อลิอันซ์รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ระบุสินทรัพย์ทางการเงินของไทยขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน

0
458
image_pdfimage_printPrint

อลิอันซ์รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ระบุสินทรัพย์ทางการเงินของไทยขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน
• สินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกลดลงในปี 2561 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงิน
• ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของสินทรัพย์ ระหว่างประเทศที่ยากจนและร่ำรวย กลับเพิ่มสูงขึ้น
• การเติบโตของหนี้สินยังคงมีอยู่ในระดับสูง
• ประเทศไทย พบว่า การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินหยุดชะงัก ขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2551
• ความมั่งคั่งของชนชั้นกลางทั่วโลกหดตัว

รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก จัดทำโดยอลิอันซ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 10 ซึ่งเฝ้าจับตาสถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศ/ภูมิภาคอย่างใกล้ชิด บ่งชี้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินในปี 2561 ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและประเทศ/ ภูมิภาคเกิดใหม่ลดลงพร้อมกันเป็นครั้งแรก

นักออมเงินทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะลำบากเนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ความตึงเครียดทางการเมือง และความเข้มงวดของเงื่อนไขทางการเงินและการปรับปรุงบรรทัดฐานนโยบายทางการเงิน (ที่ประกาศออกมา)

ตลาดหุ้นตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกลดลงประมาณ 12% ในปี 2561 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นภาคครัวเรือนลดลง 0.1% และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 172.5 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 5,886 ล้านล้านบาท)

ไมเคิล ไฮซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น กำลังก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ” การรื้อระบบระเบียบทางเศรษฐกิจโลกเป็นผลเสียต่อการสะสมความมั่งคั่ง ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขการเติบโตของสินทรัพย์ สถานการณ์การค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นฝ่ายชนะ หรือทั้งหมดจะเป็นฝ่ายแพ้เหมือนในอดีต เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว การปกป้องทางการค้าที่รุนแรงจะไม่มีผู้ชนะ”

การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศไทยหยุดชะงัก
สินทรัพย์ทางการเงินรวมของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.8% ในปี 2561 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 2551 โดยเมื่อสองปีก่อน อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 9% ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างฮวบฮาบถึง 6.6% ภาคการประกันภัยและเงินบำนาญก็มีอัตราการเติบโตที่น่าผิดหวังเช่นกัน โดยขยับขึ้นเพียง 3.2% ในปี 2561 ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่น้อยที่สุดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่เงินฝากของภาคธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากถึง 4.8% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบห้าปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของหนี้สินขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 ดังนั้น อัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนได้พุ่งสูงขึ้นถึง 78.4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งภูมิภาคที่ 52.4% (เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น)

• ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของสินทรัพย์ ระหว่างประเทศที่ยากจนและร่ำรวย เพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2561 สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นในตลาดเกิดใหม่ไม่เพียงแต่ลดลงเป็นครั้งแรกเท่านั้น แต่การลดลงต่ำถึง 0.4% นั้นยังเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าในประเทศอุตสาหกรรม (-0.1%) การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของประเทศจีน ซึ่งมีสินทรัพย์ลดลง 3.4% นั้นเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญอื่น ๆ เช่น เม็กซิโกและแอฟริกาใต้ก็ต้องแบกรับการขาดทุนจำนวนมากในปี 2561

นับเป็นการผกผันของแนวโน้มทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ เนื่องจากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตของทรัพย์สินทางการเงินในแถบประเทศที่ยากจนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 11.2% สูงกว่าการเติบโตในแถบประเทศที่ร่ำรวย ถึงแม้จะรวมการเติบโตในปี 2561 ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าประเด็นสงครามทางการค้าได้ส่งสัญญาณติดเบรกอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ประเทศที่ยากจนไม่สามารถไล่ตามได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประเทศอุตสาหกรรมก็ไม่ได้รับประโยชน์เช่นกัน เช่นในประเทศญี่ปุ่น (ลดลง 1.2%) ยุโรปตะวันตก (ลดลง 0.2%) และอเมริกาเหนือ (ลดลง 0.3%) ประเทศเหล่านี้ต่างก็ยังคงต้องรับมือกับการเติบโตของสินทรัพย์ที่ติดลบเช่นเดียวกัน

เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) พบว่า สินทรัพย์ทางการเงินลดลง 0.9%
สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นของภาคครัวเรือนในเอเชียลดลง 0.9% ในปี 2561 นับเป็นการถดถอยครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 ซึ่งเกิดขึ้นจากการลดลงอย่างฮวบฮาบของหลักทรัพย์ต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนและกองทุนเพื่อการลงทุนที่ลดลงมากถึง 14% ในทางกลับกัน เงินฝากธนาคาร เบี้ยประกันภัยและเงินบำนาญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 8.7% และ 8.2% ตามลำดับ

เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างพอร์ตโฟลิโอ แนวโน้มประการหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อตลาดการเงินในเอเชียมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนแบ่งของสินทรัพย์ที่มีอยู่ในรูปเงินฝากธนาคารทั่วไปจึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงปลายปี 2561 ลดลงไปอยู่ที่ 46.4% ซึ่งต่ำกว่าในช่วงต้นศตวรรษอยู่ที่ 16% ผลที่ตามมาคือ ส่วนแบ่งของหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจากราว 20% เป็น 36.2% เนื่องจากว่าภาคครัวเรือนส่วนใหญ่ลงทุนในตลาดทุนกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของเบี้ยประกันภัยและเงินบำนาญยังมีเพียงแค่ 16% ซึ่งก็คือครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งตลาดโลกนั่นเอง

มิเคล่า กริมม์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่มอลิอันซ์ และผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าวว่า “มันเป็นพฤติกรรมการออมที่ ขัดแย้งในตัว” ประเทศในเอเชียเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วและหลายคนออมมากขึ้นเนื่องจากโครงการบำนาญของรัฐในหลายประเทศเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือให้เงินบำนาญแค่ขั้นพื้นฐาน สำหรับผุ้สูงวัย แต่ดูเหมือนว่าพวกเขายังไม่เปิดรับผลิตภัณฑ์ที่ให้การคุ้มครองผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นก็คือ ประกันชีวิตและประกันแบบบำนาญ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจประกันภัยเองควรเพิ่มความพยายามมากขึ้นเพื่อนำเสนอโซลูชันที่น่าสนใจในส่วนนี้ สิ่งนี้จะเป็นความจริงหากมีการริเริ่มพัฒนาความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงการประกันชีวิตและประกันแบบบำนาญ”

การขยายตัวของหนี้สินยังทรงตัวในระดับสูง
หนี้สินภาคครัวเรือนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5.7% ในปี 2561 ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้วที่ 6.0% แต่สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระยะยาวที่ 3.6% ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินทั่วโลก (สัดส่วนหนี้สินต่อGDP) ยังคงทรงตัวที่ 65.1% เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง ภูมิภาคตางๆ ส่วนใหญ่เห็นการพัฒนาที่คล้ายกันในส่วนของหนี้สิน แต่เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ถือเป็นคนละเรื่อง จริงอยู่ที่ว่าการเติบโตของหนี้ชะลอตัวลงในปี 2561 มาอยู่ที่ 13.8% (ปี 2560 อยู่ที่ 15.7%) แต่เพียงแค่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินก้าวกระโดดสูงขึ้นเกือบสิบเปอร์เซ็นต์เป็น 52.4% โดยตัวเลขมาจากจีนเป็นหลักซึ่งหนี้เพิ่มสูงขึ้นมากถึง 15% เป็น 54.0%

แพทริเซีย ปาเลโย โรเมโร นักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์และผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งของหนี้ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนนั้นน่าเป็นห่วง ภาคครัวเรือนของจีนเป็นหนี้ มาเท่ากับคนในประเทศเยอรมันหรืออิตาลี ครั้งสุดท้ายที่เราเห็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนอย่างรวดเร็วก็คือในสหรัฐอเมริกา สเปนและไอร์แลนด์เพียงไม่นานก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ระดับหนี้ในจีนยังคงต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ยังมีเวลาที่จะหามาตรการรับมือแก้ไขและหลีกเลี่ยงวิกฤติหนี้”

เนื่องจากการเติบโตหนี้สินสูงขึ้นต่อเนื่อง สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิ อาทิ ผลต่างระหว่างสินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นและหนี้ทั่วโลกลดลง 1.9% มาอยู่ที่ 129.8 ล้านล้านยูโร ณ สิ้นปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกิดใหม่ สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิหดตัวลดลง 5.7% (กลุ่มประเทศ/ ภูมิภาคอุตสาหกรรมลดลง 1.1%) เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ลดลง 6.0%

สิงคโปร์แย่งตำแหน่งแชมป์จากญี่ปุ่น
ผลมาจากสินทรัพย์ที่ซบเซาและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ทำให้สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิในประเทศไทยลดลง 5.6% ในปี 2561 ด้วยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อหัวอยู่ที่ 3,580 ยูโร (ประมาณ 122,150 บาท) อันดับของประเทศไทยลดลงหนึ่งขั้นมาอยู่ที่อันดับ 45 ในการจัดอันดับประเทศที่ร่ำรวยที่สุด (สินทรัพย์ทางการเงินต่อหัว ดูตารางด้านล่าง) ลำดับสูงสุด คือ สหรัฐอเมริกาแซงหน้าสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งด้วยค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ตามมาด้วยสิงคโปร์ที่ไต่ขึ้นไปอยู่อันดับที่สามเป็นครั้งแรก ครองตำแหน่งประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย หากมองในระยะยาวโดยดูว่าอันดับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งศตวรรษ พบว่า การเพิ่มขึ้นของเอเชียเป็นที่ประจักษ์ กล่าวคือ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ ได้แก่ สิงคโปร์ (เพิ่มขึ้น 13 อันดับ) และไต้หวัน (10 อันดับ) และสุดท้าย ความถดถอยในปีที่แล้วตกเป็นของยักษ์ใหญ่จีน (เพิ่มขึ้น 6 อันดับ) และเกาหลีใต้ (5 อันดับ) ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยมีลักษณะเหมือนประเทศในยุโรปมากขึ้นโดยอันดับลดลงถึง 9 ขั้น

หรือเป็นแค่จุดสะดุดเล็กน้อย?
นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษที่ความมั่งคั่งของชนชั้นกลางทั่วโลกไม่ขยายตัว กล่าวคือ ในช่วงปลายปี 2561 มีคนประมาณ 1,040 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นชนชั้นกลางที่ครองความมั่งคั่ง ซึ่งมีจำนวนไม่มากหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนหน้านี้ เมื่อเทียบกับฉากหลังของการหดตัวของสินทรัพย์ในประเทศจีน สิ่งนี้ไม่ได้เป็นที่ประหลาดใจครั้งใหญ่แต่อย่างใด เพราะจนถึงตอนนี้การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางรายใหม่ทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นของจีน กล่าวคือ สมาชิกเกือบครึ่งของกลุ่มชนชั้นกลางพูดภาษาจีนและ 25% เป็นกลุ่มชนชั้นสูง

อาร์เน่ โฮลซ์ฮาวเซ่น หัวหน้ากลุ่มตลาดประกันภัยและความมั่งคั่งของอลิอันซ์และเป็นผู้เขียนรายงานร่วม กล่าวว่า “ยังคงมีโอกาสอีกมากสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของโลก หากประเทศที่มีประชากรหนาแน่นอย่างเช่น บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซียและโดยเฉพาะอินเดียจะมีการกระจายระดับความมั่งคั่งเทียบเคียงได้กับจีน ชนชั้นกลางทั่วโลกประมาณ 350 ล้านคนและชนชั้นสูงทั่วโลกประมาณ 200 ล้านคนจะมีมากขึ้น และการกระจายความมั่งคั่งทั่วโลกจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นอีกเล็กน้อย ณ สิ้นปี 2561 ประชากรที่ร่ำรวยที่สุด 10% ของประชากรโลกเป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิทั้งหมดประมาณ 82% ยังคงเป็นที่กังขาว่าโลกาภิวัตน์และการค้าเสรีในปัจจุบันทำให้ผู้คนอีกหลายล้านคนทั่วโลกสูญเสียโอกาสในความก้าวหน้าของตน”

ตารางจัดลำดับสินทรัพย์ (ประเทศ) ในปี 2018