หัวเว่ยประกาศสร้าง “ภูมิภาคเอเชียที่เชื่อมต่อถึงกันได้ดียิ่งขึ้น” ในงานประชุม เอเชีย แปซิฟิค อัลตร้า บรอดแบนด์ ซัมมิท

0
1012
image_pdfimage_printPrint

EXTD0270_Resized3

หัวเว่ยโชว์วิสัยทัศน์อัลตร้าบรอดแบนด์ (Ultra-Broadband) สร้างภูมิภาคเอเชียที่เชื่อมต่อถึงกันได้ดียิ่งขึ้น ในงานประชุม เอเชีย แปซิฟิค อัลตร้า บรอดแบนด์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค โดยหัวเว่ย ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และบรรดาผู้ให้บริการรายสำคัญ รวมทั้งพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อาทิ Light Reading, Heavy Reading และ Ovum ได้ร่วมตกลงหารือถึงทิศทางในอนาคตเกี่ยวกับการพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเอเชียแปซิฟิก และประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างภูมิภาคเอเชียที่เชื่อมต่อถึงกันได้ดียิ่งขึ้น การประชุมสุดยอดครั้งนี้นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมและการเติบโตของตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การพัฒนาการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน วิถีชีวิต และกิจกรรมสันทนาการของผู้คน การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ความต้องการอินเทอร์เน็ตยังได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ Fixed Broadband อินเทอร์เน็ตแบบ Ultra Broadband จึงเป็นโครงการลงทุนใหญ่ของผู้ประกอบการหลายราย ดังรายงานดัชนีการเชื่อมต่อทั่วโลกของหัวเว่ย (Huawei Global Connectivity Index) ได้ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนด้านไอซีทีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เติบโตขึ้นราวร้อยละ 1 และในภาวะที่ทรัพยากรทั่วโลกซึ่งมีอยู่จำกัดได้กลายมาเป็นคอขวดของการพัฒนาด้านสังคม การเชื่อมต่อกันหรือ Connectivity จะกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญของประเทศต่างๆ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้เสนอแนวคิด “Connect 2020” กำหนดเป้าหมายของพัฒนาการเชื่อมต่อ ให้ครัวเรือนร้อยละ 55 มีอินเทอร์เน็ตใช้ และขยายเครือข่ายบริการให้ครอบคลุมร้อยละ 90 ของพื้นที่ห่างไกลภายในปีค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นตรงกันว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศควรจะประกาศใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ (Fixed Broadband)

การพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นจากความต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและวิดีโอความละเอียดสูงที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในเอเชียแปซิฟิกได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ ด้วยการผสานอินเทอร์เน็ต Fixed Broadband และ Mobile Broadband เข้าด้วยกัน รวมถึงผลักดันให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจของการรวมเนื้อหาและเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการต่างๆ และกลุ่ม OTT และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ (Fixed Broadband) ซึ่งเป็นเครือข่ายรับส่งข้อมูลของบรอดแบนด์แอพพลิเคชั่น จึงกลายเป็นขีดความสามารถในการแข่งขันหลักของผู้ประกอบการ

ภายใต้แนวคิด “UBB 2020” หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และด้วยนวัตกรรมด้าน Gigaband FMC 2.0 ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบออนดีมานด์และโซลูชั่นต่างๆ หัวเว่ยจึงได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้ประกอบการต่างๆ ประสบความสำเร็จในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจและเปลี่ยนผ่านไปสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ Ultra Broadband ได้อย่างราบรื่น

-###-
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำทางด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มุ่งมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการสื่อสาร ด้วยกลยุทธ์การสร้างสรรค์นวัตกรรมตามความต้องการของลูกค้าและสัมพันธภาพที่ดีกับพันธมิตร หัวเว่ยนำเสนอโซลูชั่นด้านไอซีทีแบบครบวงจร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าในกลุ่มเครือข่ายโทรคมนาคมและเอ็นเตอร์ไพรส์ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ และระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 170,000 คนทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ กลุ่มลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคทั่วไป ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีของหัวเว่ยได้รับการติดตั้งในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ให้บริการประชากรกว่าหนึ่งในสามของโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ยได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei

http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei