เครื่องมือรุ่นใหม่ที่ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น มาพร้อมช่วงการทำงานที่แรงดันไฟฟ้าที่กว้างขึ้น และตัวเลือกอินเทอร์เฟซที่ดีขึ้น เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายของไมโครชิพ
รายงานผลการวิจัย Embedded Market Study ประจำปี 2560 ของ AspenCoure ระบุว่า ขั้นตอนการแก้ไขจุดผิดพลาดของโปรแกรม (debugging) ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่วิศวกรออกแบบ Embedded ต้องการเห็นการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด [NASDAQ: MCHP] จึงขอแนะนำอุปกรณ์ MPLAB® PICkitTM 4 In-Circuit Debugger ซึ่งเป็นเครื่องมือราคาประหยัดเพื่อพัฒนาการเขียนโปรแกรมและการแก้ไขจุดบกพร่องในแผงวงจร PICkit 4 โดยมุ่งมั่นให้มาแทนที่เครื่องมือยอดนิยมอย่าง PICkit 3 ด้วยคุณสมบัติในการเขียนโปรแกรมได้เร็วกว่าถึงห้าเท่า ช่วงแรงดันไฟฟ้าที่กว้างขึ้น (1.2-5V) การเชื่อมต่อ USB ที่ดีขึ้น และตัวเลือกอินเทอร์เฟซสำหรับการแก้บั๊กที่หลากหลายกว่าเดิม โดยเครื่องมือพัฒนาตัวใหม่ล่าสุดนี้ นอกจากจะรองรับไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCUs) ตระกูล PIC(R) และ Digital Signal Controllers (DSCs) ตระกูล dsPIC(R) ของไมโครชิพแล้ว ยังสามารถรองรับการเขียนโปรแกรมและแก้บั๊กสำหรับอุปกรณ์การเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์ตระกูล CEC 1702 อีกด้วย
เครื่องมือเขียนโปรแกรมและแก้บั๊กราคาย่อมเยานี้ ไม่เพียงตอบโจทย์การออกแบบงาน 8 บิตเท่านั้น แต่ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานพัฒนา 16 บิต และ 32 บิต เนื่องด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ATSAME70Q21B ประสิทธิภาพสูงความถี่ 300 MHz ที่ติดตั้งมาบนบอร์ด การเขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้นนั้นเป็นประโยชน์หลายประการ ทั้งช่วงรอเวลาที่สั้นลงและความสามารถในการผลิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะในการออกแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตที่มีเนื้อที่ความจำใหญ่ขึ้น
เครื่องมือพัฒนา PICkit 4 ช่วยให้นักออกแบบสามารถเขียนและแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรมโดยใช้ Graphic user interface ของ MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) ได้ โดยเครื่องมือนี้จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของวิศวกรออกแบบโดยใช้อินเทอร์เฟซ USB 2.0 ความเร็วสูง และสามารถนำไปเชื่อมต่อกับ target ผ่านทางหัวต่อ single inline header แบบ 8 pin ซึ่งรองรับอินเทอร์เฟซขั้นสูง อาทิ JTAG แบบสายไฟ 4 เส้น และ serial wire debug ที่มาพร้อมเกตเวย์สำหรับสตรีมมิงข้อมูล อุปกรณ์รุ่นนี้ยังสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่เก่ากว่า ได้แก่ demo board, header และ target system โดยใช้ JTAG แบบสายไฟ 2 เส้น และสามารถทำงานร่วมกับ In-Circuit Serial Programming(TM) (ICSP) ได้อีกด้วย
อินเทอร์เฟซรูปแบบใหม่ ๆ ทำให้เครื่องมือราคาย่อมเยานี้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์การเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์ในตระกูล CEC1702 ของไมโครชิพได้ MCU ขนาด 32 บิต กินไฟน้อยแต่ทรงพลังรุ่นนี้นำเสนอความสามารถมากมาย อาทิเช่น encryption, authentication and private and public key capabilities จากนี้ไปผู้ใช้ CEC1702 จะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องมือพัฒนาและการสนับสนุนจากไมโครชิพ โดยไม่จำเป็นต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับเครื่องมือภายนอกเพื่อการเขียนโปรแกรมและแก้บั๊ก
รอดเจอร์ ริชชีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบการพัฒนาของไมโครชิพ กล่าวว่า “เครื่องมือพัฒนาที่ดีขึ้นและเร็วขึ้นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง เครื่องมือเขียนโปรแกรม MPLAB PICkit 4 มีฟีเจอร์ทุกอย่างที่วิศวกรออกแบบต้องการในการทำงานกับอุปกรณ์ PIC, dsPIC และ CEC1702 ทั้งยังมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ในอนาคตในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ภารกิจของเราคือการจัดหาเครื่องมือพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและใช้งานง่ายที่สุดในอุตสาหกรรมด้วยราคาที่ย่อมเยา”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือพัฒนา MPLAB PICkit 4 ได้ที่ www.microchip.com/PICkit4
การวางจำหน่าย
เครื่องมือพัฒนา MPLAB PICkit 4 (PG164140) วางจำหน่ายแล้ววันนี้ สามารถสั่งซื้อได้ที่ microchipDIRECT ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายออนไลน์ที่ใช้งานง่ายของไมโครชิพ หรือติดต่อตัวแทนจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายจากไมโครชิพหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของไมโครชิพ
แหล่งข้อมูลและภาพ
สามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):
– ภาพกราฟิกเครื่องมือ: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/39976070952/sizes/l
เกี่ยวกับไมโครชิพ เทคโนโลยี
บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหา Solution ของไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรรวมแบบผสมสัญญาณ แอนะล็อก และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาการออกแบบและพัฒนาของลูกค้าในตลาดทั่วโลกกว่าพันราย สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com
หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ The Microchip, โลโก้ Microchip, MPLAB, PIC และ dsPIC เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ PICkit และ In-Circuit Serial Programming (ISCP) เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เครื่องหมายการค้าอื่นๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ
รูปภาพ – https://photos.prnasia.com/prnh/20180212/2054637-1