Clarivate Analytics เผยรายชื่อนักวิจัยผู้มีโอกาสคว้ารางวัลโนเบลปีนี้ไปครอง

0
375
image_pdfimage_printPrint

นักวิจัยผู้มีโอกาสคว้ารางวัลโนเบลปีนี้มีทั้งสิ้น 22 ราย โดยมีนักวิจัยชาวรัสเซียติดโผเป็นครั้งแรก

Clarivate Analytics ผู้นำระดับโลกด้านการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้เพื่อช่วยเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ประกาศรายชื่อนักวิจัยที่มีโอกาสได้รับรางวัลโนเบล (Citation Laureates) ประจำปี 2017

นับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ทีมนักวิเคราะห์ของ Clarivate Analytics ได้รวบรวมข้อมูลอ้างอิงจาก Web of Science หลายล้านรายการ เพื่อจัดทำรายชื่อ Citation Laureates ในสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ฟิสิกส์ และเคมี ซึ่งเป็นแขนงที่มีการมอบรางวัลโนเบล ขณะเดียวกันยังจัดทำรายชื่อ Citation Laureates ในสาขาเศรษฐศาสตร์ นับตั้งแต่ที่ทางธนาคารกลางสวีเดนได้เริ่มมอบรางวัลสาขานี้เมื่อปี 1968 เพื่อระลึกถึงคุณอัลเฟรด โนเบล

Citation Laureates คือนักวิทยาศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์เจ้าของผลงานตีพิมพ์ที่ถูกนำไปอ้างอิงบ่อยครั้งโดยเพื่อนร่วมอาชีพ จึงถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการจนได้รับการคาดการณ์ว่าจะเป็นผู้คว้ารางวัลโนเบลในปีนี้หรือในอนาคต

ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่อยู่ในรายชื่อ Citation Laureates ได้รับรางวัลโนเบลจริงๆ มากถึง 43 ราย

สำหรับตัวเต็งรางวัลโนเบลปีนี้คาดว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ ผู้อยู่เบื้องหลังการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงจากการรวมตัวของหลุมดำ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยคาดการณ์ไว้เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นคือ Kip S. Thorne จากสถาบัน Caltech และ Rainer Weiss จากสถาบัน MIT ซึ่งทั้งคู่อยู่ในรายชื่อ Citation Laureates เมื่อปีที่แล้วด้วย

ขณะเดียวกันยังมีนักวิจัยท่านอื่นๆที่น่าจับตามอง โดยเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียติดโผ Citation Laureates นอกจากนั้นยังมีนักวิจัยจากเดนมาร์ก เยอรมนี กรีซ อินเดีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยมีรายชื่อดังนี้

รายชื่อ Citation Laureates โดย Clarivate Analytics ประจำปี 2017

สาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์

Lewis C. Cantley

ผู้อำนวยการและศาสตราจารย์สาขาชีววิทยามะเร็ง ประจำศูนย์ Sandra and Edward Meyer Cancer Center ในสังกัด Weill Cornell Medical College มหานครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

จากผลงานการค้นพบวิถีการส่งสัญญาณ phosphoinositide 3-kinase (PI3K) และบทบาทที่มีต่อการเติบโตของเนื้องอก

Karl J. Friston

ศาสตราจารย์สาขาการสร้างภาพประสาท และนักวิจัยผู้ได้รับทุนของ Wellcome Trust Centre for Neuroimaging ในสังกัด University College London กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

จากคุณูปการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาพสมอง ผ่านการสร้างแผนที่สถิติพาราเมตริกและการวัดเทียบสัดส่วนแบบ voxel-based morphometry

Yuan Chang

ศาสตราจารย์กิตติเมธีประจำสมาคม American Cancer Society, ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ด้านพยาธิวิทยา และศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านวิทยาไวรัสในโรคมะเร็งจาก University of Pittsburgh School of Medicine เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

และ

Patrick S. Moore

ผู้อำนวยการภาควิชาวิทยาไวรัสในโรคมะเร็งประจำ University of Pittsburgh Cancer Institute, ศาสตราจารย์กิตติเมธีประจำ American Cancer Society, ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ด้านจุลชีววิทยาและพันธุกรรมระดับโมเลกุล และประธานมูลนิธิ Pittsburgh Foundation Chair in Innovative Cancer Research ในสังกัด University of Pittsburgh School of Medicine เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

จากการค้นพบไวรัส Kaposi’s sarcoma-associated herpes virus หรือ human herpesvirus 8 (KSHV/HHV-8)

สาขาฟิสิกส์

Phaedon Avouris

นักวิจัย IBM Fellow และหัวหน้ากลุ่ม Nanometer Scale Science and Technology ประจำศูนย์วิจัย Thomas J. Watson Research Center เมืองยอร์กทาวน์ไฮทส์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

และ

Cornelis (Cees) Dekker

ศาสตราจารย์พิศิษฐ์และผู้อำนวยการสถาบัน Kavli Institute of Nanoscience ในสังกัด Delft University of Technology เมืองเดลฟท์ เนเธอร์แลนด์

และ

Paul McEuen

ศาสตราจารย์ John A. Newman Professor of Physical Science คณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัย Cornell University เมืองอิธากา รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

จากคุณูปการที่มีต่อการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์คาร์บอน

Mitchell J. Feigenbaum

ศาสตราจารย์ Toyota Professor แห่งสถาบัน Laboratory of Mathematical Physics มหาวิทยาลัย Rockefeller University รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

จากการบุกเบิกการค้นคว้าระบบกายภาพแบบ nonlinear และ chaotic และการพิสูจน์ Feigenbaum Constant

Rashid A. Sunyaev

ผู้อำนวยการและสมาชิกวิทยาศาสตร์ประจำสถาบัน Max Planck Institute for Astrophysics เมืองการ์ชิง เยอรมนี (ตั้งแต่ปี 1995), หัวหน้าฝ่ายแอสโตรฟิสิกส์พลังงานสูงประจำสถาบัน Institute for Space Research ในสังกัด Russian Academy of Sciences (ปี 1982-2002 และดำรงตำแหน่งหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1992), ศาสตราจารย์รับเชิญประจำสถาบัน Institute for Advanced Study, Princeton (ตั้งแต่ปี 2010) กรุงมอสโก รัสเซีย

จากการมีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจเอกภพ ทั้งในเรื่องของการกำเนิด กระบวนการก่อตัวของกาแล็กซี จานพอกพูนมวลของหลุมดำ และปรากฏการณ์อื่นๆในจักรวาล

สาขาเคมี

John E. Bercaw

ศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาเคมี ภาควิชาเคมีและวิศวกรรมเคมี สถาบัน Caltech เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

และ

Robert G. Bergman

ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ Gerald E.K. Branch Distinguished Professor ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัย University of California Berkeley เมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

และ

Georgiy B. Shul’pin

นักวิจัยวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำ N. N. Semenov Institute of Chemical Physics ในสังกัด Russian Academy of Sciences กรุงมอสโก รัสเซีย

จากการอุทิศตนเพื่อการศึกษากลไกการทำงานของพันธะ C-H

Jens Norskov

ศาสตราจารย์ Leland T. Edwards Professor ประจำ School of Engineering, ศาสตราจารย์สาขาวิทยาศาสตร์โฟตอน และนักวิชาการอาวุโสของสถาบัน Precourt Institute for Energy ในสังกัดคณะวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัย Stanford University เมืองสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

จากความก้าวหน้าด้านการเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์บนพื้นผิวของแข็ง ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

Tsutomu Miyasaka

ศาสตรจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ไฟฟ้าเคมีทางแสงและวิทยาศาสตร์พลังงาน คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Toin University of Yokohama หัวหน้าโครงการวิจัยระดับชาติที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก Japan Science Technology Agency (JST) และ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) เมืองโยโกฮามา ญี่ปุ่น

และ

Nam-Gyu Park

ศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมเคมีแห่งมหาวิทยาลัย Sungkyunkwan University กรุงโซล เกาหลีใต้

และ

Henry J. Snaith

ศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ประจำ Clarendon Laboratory ในสังกัดมหาวิทยาลัย University of Oxford เมืองอ็อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

จากการค้นพบและการนำวัสดุเพอร์โรฟสไกป์มาประยุกต์ใช้เพื่อการแปลงพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สาขาเศรษฐศาสตร์

Colin F. Camerer

ศาสตราจารย์ Robet Kirby Professor สาขาการเงินพฤติกรรมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ Tianqiao and Chrissy Chen Center for Social and Decision Neuroscience ในสังกัดสถาบัน Caltech เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

และ

George F. Loewenstein

ศาสตราจารย์ Herbert A. Simon University Professor ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon University เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

จากการบุกเบิกการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและประสาทเศรษฐศาสตร์

Robert E. Hall

นักวิชาการอาวุโสประจำ Robert and Carole McNeil Joint Hoover และศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Stanford University เมืองสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

จากการวิเคราะห์ผลิตภาพของแรงงาน รวมถึงการศึกษาภาวะถดถอยและการว่างงาน

Michael C. Jensen

ศาสตราจารย์กิตติคุณ Jesse Isidor Straus Professor สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัย Harvard University เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

และ

Stewart C. Myers

ศาสตรจารย์กิตติคุณ Robert C. Merton (1970) Professor สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน ประจำ Sloan School of Management สังกัดสถาบัน MIT เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

และ

Raghuram G. Rajan

ศาสตราจารย์อุปการคุณพิศิษฐ์ Katherine Dusak Miller สาขาการเงินประจำ Booth School of Business สังกัดมหาวิทยาลัย University of Chicago เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

จากคุณูปการในการอธิบายมิติของการตัดสินใจด้านการเงินของบริษัท

Jessica Turner หัวหน้าธุรกิจการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยทางวิชาการของ Clarivate Analytics กล่าวว่า “การวิเคราะห์ที่เริ่มต้นและอิงข้อมูลจากเอกสารที่ถูกนำไปอ้างอิงบ่อยครั้ง ส่งผลให้ Clarivate Analytics สามารถระบุตัวผู้ที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยโดยไร้อคติ นับเป็นเกียรติของเราที่ได้ยกย่องนักวิจัยระดับแนวหน้าเหล่านี้ และหวังว่าพวกเขาจะรู้สึกเป็นเกียรติเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ของเราสะท้อนให้เห็นว่า ผลงานวิจัยของ Citation Laureates มีอิทธิพลและมีความสำคัญมากอยู่แล้ว เพราะถูกนำไปอ้างอิงโดยเพื่อนร่วมอาชีพมากมาย”

“สิ่งที่เราทำก็คือ การบันทึกข้อมูลอย่างครอบคลุม รวมถึงวิเคราะห์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางวิชาการอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อมอบแหล่งข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องให้แก่โลกของการวิจัย”

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย รายชื่อ Citation Laureates รวมถึงสาขาการวิจัยและสถาบันที่สังกัดได้ที่ https://clarivate.com/2017-citation-laureates/

ติดตามข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการวิจัยได้ทางทวิตเตอร์ @Clarivate, @WebofScience และ #CitationLaureate

Clarivate Analytics
Clarivate(TM) Analytics เป็นผู้นำระดับโลกด้านการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้เพื่อช่วยเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม กว่า 150 ปีแล้วที่เราได้รังสรรค์แบรนด์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในวงการนี้ ได้แก่ Web of Science(TM), Cortellis(TM), Derwent(TM), CompuMark(TM), MarkMonitor(R) และ Techstreet(TM) ปัจจุบัน Clarivate Analytics เป็นบริษัทเอกชนไฟแรงที่ยึดมั่นในพันธกิจสำคัญ นั่นคือ การช่วยลูกค้าพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ให้กลายเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงชีวิตได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น รับชมข้อมูลเพิ่มเติมที่ clarivate.com

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/455613/clarivate_logo_for_press_release_Logo