ภาวะกลืนลำบากภัยเงียบในผู้สูงอายุ(2)

0
734
image_pdfimage_printPrint

ภาวะกลืนลำบากภัยเงียบในผู้สูงอายุ(2)

​หลังจากคราวที่แล้ว เราได้รู้เกี่ยวกับภาวะกลืนลำบากกันไปแล้วว่าเป็นอย่างไร มีข้อสังเกตอะไรได้บ้างที่บ่งชี้ว่าเรานั้นกำลังเข้าสูงภาวะกลืนลำบาก วันนี้เราจะมาพูดในส่วนของการรักษาภาวะกลืนลำบากกันบ้างว่าสามารถทำได้อย่างไร
แนวทางการรักษาภาวะกลืนลำบาก
– รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะกลืนลำบาก
– ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกลืนลำบาก
– รักษาและฟื้นฟูความสามารถในการกลืน
– ใช้เทคนิคชดเชยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกลืน
– ปรับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารและการกลืน ให้เหมาะสมและปลอดภัย
เป้าหมายของการรักษาภาวะกลืนลำบาก
– กลืนอาหารและน้ำได้อย่างปลอดภัย
– ได้รับสารอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
– ป้องกันภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก
– คงไว้หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับชีวิตคนเรา
คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย
1. นั่งตัวตรงขณะรับประทานอาหารและหลังอาหารควรนั่งต่ออย่างน้อย 30 นาที
2. รับประทานอาหารอย่างช้า ๆ และให้เวลาสำหรับมื้ออาหารอย่างเพียงพอ
3. อย่ารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำขณะเหนื่อยหรือรีบเร่ง
4. ไม่รับประทานอาหารหรือน้ำคำใหญ่เกินไป
5. ลดสิ่งรบกวนขณะรับประทานอาหาร เช่น การพูดคุย การดูทีวี
6. รับประทานอาหารคำละ 1 ชนิด การมีเนื้ออาหารหลายชนิดใน 1 คำจะสำลักง่ายขึ้น
7. อย่ารับประทานอาหารแห้งเกินไป อาจใช้ซอสหรือน้ำซุปข้นทำให้อาหารเกาะกันเป็นก้อน จะกลืนง่ายและตกค้างในปากและคอหอยน้อยลง
8. ผู้ที่มีปัญหาอ่อนแรงครึ่งซีก เมื่อรับประทานอาหารควรวางอาหารบนลิ้นด้านที่แข็งแรง
9. เลี่ยงการใช้ยาที่ง่วงซึม หรือมีผลข้างเคียงเรื่องปากและคอแห้ง เนื่องจากจะทำให้กลืนลำบากมากขึ้น
10. หากจำเป็นต้องใช้เทคนิคช่วยกลืน ควรใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา

การออกกำลังกายอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกลืน
​ออกกำลังกายอวัยวะต่าง ๆ ตามภาพประกอบท่าละ 10 ครั้งดังรูปภาพ

—————————-

เรียบเรียงโดย
นางสาวจริญญา บุญริ้ว
นายฐิติวัฒน์ ศรีบุญธรรม

บอก”รัก”ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home
Tel: 094-426-4439
Line id: @cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com