กสอ. จับมือ เคเอกซ์ มจธ.จัดงานส่งเสริมการใช้พื้นที่ร่วมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ Co-Making Space เสริม ความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่

0
441
image_pdfimage_printPrint

รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนและสร้างความก้าวหน้า
ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งกลไกในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น คือ
การสร้างให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สามารถสร้างมูลค่าและ
แข่งขันในตลาดโลกได้
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดกิจกรรม “Industry Tech Fair 2018” ส่งเสริมการใช้พื้นที่ร่วมเพื่อสร้าง
ธุรกิจใหม่ (Co-Making Space) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อาคารเคเอกซ์) ถนน
กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีความพร้อมในการ
สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ เข้ารับความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการ
เชื่อมองค์ความรู้จากหลายหน่วยงาน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายใหม่ของไทยแข็งแกร่ง และเพิ่มขีดความ
สามารถการแข่งขันให้กับ SMEs เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน สร้างความพร้อมและรากฐานที่มั่นคงใน
การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้ต่อไป
นางสาวศราวณีย์ ศรีเนาวรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสร้างสังคมผู้ประกอบการ รักษาราชการแทนผู้
อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการใช้
พื้นที่ร่วมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ (Co-Making Space) ประกอบด้วยกิจกรรม Knowledge Sharing ซึ่งเป็นการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อกระตุ้นให้เกิดแนวทางในการนำไอเดียไปต่อยอดและลงทุน กิจกรรม
Sprint เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการ และนำไอเดียมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
และกิจกรรมให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมกันนี้ยังมีการจัดแสดงผลงาน
ต้นแบบ กิจกรรมการทดสอบตลาด ประกวดแนวคิดทางธุรกิจ และเจรจาธุรกิจ กับ SMEs และแหล่งเงินทุน
ซึ่งเป็นการขยายโอกาสและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ ได้เป็นอย่างดี
นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์อำนวยความสะดวกด้านบุคลากรและ
เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ
SMEs, Startup และ Social Enterprise ให้เกิดการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งผลักดันและส่งเสริมการนำงานวิจัย
นวัตกรรม และเทคโนโลยีไปพัฒนาผู้ประกอบการสร้างความเชื่อมโยงและบูรณาการในด้านต่างๆ ให้เกิดการ
เรียนรู้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ รวมถึงกลุ่มนักประดิษฐ์
นักวิจัยและนักพัฒนา นักออกแบบที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ ได้รับการปรับแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อ
กระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมที่สามารถต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้
มจธ. พัฒนาอาคารเคเอกซ์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ระหว่างภาคเอกชน
ชุมชน และมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายที่จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม
และการออกแบบ จากภายในมหาวิทยาลัย และสถาบันเครือข่าย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะ
สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นวัตกิจ (Startups)
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจัดแสดงสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากพันธมิตร และนักศึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบ
ที่สนใจสามารถเลือกชมผลงาน และเข้าร่วมฟังการถ่ายทอดเทคโนโลยีในกิจกรรม Knowledge Sharing อาทิ
“ระบบอัตโนมัติ (Automation) กับการประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม” การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ระบบอัตโนมัติพลังงานทดแทน การยืดอายุผลิตภัณฑ์
ของอาหาร
ในฐานะมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มจธ. ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนา
ศักยภาพในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการ SMEs Startup และ Social Enterprise อาทิ การให้คำ
ปรึกษา SMEs โดยการเข้าไปวินิจฉัยปัญหา พร้อมจับคู่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในการ
ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกลไกต่างๆ เช่น การนำความรู้
หรืองานวิจัยของ มจธ. ที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์มาจัดอบรมให้ผู้ประกอบการ การจัดกิจกรรม
พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ร่วมกัน รวมทั้งกิจกรรมอันจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ตลอดจน
เชื่อมต่อการบริการด้านการพัฒนาผู้ประกอบการจากเครือข่ายพันธมิตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้
ประกอบการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างสมรรถนะความสามารถของผู้ประกอบการ SME ไทย
และช่วยประเทศขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของ
ประเทศชาติต่อไป