รายงาน GPCI 2015 เปิดเผยรายชื่อเมืองที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก

0
318
image_pdfimage_printPrint

IUS-MMF_Logo_JPEG

โตเกียว–(บิสิเนส ไวร์)–14 ต.ค. 2558

– ประเมิน “อำนาจดึงดูด” ที่ขับเคลื่อนความสำเร็จของ 40 เมืองชั้นแนวหน้า

สถาบัน Institute for Urban Strategies แห่งมูลนิธิ The Mori Memorial Foundation ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ก่อตั้งขึ้นโดย Mori Building เปิดเผยผลการจัดทำรายงาน Global Power City Index (GPCI) 2015 โดยได้มีการจัดอันดับมหานคร 40 แห่งทั่วโลกในแง่ของ “อำนาจดึงดูด” หรือศักยภาพในการดึงดูดบุคคลและองค์กรชั้นนำจากทั่วโลก และขับเคลื่อนทรัพย์สินของตนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ลอนดอน นิวยอร์ก ปารีส และโตเกียวยังคงครองสี่อันดับแรกตามลำดับไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ส่วนลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และฮ่องกง มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ Smart News Release ซึ่งประกอบด้วยสื่อมัลติมีเดียและข่าวฉบับเต็มได้ที่: http://www.businesswire.com/news/home/20151013005025/en/

จุดที่น่าสนใจ

– ลอนดอนซึ่งครองอันดับหนึ่งมาทุกปีนับตั้งแต่ที่ได้เป็นเจ้าภาพมหกรรม 2012 Olympic และ Paralympic Games ติดสามอันดับแรกในทุกสาขาของปีนี้ ยกเว้นสาขาความเป็นอยู่ที่ดีและสิ่งแวดล้อม ด้วยจุดมุ่งหมายระยะยาวในการพัฒนาพื้นที่ขึ้นใหม่ นครลอนดอนยังคงสานต่อโครงการพัฒนาตามจุดต่างๆ รวมถึงโครงการที่ริเริ่มขึ้นใหม่ภายหลังกีฬา Olympic เช่น โครงการก่อตั้ง Queen Elizabeth Olympic Park และการก่อสร้างทางรถไฟสาย Crossrail

– นิวยอร์กซึ่งเป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และยังเป็นเมืองที่มีโรงละครและคอนเสิร์ตฮอลล์มากที่สุด นับเป็นเมืองในฝันของบรรดาบุคคลมากความสามารถที่ต่างมารวมตัวกันที่นี่ นิวยอร์กครองอันดับสองเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ตามหลังเพียงลอนดอนเท่านั้น

– ปารีสครองอันดับหนึ่งในสาขาความเป็นอยู่ที่ดีและการเข้าถึง อันเป็นผลจากการผนวกรวมสถานที่ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และประเพณีเอาไว้กลางเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยปารีสได้รั้งอันดับสามมาตั้งแต่ปี 2008

– โตเกียวมีความก้าวหน้าในแง่ของการสื่อสารทางวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยโตเกียวครองอันดับสี่มาตั้งแต่ปี 2551

– ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และบอสตัน สามารถไต่อันดับขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวิกฤติการเงินเมื่อปี 2008 และยังปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมากในสาขาความเป็นอยู่ที่ดี

– สิงคโปร์สามารถทำอันดับได้สูงขึ้นในสาขาการเข้าถึง หลังจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศสำหรับผู้โดยสารและสินค้าบรรทุกปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งตามโตเกียวมาติดๆ ส่วนปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ถูกลดอันดับลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ขณะที่ฮ่องกงมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านความเป็นอยู่ที่ดี และยังมีอันดับดีขึ้นมากในการจัดอันดับรวมทุกสาขา

– เจนีวา แฟรงก์เฟิร์ต สตอกโฮล์ม ซูริก และเวียนนา ครองตำแหน่งห้าอันดับแรกในสาขาสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ส่วนแวนคูเวอร์ได้ไต่อันดับขึ้นอย่างก้าวกระโดดในสาขาสิ่งแวดล้อม โดยได้ทะยานจากอันดับที่ 23 มาเป็นอันดับที่ 7

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถรับชมได้ที่ www.mori-m-foundation.or.jp/english/ius2/gpci2

“วันนี้ ประชากรโลกกว่า 50% ต่างใช้ชีวิตอยู่ในเมือง เนื่องด้วยประชากรที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสินค้า เงิน และข่าวสาร เมืองจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมและจุดกำเนิดเทรนด์ทั่วโลก ซึ่งก่อให้เกิดปัจจัยใหม่ๆที่ยิ่งทำให้ผู้คนแห่เข้าเมืองเพิ่มขึ้นอีก” ดร.ฮิโรโอะ อิชิคาวา ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิ The Mori Memorial Foundation กล่าว “GPCI เป็นหนึ่งในรายงานไม่กี่ชิ้น ที่ดำเนินการประเมินเมืองต่างๆในแง่มุมที่ครอบคลุมหลายด้าน ซึ่งมอบข้อมูลเชิงลึกให้กับเหล่าผู้กำหนดนโยบายและนักพัฒนา เพื่อตระหนักถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพที่ซ่อนอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลก”

“2015 GPCI นำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันล้ำค่า ซึ่งไม่ได้ให้ข้อมูลในเรื่องการจัดอันดับทางการแข่งขันของเมืองต่างๆทั่วโลกเพียงเท่านั้น แต่ยังบ่งชี้ถึงปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าดังที่เราได้เห็นในการจัดอันดับปีนี้” วิชาน จักราภารตี ประธานของ SHoP Architects และศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพประจำมหาวิทยาลัย Columbia University กล่าว “การจัดอันดับนี้มีจุดประสงค์ชัดเจน โดยหากเมืองต่างๆต้องการแข่งขันเพื่อเป็นใหญ่ท่ามกลางทุนมนุษย์ที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาแล้ว เมืองเหล่านี้จำเป็นต้องมีการยกระดับคุณภาพชีวิตที่นำเสนอต่อผู้อยู่อาศัยและภาคธุรกิจ ในแง่ของความเป็นเลิศด้านการออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม”

ทางสถาบันได้เปิดเผยรายงาน GPCI ในทุกๆปีมาตั้งแต่ปี 2008 โดย GPCI ดำเนินการจัดอันดับตามเกณฑ์บ่งชี้ 70 ประการ ซึ่งครอบคลุมใน 6 สาขาด้วยกัน ได้แก่ เศรษฐกิจ การวิจัยและพัฒนา การสื่อสารทางวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ดี สิ่งแวดล้อม และการเข้าถึง ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของเมืองต่างๆทั่วโลกท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด นอกจากนี้ การจัดอันดับยังสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าผู้บริหารจัดการ นักวิจัย ศิลปิน นักท่องเที่ยว และผู้อยู่อาศัยทั่วโลก ทั้งนี้ เหล่าผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต่างเลือกใช้เครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรทั่วโลกอย่าง GPCI เพื่อใช้ในการพัฒนาเมืองและสร้างเอกลักษณ์ สามารถรับชมความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกได้ที่: www.mori-m-foundation.or.jp/english/ius2/gpci2/index.shtml#comments

เกี่ยวกับสถาบัน Institute for Urban Strategies ในสังกัด The Mori Memorial Foundation

ทางสถาบันดำเนินการวิจัยเปรียบเทียบแบบหลายมิติ เพื่อช่วยให้รัฐบาลและภาคธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานให้กับเมืองของตน ซึ่งช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้มีความดึงดูดและเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น โครงการริเริ่มของทางสถาบันได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจุดประเด็นถกนโยบายระดับนานาชาติ รวมถึง Global Power City Index (GPCI) ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นดัชนีจัดอันดับเมืองชั้นแนวหน้าของโลก ทั้งนี้มูลนิธิ The Mori Memorial Foundation ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1981 ด้วยเงินบริจาคของ The Mori Memorial Foundation ผู้พัฒนาพื้นที่เมืองชั้นนำ ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์แนวคิดแปลกใหม่ในการใช้ชีวิตแบบคนเมืองในญี่ปุ่นและทั่วทั้งเอเชีย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่: www.mori-m-foundation.or.jp/english/aboutus2/index.shtml#about_strategies หรือ www.mori.co.jp/en

รับชมข่าวต้นฉบับจาก businesswire.com ได้ที่: http://www.businesswire.com/news/home/20151013005025/en/

ติดต่อ:
สื่อมวลชนสอบถามได้ที่
Weber Shandwick
Rutsuko Nakajima, +81-90-9006-2769
Masashi Nonaka, +81-80-1037-7879
moribldg@webershandwick.com