สถานีโทรทัศน์ CGTN ของจีนเผยแพร่สารคดีใหม่ บันทึกเหตุการณ์ต่อสู้การก่อการร้ายในซินเจียง

0
411
image_pdfimage_printPrint

สถานีโทรทัศน์ CGTN เผยแพร่สารคดีใหม่บันทึกเหตุการณ์ต่อสู้การก่อการร้ายในซินเจียง โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในดินแดนทางตะวันตกสุดของประเทศจีน รวมทั้งระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และผู้รอดชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับมโนคติที่เป็นอันตรายต่อไป

นี่คือสารคดีเรื่องที่สามในสารคดีชุดบันทึกเหตุการณ์การก่อการร้ายในซินเจียง และการใช้ชีวิตของผู้คนหลังเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ

รับชมสารคดี Tianshan Still Standing ได้ที่ https://youtu.be/S2yWUopabvE

รับชมสารคดีสองเรื่องแรกได้จากลิงก์ด้านล่าง โดยแต่ละเรื่องมีความยาวไม่เกิน 1 ชั่วโมง

สารคดีเหล่านี้มีภาพและเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดความไม่สบายใจแก่ผู้ชมบางท่าน

รับชมสารคดี Fighting terrorism in Xinjiang ได้ที่ https://news.cgtn.com/news/2019-12-05/Fighting-terrorism-in-Xinjiang-MaNLLDtnfq/index.html

รับชมสารคดี The black hand — ETIM and terrorism in Xinjiang ได้ที่ https://news.cgtn.com/news/2019-12-07/The-black-hand-ETIM-and-terrorism-in-Xinjiang-MepKpOPAKA/index.html

ในระหว่างปี 2533-2559 ผู้ก่อการร้ายได้ทำการโจมตีหลายพันครั้งทั่วดินแดนซินเจียงอันกว้างใหญ่ ผู้บริสุทธิ์มากมายถูกพรากชีวิตในเหตุการณ์โจมตีอันเลวร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า และสำหรับผู้รอดชีวิต บาดแผลทางใจร้ายแรงไม่ต่างจากบาดแผลทางกาย Xia Yeling นักจิตวิทยาในเมืองอุรุมชี เปิดเผยว่า เธอได้ทำการรักษาผู้ป่วยหลายร้อยคนที่ทุกข์ทรมานจากภาวะ PTSD (ภาวะป่วยทางจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง) นับตั้งแต่เกิดเหตุจลาจลในเมืองอุรุมชีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2552 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 197 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,700 ราย นักจิตวิทยาท่านนี้เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ CGTN ว่า ผู้ที่ประสบภาวะ PTSD มีตั้งแต่นักเรียนชั้นมัธยม ไปจนถึงผู้สูงวัยอายุเกิน 80 ปี

บาดแผลทางใจไม่เคยจางหาย แต่ผู้คนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้ชีวิตต่อไป อย่างเช่น Mirexmetjan Rozi ผู้รอดชีวิตจากเหตุโจมตีมัสยิดอิดคาห์ในเมืองคัชการ์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เขาไม่เคยกลับไปที่มัสยิดดังกล่าวอีกเลย “แค่คิดถึงเรื่องนี้ก็ทำให้เหงื่อเย็น ๆ ไหลออกมา และทำให้ผมอยากร้องไห้”

ไกลออกไปกว่า 800 กิโลเมตร Dilqemer Tursun ผู้เห็นเหตุการณ์และผู้รอดชีวิตจากเหตุโจมตีในอำเภอหลุนไถ เมื่อเดือนกันยายน 2557 กำลังช่วยเหลือผู้คนในฐานะนักบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ สำหรับเธอนั้น ความรู้สึกที่มีต่อผู้ก่อการร้ายมีทั้งความเกลียดชังระคนกับการให้อภัย “พวกเขาคงถูกล้างสมองด้วยวิดีโอภาพความรุนแรง ฉันคิดว่าพวกเขาก็เป็นเหยื่อเหมือนกัน”

ขณะที่ประชาชนทุกข์ทนกับการก่อการร้าย ผู้ที่อยู่แนวหน้าก็ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายทุกวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรับมือกับผู้ก่อการร้ายที่ใช้อาวุธมากมายตั้งแต่ระเบิดทำเองไปจนถึงปืน AK-47 และต้องสูญเสียเพื่อนร่วมงานไปมากมายระหว่างปฏิบัติหน้าที่

ในเดือนเมษายน 2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจ Long Fei เสียชีวิตระหว่างการบุกจู่โจมที่ซ่อนกลุ่มก่อการร้ายในจังหวัดอีลี่ สถานการณ์ความวุ่นวายในพื้นที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตกเป็นเป้าโจมตีเสมอ

เหตุโจมตีรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจครั้งแล้วครั้งเล่า นำไปสู่การยกระดับความปลอดภัยในซินเจียง Yalqun Yaqup รองอธิบดีกรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะของซินเจียง ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ CGTN ว่า วิธีการของผู้ก่อการร้าย “โหดเหี้ยม” ขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ก่อการร้ายใช้ทุกอย่างตั้งแต่ดาบ ปืน ไปจนถึงระเบิดฆ่าตัวตาย และนี่เป็นครั้งแรกที่เขาเผยให้เห็นระเบิดทำเองกว่า 5,000 ลูกที่ยึดมาจากกลุ่มก่อการร้าย “Kuresh” ในปี 2542 รวมถึงอาวุธกว่า 15,000 รายการที่ยึดมาได้ในปี 2549 ซึ่งบางส่วนลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ

รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200620/2835991-1-a
คำบรรยายภาพ – สารคดี Tianshan Still Standing

โลโก้ – https://photos.prnasia.com/prnh/20200228/2733726-1-logo