ซีเอ เทคโนโลยี เผยผลวิจัยไอดีซี ชี้บริษัทชาติอาเซียนเพิ่มงบเร่งนวัตกรรมด้านไอที

0
219
image_pdfimage_printPrint

ซีเอ เทคโนโลยี และไอดีซี เผยผลสำรวจความพร้อมด้านนวัตกรรมในเอเชีย ตามรายงานในชื่อภาษาอังกฤษว่า IDC Asia South C-Suite Innovation Barometer Survey: Are You Innovation Ready?”  ชี้กระแสใหม่ในเอเชียที่พลิกเปลี่ยนจากแนวคิดเดิมในเรื่องการลงทุนด้านนวัตกรรมที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำในกลุ่ม ASEAN ได้มองเห็นความสำคัญจำเป็นของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีต่อความสำเร็จทางธุรกิจในตลาดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการแข่งขันสูง

 

ในรายงานของไอดีซีที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยโดย ซีเอ เทคโนโลยี ได้ทำการสำรวจในเดือนกรกฎาคมปี 2012 จากความเห็นและมุมมองด้านยุทธศาสตร์การลงทุนไอทีของผู้มีส่วนตัดสินใจทางไอทีกว่า 120 รายในภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย)

 

ปัจจุบันด้วยต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น และความจำเป็นที่จะต้องรองรับการติดต่อกับลูกค้าในแพล็ตฟอร์มใหม่ๆ คือข้อกังวลสำคัญที่ทำให้ผู้นำธุรกิจในชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องมองหานวัตกรรมใหม่ด้านไอทีที่จะพลิกสถานการณ์ทางธุรกิจในระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยจำเป็นต้องพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเปลี่ยนระบบงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในขณะที่ต้องประสานระบบรองรับสารพัดอุปกรณ์และแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ ระบบเวอร์ชวล หรือโมบาย

ขณะเดียวกัน ทางซีเอ เทคโนโลยีกำลังเดินหน้าขยายบทบาทในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน โดยมีสำนักงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ และมีบริษัทพาร์ทเนอร์ตัวแทนประจำประเทศ(Country Representative Partners – CRP) ตั้งอยู่ในมาเลเซียและประเทศไทย ทางซีเอ เทคโนโลยีมีความเชื่อมั่นในการเติบโตของกลุ่มภูมิภาคอาเซียนและเห็นได้ชัดว่าปรัญชาการดำเนินงานของบริษัทที่เน้นนวัตกรรมด้านงานบริการธุรกิจนั้นสอดคล้องกับบรรดาผู้บริหารระดับสูงในภูมิภาคนี้เช่นกัน

สำหรับเทคโนโลยีที่บรรดาผู้บริหารในภูมิภาคอาเซียนกำลังให้ความสนใจในปี  2012 และ 2013 ก็คือ ระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่น การรักษาความปลอดภัย โมบาย ระบบคลาวด์ และไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม และความสนใจนี้ก็เป็นไปในรูปแบบเดียวกันกับแนวโน้มของบริษัทเอ็นเตอร์ไพรส์ทั่วโลกและทางซีเอ เทคโนโลยีก็กำลังมุ่งมั่นทำงานร่วมกันกับทั้งพาร์ทเนอร์และลูกค้าเพื่อรับมือความจำเป็นตรงนี้  ที่สำคัญมีกว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้พูดถึงการเปลี่ยนการดำเนินงานทางธุรกิจว่าคือ นวัตกรรมไอทีใหม่ที่บริษัทตนกำลังลงทุนอยู่ในขณะนี้

โดยปกติที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณให้กับนวัตกรรมด้านไอทีตามบริษัทต่างๆ จะยึดหลักสัดส่วน 80/20  โดยงบ 20 เปอร์เซ็นต์ถูกจัดให้ความริเริ่มด้านไอทีใหม่ๆ  และอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือมีไว้สำหรับการดำเนินงานรายวันและการดูแลรักษาระบบทั่วไป แต่ผลการสำรวจชี้ว่า ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเปลี่ยนวิธีคิดเชิงยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยพบว่ามีงบประมาณกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ถูกจัดสรรให้นวัตกรรมใหม่ๆ ในปี 2012 และเพิ่มระดับเป็น 39.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2013 ชี้ให้เห็นการเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมไอทีในยุทธศาตร์การลงทุนเพื่อขยายธุรกิจละสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

ยิ่งไปกว่านั้น 75% ของ CEO หรือ  CIO ในภูมิภาคนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ส่งเสริม ผลักดันหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ  ในขณะที่มีเพียง 25% ที่ไม่มีบทบาสำคัญหรือเป็นอุปสรรคในด้านนี้  ในแง่ของวัฒนธรรมการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่การสั่งการจากระดับสูงมีบทบาทสำคัญนั้น ข้อมูลตรงนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีการสนับสนุนการผลักดันนวัตกรรมไอทีใหม่ๆ ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

“ทางไอดีซี เชื่อว่าในขั้นแรก ทุกบริษัทจะต้องบรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพในการใช้ระบบไอทีองค์กรเสียก่อน จากนั้นก็ประสานระบบไอทีให้ตรงกับลำดับความสำคัญของงานธุรกิจ ก่อนหน้าที่จะผลักดันนวัตกรรมไอทีใหม่ๆ ให้เกิดผลดังที่ต้องการ” ซานดร้า อึ้ง รองประธานกลุ่มปฏิบัติงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไอดีซี กล่าวพร้อมเสริมว่า “เมื่อผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารได้ทำงานทางยุทธศาสตร์วางแผนลงทุนด้านนวัตกรรมไอที ตัวธุรกิจก็จะสามารถรับมือกับเป้าหมายสำคัญๆ ในสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการพลิกผันได้”

“การปรับเปลี่ยนการทำงานและนวัตกรรมใหม่ๆ คือหัวใจหลักของซีเอ เทคโนโลยี” วิคเตอร์ เฉิง รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัทซีเอ เทคโนโลยี กล่าว “ตลาดกลุ่มภูมิภาคอาเซียนมีความหลากหลายและมีการแข่งขันสูง ดังนั้น ภาคธุรกิจจะต้องมองหานวัตกรรมใหม่ด้านไอทีมารับมือปัญหาที่กำลังเผชิญเช่นการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มปฏสัมพันธ์กับตัวลูกค้าเพื่อที่จะรักษาและขยายบทบาทของบริษัทต่อไปในสภาพการแข่งขันปัจจุบัน”

ไอดีซี คือบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและการให้คำปรึกษาทางธุรกิจที่ทำงานเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจทิศทางใหม่ๆ  ในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจออนไลน์เพื่อพัฒนายุทธศาตร์เชิงธุรกิจที่เหมาะสม เน้นเชิงปฏิบัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทวิจัย  ไอดีซี โปรดดูที่  www.idc.com

เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย

การสำรวจนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี  ทำการสำรวจในเดือนกรกฎาคมปี 2012 โดย ไอดีซี  ได้สอบถามความเห็นของผู้บริหารไอที 120 รายในสี่ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แก่  อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจตัดสินใจหลักในองค์กรหรือผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ด้านไอทีในองค์กร