สายการบินเอทิฮัดร่วมกับเจ็ทเทนเนอร์ลดปริมาณน้ำหนักในการบรรทุกสินค้า

0
236
image_pdfimage_printPrint

สายการบินเอทิฮัดร่วมกับเจ็ทเทนเนอร์เปิดตัวตู้บรรทุกสินค้าและสัมภาระผู้โดยสาร (Unit Load Device – ULD) ที่น้ำหนักเบาและมีความกว้างมากขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม เอแอลเอฟ

SONY DSC

หากเปรียบเทียบกับตู้บรรทุกสินค้าฯรุ่นเดิม ซึ่งมีน้ำหนักรวมกว่า 196 กิโลกรัม ตู้บรรทุกสินค้าฯรุ่นเอแอลเอฟนั้นมีน้ำหนักที่เบากว่ารุ่นเดิมอยู่ที่ 130 กิโลกรัมหรือคิดเป็น 34 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้สามารถช่วยลดการบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 66 กิโลกรัมต่อหน่วย หรือกว่า 116 กิโลกรัมต่อเที่ยวบิน

 

สายการบินเอทิฮัดจะได้รับการส่งมอบตู้บรรทุกสินค้าฯรุ่นใหม่ในปีนี้ถึง 250 ตู้ด้วยกัน และสายการบินฯประมาณการณ์ถึงน้ำหนักที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จะช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ถึง 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2556 และ 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2557

 

ทั้งนี้จะสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1100 ตัน ในปี พ.ศ. 2556 และ 4000 ตัน ในปี พ.ศ. 2557

 

ตู้บรรทุกสินค้าฯที่ได้มาตรฐาน ได้รับการปรับปรุงพัฒนาโดยบริษัท โซดิแอค แอโรสเปซ แอร์ คาร์โก อิควิปเมนต์ อีกทั้งยังประกอบขึ้นจากวัสดุที่รับประกันความคงทนแข็งแรง

 

มร.เดวิด เคอร์ รองประธานสายการบินเอทิฮัดฝ่ายขนส่งสินค้า กล่าวว่า “การนำตู้บรรทุกสินค้าและสัมภาระผู้โดยสารที่มีน้ำหนักเบาและมีความกว้างมากขึ้นเป็นสองเท่ามาใช้เพื่อให้บริการผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าของสายการบินเอทิฮัดแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมทางด้านการขนส่งที่ยั่งยืนของเรา เพื่อรักษามาตรฐานการให้บริการของเราให้เป็นเลิศที่สุดในโลก”

 

“จากการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเผาไหม้พลังงานเชื้อเพลิงที่ต่ำลง การลดลงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งต้นทุนที่มีศักยภาพของเรานั้นจะสามารถขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของเราให้เดินหน้าต่อไปในภายภาคหน้า เราหวังที่จะได้ร่วมงานกับเจ็ทเทนเนอร์และเหล่าผู้ผลิตเพื่อริเริ่มการดำเนินการที่จะช่วยลดปริมาณน้ำหนักได้ในอนาคต”

 

มร. อเล็กซานเดอร์ พลูเมเชอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเจ็ทเทนเทอร์ กล่าวเสริมว่า “เรายังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างสายการบินเอทิฮัดและโซดิแอค แอโรสเปซ แอร์ คาร์โก อิควิปเมนต์ ในการพัฒนาปรับปรุงสินค้าของเรา เรามุ่งมั่นคิดค้นวิธีที่สามารถลดปริมาณน้ำหนักให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดน้ำหนักตู้บรรทุกสินค้าฯที่ใช้สำหรับฝูงบินได้ในอนาคต”

 

คำบรรยายภาพตู้บรรทุกสินค้าและสัมภาระผู้โดยสารกำลังรอโหลดขึ้นเครื่อง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต