Asia-Pacific needs 11,000 aircraft over the next 20 years

0
237
image_pdfimage_printPrint

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มความต้องการเครื่องบินอีก 11,000 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า

เป็นตลาดที่มีการเติบโตของเครื่องบินลำตัวกว้างรวดเร็วที่สุด รวมแล้ว 4,100 ลำ

 

สายการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่และเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า ตามการพยากรณ์ทางการตลาดโลก หรือโกลบอล มาร์เก็ต ฟอร์คาสต์ (GMF) ล่าสุดจากแอร์บัส

 

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2556-2575 สายการบินจากภูมิภาคนี้จะได้รับเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งเป็นจำนวนถึง 10,940 ลำ รวมมูลค่า 1.8 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 37 ของเครื่องบินลำใหม่ที่ทำส่งมอบไปทั่วโลกในอีก 20 ข้างหน้า โดยส่งไปยังยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง สามารถบอกได้ว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีสายการบินใหม่คิดเป็นร้อยละ 42 ของตลาดโลก สะท้อนให้เห็นถึงสัดส่วนความต้องการเครื่องบินลำตัวกว้างที่สูงขึ้นของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ในตลาดเครื่องบินขนส่งผู้โดยสาร จำนวนฝูงบินขนส่งที่สายการบินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกดำเนินการอยู่นั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 12,130 ลำจากปัจจุบันที่มีอยู่ 4,960 ลำ ค่าเฉลี่ยการเดินทางทางอากาศจะเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 5.8 รวมทั้งจำนวนเครื่องบินทดแทน ที่จะถูกนำมาแทนที่เครื่องบินรุ่นเก่าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันอีกราว 3,770 ลำ

 

การเพิ่มขึ้นของสังคมเมืองจากระดับที่สูงอยู่แล้วในภูมิภาคนี้หมายความว่า 25 จาก 89 เมืองใหญ่ในปี 2575 จะอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ในช่วงเวลานี้ภูมิภาคเอชียแปซิฟิกจะถือเป็นบ้านของ 90 เมือง ซึ่งมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งล้านคน การจราจรจะหนาแน่นมากขึ้นโดยเน้นไปรอบๆ เมืองเหล่านี้ เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นั่นหมายถึงการตอบสนองความต้องการที่จะเอาชนะข้อจำกัดของสนามบิน เป็นผลให้แอร์บัสพยากรณ์ว่าผู้ให้บริการในภูมิภาคนี้จะมีเครื่องบินลำตัวกว้าง ประมาณ 4,130 ลำ ในอีก 20 ปีข้างหน้า (ร้อยละ 46 ของความต้องการทั่วโลก)

 

ในปัจจุบันเครื่องบิน รุ่น เอ330 เครื่องบินทางเดินคู่ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในภูมิภาคนี้ โดยสายการบินที่ให้บริการระหว่างประเทศ และเชื่อมต่อผู้คนที่สำคัญในการทั่วทั้งภูมิภาค แนวโน้มเช่นนี้จะพัฒนาต่อไปอีกในภายหน้า ขับเคลื่อนความต้องการเครื่องบินทางเดินคู่ 3,350 ลำ เช่น เอ330 และรุ่น เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี ลำใหม่ทั้งหมด และรอบ 780 เครื่องบินขนาดใหญ่ 400 ที่นั่ง อย่าง  เอ380 ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และในบางกรณี ที่มีข้อจำกัดของสนามบิน

 

ในตลาดเครื่องบินทางเดินเดี่ยว การเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในเครื่องบินขนาดใหญ่โดยเฉพาะ อย่างเช่นแอร์บัส รุ่น เอ320 หรือ เอ321 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ค่าเฉลี่ยของพิกัดบรรทุกของเครื่องบินที่ดำเนินการโดยสายการบินต้นทุนต่ำนั้นโตขึ้นราวร้อยละ 50 ในอีก 20 ปีข้างหน้า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 6,810 ลำ เครื่องบินทดแทนลำใหม่มากกว่า1 ใน 3 ของทั่วโลก

 

 

“ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ถึงความสำคัญของตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งในวันนี้และในอนาคต เรามีความยินดีที่แอร์บัสมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการเจริญเติบโตที่ยิ่งใหญ่นี้” มร.จอห์น เลฮีย์ ประธานฝ่ายปฏิบัติการลูกค้าสัมพันธ์ของแอร์บัสกล่าว “เครื่องบินทั้งหมดของเราในภูมิภาคนี้อยู่ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ และเรายังคงครองยอดขายในภูมิภาคนี้ เพราะเรามีเครื่องบินที่ตอบสนองความต้องการของสายการบินในเอเชียแปซิฟิก”

 

ในภาคการขนส่งสินค้า ภูมิภาคนี้จะยังคงครองตลาดโลก แอร์บัสพยากรณ์การขนส่งสินค้าโดยสายการบินในเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าจากกว่า 300 ลำในปัจจุบันเป็น 970 ลำ แสดงให้เห็นถึงการเป็นหนึ่งในสามของฝูงบินขนส่งสินค้าทั่วโลกภายในปี 2575 ในขณะที่เครื่องบินเป็นจำนวนมากจะถูกดัดแปลงจากเครื่องบินนั่งโดยสาร แอร์บัสคาดการณ์ว่าเครื่องบินประมาณ 270 ลำจะถูกผลิตขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ในโลกประมาณร้อยละ 30 ของเครื่องบินขนส่งที่ให้บริการจะอยู่ในช่วงหมวดหมู่ 45-70 ตัน โดยจะเป็นเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดกลางอย่างเช่นแอร์บัส เอ330

 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดหลักของแอร์บัส คิดเป็นร้อยละ 31 ของการสั่งซื้อทั้งหมดที่บันทึกโดย บริษัทจนถึงปัจจุบัน ในวันนี้มีเครื่องบินแอร์บัสกว่า 2,400 ลำให้บริการโดยผู้ประกอบการทั่วทั้งภูมิภาคประมาณ 100 ราย และคำสั่งซื้ออีกมากกว่า 1,700 ลำจากลูกค้าที่จะมีการส่งมอบในอนาคต ซึ่งจำนวนดังกล่าวนี้มากกว่าหนึ่งในสามของยอดเครื่องบินค้างส่งรวมของบริษัท สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภูมิภาคนี้ว่าเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับเครื่องบินโดยสารใหม่

 

ในปี 2556 แอร์บัสได้ขยายความแข็งแกร่งของตำแหน่งในภูมิภาค โดยได้ชัยชนะร้อยละ 80 ของธุรกิจใหม่ในเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดในช่วงระหว่างปีด้วย 379 คำยืนยันการสั่งซื้อ นอกจากนี้บริษัทยังมีการส่งมอบเครื่องบินใหม่อีก 331 ลำในภูมิภาคนี้ในช่วงระหว่างปี คิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของเครื่องบินใหม่ที่เข้ามาให้บริการกับสายการบินที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2556

 

การพยากรณ์ของแอร์บัสในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มาจากบริษัทโกลบอล มาร์เก็ต ฟอร์แคสต์ ซึ่งเล็งเห็นถึงความต้องการเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์และเครื่องบินขนส่งประมาณ 29,200 ลำ คิดเป็นมูลค่าเกือบ 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 20 ปีข้างหน้า รวมทั้งเครื่องบินขนาดใหญ่มาก 1,710 ลำ เครื่องบินทางเดินคู่ 7,270 ลำ และเครื่องบินทางเดินเดี่ยวอีก 20,240 ลำ

 

 

สายผลิตภัณฑ์ของแอร์บัสประกอบด้วย เครื่องบินตระกูลเอ320 เครื่องบินที่ขายดีที่สุดในตลาดเครื่องบินทางเดินเดี่ยว เครื่องบินเอ330 รุ่นยอดนิยมและเครื่องบินรุ่นใหม่อย่างเอ350เอ็กซ์ดับเบิ้ลยูบีในประเภทลำตัวกว้างขนาดกลางและเอ380 เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่มาก ในตลาดการขนส่งสินค้าแอร์บัสนำเสนอเครื่องบินที่ผลิตใหม่อย่างเอ330-200เอฟและเอ330พีทูเอฟ เครื่องบินโดยสารและสามารถบรรทุกสินค้าได้