ฉันคิดว่าเนปาลได้ถูกทำลายลงแล้ว – หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว

0
379
image_pdfimage_printPrint

20150526_140938-2

‘I Thought Nepal was destroyed’ – Nepal 1 Month Later
By Jessica Lomelin and Kunaporn Dejrattanawichai Plan International, Asia Regional Office

“ตอนเกิดแผ่นดินไหว ฉันกลัวมาก ฉันคิดว่าเนปาลกำลังจะโดนทำลาย” เพอนิมา เด็กหญิงอายุ16ปีกล่าวในจดหมายที่เขียนถึง องค์การแพลนฯ

หนึ่งเดือนผ่านไป นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครงล่าสุดซึ่งเป็นครั้งที่รุนแรง ที่ได้เกิดขึ้นที่เนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน จากวันนั้นถึงวันนี้ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8,000 คน มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 10,000 คนและไร้ที่พักพิงอีกนับไม่ถ้วน

“ไม่ว่าจะในภัยพิบัติใดๆผู้ที่ได้รับผลกระทบมากสุดคือเด็ก เพราะเด็กยากที่จะรับมือกับการสูญเสียและไม่เข้าใจว่าแผ่นดินไหวสร้างความเสียหายได้มากขนาดไหน” Mattias Bryneson ผู้อำนวยการองค์การแพลนเนปาล กล่าวไว้

หนึ่งในแผนการช่วยเหลือเร่งด่วนในภาวะฉุกเฉินขององค์การแพลนฯ คือการสร้างความมั่นใจว่าเด็กที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติจะปลอดภัยและลดควา้มหวาดกลัวและวิตกกังวลจากภัยพิบัติ

พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) เป็นหนึ่งในกุญแจที่สำคัญที่จะทำให้องค์การแพลนฯ สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ที่ได้รับการฝึกฝน และสถานที่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก จะทำให้สภาพจิตใจของเด็กๆกลับคืนสู่สภาพปกติได้ เด็กๆสามารถเรียนหนังสือต่อได้ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะปิด เด็กๆสามารถอยู่กับเพื่อนๆวัยเดียวกัน และเด็กๆยังสามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในช่วงเกิดแผ่นดินไหวเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ได้รับการอบรมเพื่อรับมือในการพูดคุยอย่างเหมาะสม

“แผ่นดินไหวครั้งแรกน่ากลัวมากๆเลยครับ เพราะนั่นคือวันที่ผมคิดว่า โลกของพวกเราจะไม่คงอยู่ตลอดไปอีกแล้ว” Kulshal เด็กชายวัย 16 ปี กล่าว

นับตั้งแต่แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 25 เมษายน องค์การแพลนฯ และ กลุ่ม Child Workers in Nepal (CWIN) ได้ร่วมมือกันสร้าง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) 6 แห่งในเมือง Kathmandu และมีแผนที่จะสร้าง เพิ่มขึ้นอีกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งรวมถึงเมือง Dolakha และ Sindupalchowk ด้วย ซึ่ง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) จะจัดสรรสถานที่ที่ปลอดภัยที่จะทำให้เด็กๆ หายจากอาการหวาดกลัวโดยผ่านการทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เช่น การร้องเพลง เต้นรำ และเล่นเกม

“ผมชอบอยู่กับเด็กๆ เวลาที่พวกเขาหัวเราะและเล่นสนุกกันครับ” Bibash อาสาสมัครวัย 23 ปี ที่สร้าง พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) เล่าถึงประสบการณ์อันแสนสุขของเขา

Bibash จบปริญญาตรีจากสาขาวิชาธุรกิจศึกษา และวางแผนจะศึกษาต่อในสาขาปริญญาผู้สำเร็จวิชาการบัญชี เขามาเป็นอาสาสมัครประจำวันประจำ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม แม่ของ Bibash ผู้ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้ให้แรงบันดาลใจกับ Bibash ในการทำสิ่งดีๆ เพื่อช่วยชุมชนหลังจากแผ่นดินไหว

ไม่ใช่แค่เด็กๆ เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จาก พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ ยังได้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ เพื่อเป็นสถานที่ผ่อนความเครียดที่เกิดจากแผ่นดินไหม ที่เด็กๆเละครอบครัวต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง และความเครียดสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ซึ่งเป็นผลจากความเสียหายของแผ่นดินไหว

พื้นที่ที่มิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ช่วยให้อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ขององค์การแพลนฯ มองเห็นหนทางที่จะช่วยให้เด็กและครอบครัวสามารถฟื้นฟูสภาพจิดใจได้

“ผมชอบอยู่กับเด็กๆ เพราะถ้าผมอยู่ที่บ้าน ผมคงแค่นั่งเฉยๆ หรือไม่ก็ดูทีวี การเป็นอาสาสมัครที่นี่ช่วนให้ผมเพ่งความสนใจไปที่เด็กๆ มากกว่าที่จะสนใจแค่ตัวเองและครอบครัว” Bibash กล่าว

“เพื่อนๆ อาสาสมัคร และสภาพแวดล้อมดีๆที่ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) ช่วยให้ความกลัวของผมหายไป แต่นั่นก็ถึงแค่ตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งต่อไป ” Kulshal กล่าว

นอกจาก พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) แล้ว องค์การเพลนฯ ยังได้ร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน Save the Children, World Vision International, และ UNICEF จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นกับเด็กๆ และเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อที่จะได้รู้ว่าความวิตกกังวลด้านไหนที่ส่งผลกระทบกับเด็กๆ มากที่สุด

ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจ้าหน้าที่องค์การแพลนฯ จะนำให้เด็กๆ สำรวจตัวเองว่ารู้สึกอย่างไรในระหว่างก่อนและหลังเกิดแผ่นดินไหว หลังจากนั้น ให้เด็กๆ สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าปัญหาที่มีอยู่เป็นอย่างไร เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร และใครที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง

องค์การแพลนฯ เชื่อว่า การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้มีความสำคัญต่อเด็กๆ มาก เพราะว่า เด็กๆ ต้องการที่จะรู้สึกว่า ตัวเองได้ออกความคิดเห็น และความเห็นและการแสดงออกของตนนั้น สามารถช่วยฟื้นฟูประเทศของตนได้

กุญแจสำคัญที่จะทำให้แน่ใจว่าโครงการ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) หรือห้องเรียนชั่วคราว จะประสบความสำเร็จคือ ทำให้มั่นใจว่าข้อเสนอของเด็กๆ เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมและการเรียนการสอน พื้นที่เช่นนี้ ไม่สามารถสร้างได้ง่ายๆ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับบริบททางสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น และประสบการณ์ของเด็กๆ

Bibash เสริมว่า ตอนนี้ เด็กๆ เริ่มดีขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 พวกเขาเริ่มกังวลอีกครั้ง เขาบอกพวกเด็กๆว่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ีรู้ และไม่สามารถทำนายเกี่ยวกับแผ่นดินไหวได้ แต่พวกเขาจะปลอดภัยที่ พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces)

“หลังแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 ผมนอนข้างนอกตลอดทั้งคืน แต่ในท้ายที่สุดก็กลับเข้าไปนอนข้างใน ผมบอกเด็กๆว่า ถ้าผมอยู่นอนข้างในได้ๆ พวกเขาก็ควรที่จะเข้ามาข้างในเหมือนกัน” Bibash กล่าว

พื้นที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก (Child Friendly Spaces) สำคัญกับเด็กๆ มาก เนื่องจากมันช่วยให้พวกเขาแสดงความกลัวของพวกเขาออกมาซึ่งบางครั้ง พวกเขาไม่สามารถพูดกับพ่อแม่ได้ แต่เพราะ เด็กๆ เห็นพวกเราเป็นเพื่อน และนั่นทำให้พวกเขากล้าคุยกับเรามากขึ้น ที่นี่ พวกเขามีความสุขมากกว่ากังวลใจ”

นอกจากนี้ เขายังบอกว่า แผ่นดินไหวทำให้เกิดการรวมตัวกันของคนในชุมชน จากที่เมื่อก่อน เพื่อนบ้านทะเลาะและเถียงกัน แต่ตอนนี้ พวกเขาร่วมมือร่วมใจกัน และไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป เหตุการณ์นี้ดึงชุมชนมาอยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสร้างชุมชนของพวกเขาใหม่อีกครั้ง

องค์การเพลนฯ อยู่เป็นผู้นำขององค์การที่ทำการช่วยเหลือฉุกเฉินในเหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 25 เมษายน เราให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว รวมถึงแนวเทือกเขาและพื้นที่ห่างไกล

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างและให้บริการหลักๆ แก่คนที่ต้องการ รวมถึงการคุ้มครองเด็ก การศึกษา โภชนาการ วิถีชีวิต และ สุขภาพ

องค์การแพลนฯ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงองค์กรที่ช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น แต่เรายังมุ่งทำงานในระยะยาวอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งฟื้นฟู และช่วยเหลือเด็กๆและชุมชนในประเทศเนปาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม http://plan-international.org/what-you-can-do/emergency-appeals/nepal-earthquake-appeal
English version https://planasia.exposure.co/i-thought-nepal-was-destroyed-nepal-1-month-later