มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวสู่ ‘e-Campus’ รุกรูปแบบการเรียนการสอนแบบ BYOD

0
347
image_pdfimage_printPrint

โซลูชั่น Cisco Unified Access สร้างแพลตฟอร์มการจัดการแบบครบวงจรสำหรับ

เครือข่ายใช้สายและไร้สายที่ปลอดภัย ครอบคลุมทั้งที่ศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต

 IMG_3913

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 30 สิงหาคม 2556 – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับที่สองของประเทศไทย ติดตั้งเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายครอบคลุมทั้งศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาด้วยโซลูชั่น Cisco Unified Access ภายใต้สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเอ็นเตอร์ไพรซ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแพลตฟอร์มเครือข่ายอัจฉริยะที่รองรับการเชื่อมต่อที่ราบรื่นและการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

เครือข่ายอัจฉริยะที่ปลอดภัยทั้งท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตช่วยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรลุเป้าหมายในการเป็น ‘e-Campus’ และเป็นรากฐานสำคัญในการรองรับการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในมหาวิทยาลัย หรือ Bring-Your-Own-Device (BYOD) รวมถึงสนองความต้องการในการเชื่อมต่อแบบไร้สายของเจ้าหน้าที่ คณาจารย์ และนักศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้น

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพื่อรองรับการติดตั้งโครงข่ายอีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิต ด้วยโซลูชั่น Cisco Unified Access™ ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถเพิ่มแบนด์วิธในการรองรับแอพพลิเคชั่นการเรียนการสอน จัดการเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้น และรองรับการใช้งาน IPv6 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกๆในประเทศไทยที่นำ IPv6 มาใช้

 

การอัพเกรดเทคโนโลยีครั้งนี้ช่วยให้นักศึกษากว่า 36,000 คน และบุคลากรราว 6,700 คนใน 26 คณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไร้สายที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ผ่านแอ็คเซสพอยต์ประมาณ 300 จุดที่ศูนย์ท่าพระจันทร์ และอีกประมาณ 800 จุดที่ศูนย์รังสิต ทั้งนี้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นจาก 54 Mbps เป็นความเร็วสูงสุด 1.3 Gbps

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ในการสร้าง ‘e-Campus’ โดยแบ่งการดำเนินการเป็นสองช่วง คือ ระยะที่หนึ่ง เป็นการติดตั้งเครือข่ายไร้สายที่ศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตในปี 2556 และระยะที่สอง ดำเนินการติดตั้งเครือข่ายไร้สายที่ศูนย์ลำปางและศูนย์พัทยาภายในปี 2557

 

Cisco Unified Access รองรับ ‘Internet of Everything’

Cisco Unified Access เป็นรากฐานทางธุรกิจในการรองรับ “Internet of Everything” ซึ่งหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความสะดวกง่ายดาย ความชาญฉลาด ความยืดหยุ่นในการปรับขนาด ประสิทธิภาพ

 

อินเทอร์เฟซที่เปิดกว้าง และความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้น  โซลูชั่น Unified Access ของซิสโก้ช่วยให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนไปสู่ Internet of Everything ได้อย่างราบรื่น และนำเสนอบริการที่แปลกใหม่สำหรับผู้ใช้บนเครือข่ายอัจฉริยะที่เรียบง่าย ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม พร้อมระบบวิเคราะห์ข้อมูล บริการที่รวดเร็วกว่า และการจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างเหนือชั้น

 

 

 

Cisco Unified Access ช่วยให้ฝ่ายไอทีมีแพลตฟอร์มที่จำเป็นในการปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจ เทคโนโลยี และความคาดหวังของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยแพลตฟอร์มเครือข่ายที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวที่มีนโยบายและการจัดการร่วมกันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สาย, เครือข่ายไร้สาย และเครือข่าย VPN สามเรื่องหลักสำคัญ (Three pillars) ของ Cisco Unified Access ได้แก่:

 

  • หนึ่งนโยบาย (One Policy): แพลตฟอร์มแบบครบวงจรระดับเวิลด์คลาส และ distributed enforcement

 

  • หนึ่งการจัดการ (One Management): โซลูชั่นเดียวสำหรับการจัดการวงจรการใช้งาน (comprehensive lifecycle management) และการตรวจสอบอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

 

  • หนึ่งเครือข่าย (One Network): เครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายที่ผสานรวมเข้าด้วยกันบนโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจร

 

 

คำกล่าวสนับสนุน:

 

  • รศ. กศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการคลัง และผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เชื่อว่าโซลูชั่น Cisco Unified Access ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถโดยรวมของเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับแนวโน้ม BYOD – Bring Your Own Device และประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ หลังจากการใช้งานจริง เราพบว่านักศึกษาและบุคลากรพอใจมากกับการเชื่อมต่อไร้สายทั้งที่ศูนย์ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต ในแง่ของเสถียรภาพ ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน พื้นที่การใช้งานที่กว้างขวางขึ้น และความเร็วที่สูงกว่า ภายในปี 2559 เราคาดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 50 แห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

 

“เรารู้สึกพอใจมากกับความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพของซิสโก้ รวมถึงการบริการที่ฉับไวและการฝึกอบรมด้านไอทีที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพให้กับบุคลากรของเรา โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีประสิทธิภาพและเครือข่ายไร้สายสมรรถนะสูง จะช่วยให้เราสามารถดำเนินงานโครงการด้านไอทีเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โครงการ e-Admin, e-Education & Research, e-Society, และ e-Culture เพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายในการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับสากลของเอเชีย”

 

 

 

  • คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้

 

“โลกของเราในส่วนของการทำงาน การเล่น และแม้กระทั่งการศึกษา กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์บนเครือข่าย               ด้วยความสามารถในการรองรับการนำเอาอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร หรือ BYOD มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเป็นผู้นำในการเป็นสถาบันการศึกษาแบบ Next-Generation สำหรับนักศึกษาทุกระดับชั้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ”

 

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีของซิสโก้ในการผสานรวมเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายได้ที่: Cisco Unified Access, Cisco Prime, Borderless Networks และ Cisco Wireless

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า “ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” หรือ มธก. โดยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ประศาสน์การ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ศูนย์ ได้แก่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปัจจุบันเปิดสอนรวมทั้งสิ้น 24 คณะวิชา ครอบคลุมทั้งสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ที่เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาของประเทศ โดยยึดมั่นคุณธรรมและประโยชน์ของประชาชน”

 

เกี่ยวกับซิสโก้:

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำระดับโลกด้านไอทีที่ช่วยให้ธุรกิจและบริษัทต่างๆสร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์และปรากฏการณ์ใหม่ๆที่เกิดจากการเชื่อมต่อ (connect) ดูข่าวและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซิสโก้ได้ที่ http://thenetwork.cisco.com ผลิตภัณฑ์ซิสโก้ในประเทศไทยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายโดยพาร์ทเนอร์ของ Cisco Systems International B.V ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทในเครือซิสโก้ ซีสเต็มส์ ทั้งหมด