รายงานหัวเว่ยชี้ช่องว่างทางดิจิทัลช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ

0
549
image_pdfimage_printPrint

Infographic_Digital-Divide2

รายงานวิจัยล่าสุดของหัวเว่ยชี้การลดช่องว่างระหว่างประชากรที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลกับกลุ่มที่ถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตถือเป็นความท้าท้ายระดับโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทไอซีทีและผู้สร้างนวัตกรรมในด้านต่างๆ

หัวเว่ยได้เผยเอกสารวิจัย Digital Enablement ที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรดิจิทัล พร้อมเรียกร้องให้อุตสาหกรรมไอซีทีพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล และลงทุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้มีเทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น เอกสารวิจัยฉบับนี้ยังมีกรณีศึกษาต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมไอซีทีได้ริเริ่มโครงการใหม่ๆ แล้ว เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยที่ยังสามารถทำโครงการให้มีกำไรได้ด้วย

“การสื่อสารเคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดช่องว่างทางดิจิทัล” มร. เคน หู รองประธานกรรมการและซีอีโอหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าว “เราต้องเน้นในเรื่องการพร้อมใช้งานและความสามารถที่จะจ่ายได้ ซึ่งต้องใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคและอุปกรณ์ดีไวซ์ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งานในภูมิภาคที่ยังด้อยพัฒนา

“นอกจากนี้ เรายังหวังว่า หน่วยงานกำกับดูแลจะจัดสรรคลื่นความถี่จำนวนมากขึ้นให้กับการสื่อสารเคลื่อนที่ และให้เงินอุดหนุนต่อเนื่องในการขยายเน็ตเวิร์คในภูมิภาคที่ยังด้อยพัฒนา เราต้องร่วมมือกันส่งเสริมการสื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อการเติบโตโดยองค์รวมและมีสมดุลทั่วโลก”

ช่องว่างทางดิจิทัลกำลังหดแคบลง เนื่องจากการสร้างการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น และสมาร์ทโฟนก็มีราคาต่ำลง ทว่าช่องว่างของการมีและไม่มีอินเทอร์เน็ตก็ยังคงกว้างอยู่ จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทั่วโลก

มร. อดัม เลน ผู้อำนวยการโครงการความยั่งยืนของหัวเว่ย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประชากรกว่าร้อยละ 87 ของโลกในเวลานี้ อยู่ในรัศมีของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ยังมีคนอีกมากถึงพันล้านคนที่ยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบโทรคมนาคม และ 4 พันล้านคนยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้ “ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมากถึงร้อยละ 15 ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ ซึ่งถือเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพกลุ่มใหญ่ จึงจำเป็นต้องใช้แนวคิดและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงพวกเขา และจัดหาบริการที่ทำกำไรได้ ความท้าทายลักษณะเดียวกันก็เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งรูปแบบการทำธุรกิจหรือโซลูชั่นส์แบบเก่าไม่สามารถทำให้ผู้ให้บริการอยู่รอดได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือประชากรที่มีรายได้น้อยก็ไม่สามารถจ่ายค่าใช้บริการได้” มร. เลน กล่าว “ในขณะที่โลกกำลังพัฒนาไปตามตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สหประชาชาติเพิ่งประกาศออกมาใหม่ เทคโนโลยีถือว่ามีบทบาทสำคัญทีเดียว และในอีกห้าปีข้างหน้าถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะลดช่องว่างทางดิจิทัล ด้วยการนำประสิทธิภาพของเครือข่าย 5G อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ การวิเคราะห์ด้วยระบบคลาวด์อันทันสมัย และอื่นๆ มาให้ทุกคนได้ใช้ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะรวยหรือจน หนุ่มหรือแก่ คนเมืองหรือต่างจังหวัด ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม แต่ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก สิ่งสำคัญคือเราต้องทำมันไปด้วยกันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ”

ในรายงาน หัวเว่ยยังได้ระบุถึงความคิดริเริ่มใหม่ๆ ที่จะช่วยเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน อาทิเช่น Bridge Africa ที่ช่วยส่งเสริมให้ชาวแคมเมอรูนมีความรู้ด้านดิจิทัลด้วยการอธิบายถึงประโยชน์ของการมีอินเทอร์เน็ตไปทีละบ้าน (และขายซิมการ์ดให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้) หรือความพยายามของ BT ในสหราชอาณาจักรที่จะพัฒนาโซลูชั่นและแพคเกจราคาสำหรับคนที่มีรายได้น้อย ส่วนตัวอย่างอื่นๆ จะเน้นเรื่องการสร้างการเติบโตของมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของการมีอินเทอร์เน็ต อันนำมาซึ่งโอกาสการสร้างรายได้ใหม่ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในด้านบริการสุขภาพเคลื่อนที่ การเกษตร การศึกษา การจ้างงาน และบริการโอนเงิน

รายงานวิจัย Digital Enablement รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงกว่า 150 คน เป็นการทำวิจัยแบบทบทวนงานวิจัยด้านช่องว่างทางดิจิทัล และตรวจสอบข้อมูลทั่วโลกเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด งานวิจัยนี้ยังได้แนะนำกรอบแนวคิดใหม่ในการนิยามและวิเคราะห์อุปสรรคเพื่อสร้างโลกดิจิทัลและยกตัวอย่างโซลูชั่นส์ชั้นนำ

อุปสรรคของการเลือกใช้ดิจิทัลมากขึ้นคือ การมีโครงการนำร่องและรูปแบบการทำธุรกิจที่ไม่ยั่งยืนมากมาย และคุณภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่แย่ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งมีช่องว่างที่ต่างกันมากขึ้นระหว่างประเทศที่ใช้เทคโนโลยี 2G และประเทศที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เร็วกว่า

ข้อค้นพบสำคัญยังรวมถึงข้อสังเกตที่ว่า แม้สหราชอาณาจักรจะมีโครงสร้างสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่เจริญก้าวหน้า แต่ก็ยังมีช่องว่างอยู่มากในการใช้บริการดิจิทัลตามปกติ รายงานยังชี้ให้เห็นอีกว่า บริการดาต้าเคลื่อนที่ในหลายประเทศจาก 12 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ยังมีราคาสูง โดยในประเทศเคนย่าคิดเป็นร้อยละ 9 ของรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย และในประเทศแอฟริกาใต้ คิดเป็นร้อยละ 3 นอกจากนี้ บริการโมบายล์ยังต้องจ่ายภาษีสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเลือกใช้ ความต้องการใช้ดิจิทัลไม่เพียงได้รับผลกระทบจากการมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุม (ซึ่งสหราชอาณาจักรและรัสเซียมีความต้องการใช้ดิจิทัลสูงสุด) แต่ภาษาท้องถิ่นก็เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ผู้คนอยากใช้ดิจิทัลหรือไม่ด้วย

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอันดับแรกในกลุ่ม 12 ประเทศที่การเข้าถึง ความสามารถและความต้องการใช้บริการดิจิทัลสูงสุด แต่ความสามารถในการจ่ายเป็นอันดับสอง “แม้ว่าบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ความท้าทายเดิมๆ ก็ยังคงมีอยู่สำหรับคอมซูมเมอร์และธุรกิจ” รายงานได้กล่าวไว้ ซึ่งครอบคลุมถึงการมีให้บริการ และการเข้าถึงบรอดแบนด์แบบซูเปอร์ฟาสต์ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย

ในตลาดระดับกลางได้แก่ เม็กซิโก ซึ่งมีการเข้าถึงบริการดิจิทัลเป็นอันดับห้า ความสามารถในการจ่ายค่าบริการเป็นอันดับสาม ความสามารถด้านบริการเป็นอันดับเจ็ด และความต้องการใช้เป็นอันดับสี่ “อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนเป็นดิจิทัลในเม็กซิโกคือ การตระหนักรู้และความเข้าใจในเรื่องดิจิทัล”

ประเทศเมียนมาร์อยู่ในอันดับที่ 11 และ 12 เกือบล่างสุดของตาราง โดยมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์พื้นฐานที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 และมีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จำกัดอยู่เฉพาะแค่พื้นที่ในเมือง

“อันที่จริงปัญหาเหล่านี้จะสร้างโอกาสให้กับบริษัทโทรคมนาคม หากพวกเขาใช้แนวคิดตามแต่ละตลาดในการพัฒนาโซลูชั่นส์ที่เน้นธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจของพวกเขาจะเกิดประโยชน์ในขณะที่สังคมและผู้ใช้รายบุคคลจะเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การเปิดโลกของโอกาสและการเติบโต เราได้พัฒนาข้อแนะนำขึ้นมา19 ข้อเพื่อช่วยให้บริษัท รัฐบาลและองค์กรการกุศลต่างๆ ได้พัฒนาโซลูชั่นส์ที่น่าสนใจและยั่งยืน พร้อมกับเครื่องมือการทำงานมากมายด้วย” มร. เลน กล่าว

นับแต่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1987 หัวเว่ยได้เชื่อมโยงประชากร 1 ใน 3 ของโลกผ่านโครงข่ายเน็ตเวิร์ค อุปกรณ์และบริการเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับหลากหลายพันธมิตร ทั้งในภาคธุรกิจ รัฐบาลและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น

เอกสารวิจัยปกขาวของหัวเว่ย ดูได้ที่ www.huawei.com/minisite/digital-enablement.

###

เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำทางด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มุ่งมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการสื่อสารที่ดีทั่วโลก ด้วยการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบ สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งข้อมูล และทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรม หัวเว่ยนำเสนอโซลูชั่นด้านไอซีทีแบบครบวงจร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าในกลุ่มเครือข่ายโทรคมนาคมและเอ็นเตอร์ไพรส์ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ด้วยกลยุทธ์การสร้างสรรค์นวัตกรรมตามความต้องการของลูกค้าและสัมพันธภาพที่ดีกับพันธมิตร ปัจจุบัน พนักงานกว่า 170,000 คนทั่วโลกของหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ กลุ่มลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีของหัวเว่ยได้รับการติดตั้งในกว่า 170 ประเทศในทุกภูมิภาคของโลก และให้บริการประชากรกว่าหนึ่งในสามของโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ยได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei

http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei