ITD ร่วมกับ UNCTAD เปิดตัว “รายงานการค้าและการพัฒนา 2561”

0
869
image_pdfimage_printPrint

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ร่วมกับที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) เปิดตัว “รายงานการค้าและการพัฒนา 2561” (Trade and Development Report 2018) ซึ่งเป็นการเปิดเผยผลการวิเคราะห์แนวโน้มการค้าและการพัฒนาของโลกให้แก่ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไทยได้ทราบพร้อมกัน ทั่วโลก
POWER: Multilateral Platform-WTO ,World Bank
รายงาน กล่าวถึง อำนาจการต่อรอง และขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ส่งสัญญาณถึงการสืบเนื่องของผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ที่รุนแรงมาก(hyperglobalization) ที่ระบุไว้ในรายงานการค้าและการพัฒนาประจำปี 2560 : Trade and Development Report 2017 ที่กล่าวถึงเรื่อง การก้าวผ่านความเข้มงวด : มุ่งสู่โลกาภิวัฒน์แห่งข้อตกลงใหม่ : Beyond Austerity : Towords a Global New Deal
ทั้งนี้ ประเทศต่างๆควรหันมาสร้างความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค การเพิ่มการลงทุนระยะยาวผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หลังจากที่ภาคเอกชนไม่ได้ลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวแล้ว
ประเทศกำลังพัฒนาต่างขยายพื้นที่พิเศษเพื่อดูแลกระบวนการทางการค้าและกระบวนการเพื่อการส่งออก เป็นการส่งเสริมให้รวมเอางานจากหลายๆบริษัทให้เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าโลก ( Global Value Chains : GVCs ) แต่บ่อยครั้งก็พบว่า GVCs กลายเป็นยุทธศาสตร์ของบริษัทข้ามชาติ ที่สร้างเครือข่าย และออกแบบระบบบนเงื่อนไขของตัวเอง ด้วยการกำหนดหลักการเพิ่มมูลค่า และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา จนทำให้มูลค่าสินค้าจะสูงขึ้นเมื่อผ่านกระบวนการของผู้ส่งออก ทำให้ผู้ผลิตสินค้านั้นๆซึ่งก็คือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะได้ประโยชน์เพียงน้อยนิด ซึ่งปัจจุบันจะสามารถสังเกตจากแนวโน้มของรายได้ของประเทศพัฒนาแล้วในส่วนรายได้ Royalty ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
PLATFORMS : GVCs ,Digital Platform
อังค์ถัด ได้เสนอว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่เดิมคาดหวังไว้สูงว่าจะต้องได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศนั้น ก็อาจผิดหวังได้หากไม่มีการจัดการเพื่อให้เข้าสู่การเพิ่มมูลค่าด้วย GVCs และการลงทุนเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและโครงสร้างพื้นฐาน
ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องใช้ข้อดีของยุคดิจิทัลที่มีข้อมูลอันชาญฉลาด ที่ถูกสร้างขึ้นจากชุดคำสั่งตามขั้นตอนปฏิบัติงานในคอมพิวเตอร์ (Algorithms) จึงทำให้มี “บิ๊กดาต้า : Big Data” ที่จะช่วยบริษัทขนาดใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านดิจิทัลหรืออื่นๆ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น สามารถขยายและกำหนดความร่วมมือต่อห่วงโซ่การผลิตที่ซับซ้อนได้ ภายใต้เงื่อนไขนี้สามารถส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยฮาร์ดหรือซอฟ ดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ยุคดิจิทัล ไม่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องราวที่ดี เพราะสิ่งที่เป็นข่าวร้ายแห่งยุคดิจิทัลคือ ดิจิทัลมีช่องว่างทางธุรกิจที่กว้างขึ้น จากสถิติระบุว่า มี บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลก(พิจารณาจากมูลค่าตลาด) จำนวนทั้งหมด 25 แห่ง โดยในจำนวนนี้มี 14 แห่ง เป็นบริษัทจากสหรัฐฯ 3 แห่ง เป็นบริษัทมาจากยุโรป 3 แห่งบริษัทมาจากจีน และ 4 แห่งบริษัทจากเอเชียอื่นๆที่ไม่ใช่จีน และ 1 แห่งเป็นบริษัทจากแอฟริกา
“จะเห็นว่าขนาดของช่องว่างเพิ่มขึ้นและรวดเร็วขึ้น เนื่องมาจากวิวัฒนาการของดิจิทัล ทำให้เรามีข้อมูลที่มีคุณค่าเสมือนมีแนวคิด(Idea) และองค์ความรู้ ซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งที่การค้าสินค้า และบริการทางกายภาพทั่วไปทำได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหากได้รับการจัดการอย่างถูกต้องจะสามารถใช้กระตุ้นผู้ซื้อได้อีกมหาศาล” รายงานระบุ
สิ่งท้าทายที่ภาคธุรกิจกำลังเผชิญ 2 ประการ ได้แก่ 1. การแปลงทรัพยากรที่ด้อยค่าให้กลายเป็นสิ่งมีค่า 2. การรู้จักขนาดของเศรษฐกิจอย่างแท้จริงด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งนี้ หากภาคธุรกิจทำสองสิ่งนี้ได้ ผลที่ได้มาคือ “ธุรกิจไร้ขีดจำกัด” (limitless)
THE FREE TRADE :
ภายใต้ภาวะที่เป็นอยู่นี้ ก็ยังพบว่าโลกต้องเผชิญกับความไม่สมดุลมากขึ้น สังคม ภาคผลิต GVCs ภาคแรงงาน ภาคการค้า (ดุลการค้า) ภาครัฐ (รายได้จากภาษีและนโยบายการคลัง) แม้จะต้องเพิ่มกฎระเบียบทางการคลัง กำหนดกฎหมายแห่งโลกดิจิทัล แต่ก็ดูเหมือนว่า “ระบบการค้าพหุภาคี (Multilateral Trade system) ” ก็กำลังเดินมาถึงทางตัน
เกิดคำถามว่ากลุ่มเศรษฐกิจใดจะเป็นตัวนำการค้าโลกในปีนี้ รายงานระบุถึงกลุ่มเศรษฐกิจกำลังพัฒนาว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสแรกปี 2561 จากการพัฒนาของจีน และอินเดีย ทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสงครามการค้าที่กำลังขยายตัวจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเสียหายให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ และการจ้างงาน ต่อทุกๆประเทศสมมติฐานแห่งที่มาของสงครามการค้าจำนวน 4 ประการได้แก่
1. การตั้งกำแพงภาษี เพื่อลดดุลการค้า สหรัฐถูกประเมินว่าที่จะขึ้นกำแพงภาษี 20% ต่อทั้งหมดของการนำเข้าจากจีน และสองในสามของการนำเข้าจาก แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เกาหลี และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคาดการณ์ได้ว่าจีน และประเทศเหล่านี้จะตอบโต้กันไปมาด้วยการขึ้นกำแพงภาษี
2. การแสวงหารายได้ทางภาษีเพิ่ม มาตรการการชดเชยหลังรายได้จากผู้ส่งออกของประเทศต่างๆ ที่เดิมจ่ายภาษีให้กับอีกประเทศหนึ่ง แต่เมื่อการค้าลดลงก็ย่อมต้องหารายได้จากส่วนอื่นมาชดเชย เพื่อลดผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษี ถือว่าเป็นแนวทางที่นำมาใช้เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานในประเทศ และเพิ่มรายได้ ของประเทศที่สูญเสียไป
3. การอ่อนลงของค่าเงิน มีการนำมาตรการลดอัตราแลกเปลี่ยนรูปแบบต่างๆมาใช้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราว เช่น หลายประเทศเลือกที่จะผูกพันเงินสำรองไว้กับค่าเงินหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัญหาสงครามการค้ากำลังทำให้หลายปีจากนี้แนวโน้มค่าเงินดังกล่าวลดลง
4. อัตราจ้างงาน และต้นทุนการผลิต สืบเนื่องจากผลกระทบส่งครามการค้าโลกเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนลดลงรายได้ที่เข้าสู่ประเทศก็ลดลงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เกิดการเรียกร้องการขึ้นอัตราจ้างแรงงาน ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นและเกิดเงินเฟ้อในที่สุด
“สงครามการค้าเป็นอันตรายต่ออัตราเติบโต การกระจายรายได้ และการจ้างงาน ในหลายๆประเทศ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตอบโต้กันไปมาในการตั้งกำแพงภาษี ซึ่งสหรัฐจะเจอการลดลงของดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่จีนและประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในทางตรงกันข้าม ทั้งนี้การลดลงของภาคการส่งออกสหรัฐ มีผลต่อการบริโภคและการลงทุนระดับโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าแนวโน้มที่ลดลงจะส่งผลต่อประเทศกำลังพัฒนาที่จะมีการส่งออกที่ลดลงตามไปด้วย”รายงานระบุ