำรวจจึงมองว่า อินเดียเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุด เหนือกว่าจีน ซึ่งตามมาเป็นตัวเลือกลำดับที่สอง
– โครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 4-8 ล้านล้านดอลลาร์ในโครงการ Belt & Road Initiative (BRI) ของจีน สร้างประโยชน์ให้กับจีนมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ที่จีนเข้าไปลงทุนอยู่ในขณะนี้ โดย 64% ของผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจมองว่า โครงการ BRI จะช่วยกระตุ้นการเติบโตและการค้าของจีน มีเพียง 41.4% ที่เชื่อว่าจะช่วยตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
– ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังสร้างโอกาสมากมายให้กับภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในตลาดเกิดใหม่ โดย 60% ของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมคาดว่า ธุรกิจค้าปลีกจะใช้บริการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้รับปลายทาง (Last Mile Delivery) จากผู้ให้บริการภายนอกมากขึ้น ขณะที่ 47.4% คาดว่าจะมีการใช้บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง (e-Fulfillment) จากผู้ให้บริการภายนอกมากขึ้น
– Brexit อาจส่งผลดีต่อตลาดเกิดใหม่ โดยผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจ 59% คาดว่า ตลาดเกิดใหม่อาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าและข้อตกลงใหม่ ๆ จากสหราชอาณาจักร ขณะที่ 60% คิดว่าตลาดเกิดใหม่จะไม่ได้รับผลกระทบจาก Brexit
– หลายประเทศ ได้แก่ บราซิล ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา บังกลาเทศ ไนจีเรีย และโบลิเวีย อาจทำอันดับพุ่งสูงกว่านี้ หากมีการปรับปรุงปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ขณะที่ประเทศในแอฟริกาที่มีตลาดโลจิสติกส์ค่อนข้างเข้มแข็งและมีศักยภาพ ได้แก่ ยูกันดา ลิเบีย โมซิมบิก แองโกลา ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัจจัยพื้นทางธุรกิจที่อ่อนแอ

2019 Agility Emerging Markets Logistics Index: www.agility.com/2019index

เกี่ยวกับ Agility

Agility เป็นบริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกที่มีรายได้ต่อปี 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และพนักงานมากกว่า 22,000 คนในกว่า 100 ประเทศ Agility เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (contract logistics) ชั้นนำของโลก ตลอดจนเป็นผู้นำและผู้ลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของซัพพลายเชน Agility เป็นผู้บุกเบิกในตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมเบาและคลังสินค้าในตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชีย บริษัทในเครือของ Agility ให้บริการขนส่งเชื้อเพลิง บริการสำหรับสนามบิน การจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์และสถานประกอบการ ระบบศุลกากรดิจิทัล และบริการโครงสร้างพื้นฐานทางไกล

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Agility สามารถดูได้ที่ www.agility.com
Twitter: twitter.com/agility
LinkedIn: linkedin.com/company/agility
YouTube: youtube.com/user/agilitycorp

Photo – https://photos.prnasia.com/prnh/20190305/2390621-1