เพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

0
318
image_pdfimage_printPrint

เพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ในช่วงนี้เรามักได้ยินข่าวการเสียชีวิตกะทันหันด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นได้ทันท่วงที และที่น่าเสียใจไปกว่านั้นหากคนธรรมดาอย่างเราต้องพบเห็นผู้ที่เสียชีวิตไปต่อตาขณะที่รอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดยที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย

คนทั่วไปอาจรู้จักแค่การทำ Cardiopulmonary Resuscitation (CPR) คือ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้กลับมาหายใจ และมีการไหลเวียนออกซิเจนรวมทั้งเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยวิธีนี้จะเป็นการกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ยังมีเครื่องมือ Automated External Defibrillator (AED) คือเครื่องวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ สามารถกระตุกหัวใจด้วย ไฟฟ้า อุปกรณ์นี้ สามารถตรวจวัดค่าทางไฟฟ้าของหัวใจ และหากตรวจพบว่าผู้ป่วยนั้นมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติเครื่องก็จะมีเสียงแนะนำ ให้ผู้ใช้งานกดปุ่ม Shock เพื่อตัวกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า การใช้งาน AED ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการแพทย์ แต่จะต้องทำตามขั้นตอนที่ออกแบบมาให้สั้น รัดกุม โดยวางแผ่นโลหะ (Electrode pads) ไว้ที่ตำแหน่งทแยงกลางหน้าอกตามภาพล่างนี้ เพื่อการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้ากระตุกในทิศทางที่ถูกต้อง

ปัจจุบันจากข้อมูลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพบว่า ในปี พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นถึง 495 คน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หมายถึงภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ ส่วนต่างๆของร่างกายอย่างทันที สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคหัวใจอยู่เดิมโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ทราบ หรือไม่เคยตรวจมาก่อน และถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในหนึ่งชั่วโมงหลังมีอาการ เราจะเรียกภาวะนี้ว่า “sudden cardiac arrest ” ซึ่งภาวะนี้เกิดได้กับใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวอื่นใดมาก่อน (ข้อมูลจากโรงพยาบาลกรุงเทพ) เราควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับปัญหาเจ็บป่วยที่ยากจะคาดเดานี้ให้ได้

นางสาวกัญญ์จรีย์ พระสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) กล่าวว่า “ในต่างประเทศนั้น การรับมือกับผู้ป่วยภาวะหัวใจวายหรือหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลนั้นจะรอแต่เจ้าหน้าที่กู้ชีพอย่างเดียวไม่ได้ จากสถิติของประเทศญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกานั้นพบว่า หากประชาชนใช้เครื่อง AED ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยสลับกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหรือ CPR ก่อนที่ทีมแพทย์จะเดินทางเข้าให้ความช่วยเหลือ จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับประชาชนในประเทศของเขาได้ และสามารถช่วยผู้ป่วยให้รอดได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากเดิมถ้าเราเริ่มต้นช่วยผู้ป่วยแล้วรอเจ้าหน้าที่กู้ชีพมารับเพียงอย่างเดียวผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตเพียงแค่ 27 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใช้เครื่อง AED มาช่วยด้วยโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยก็จะมากขึ้นไปด้วย”

การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในสภาวะความเป็นความตายนั้นผู้ที่อยู่รอบข้างต้องมีสติในการช่วยเหลือเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเครื่อง AED ได้ที่ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) หรือโทร 02 762 4000 หรือ Facebook: N HealthFanpage