ต้นอะคาเซียเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดในแอฟริกา และเป็นต้นกำเนิดของยางไม้ที่เรียกว่า อะคาเซียกัม (Acacia gum) หรือ กัมอารบิก (gum Arabic) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน จึงนับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์มากมาย
รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
https://www.multivu.com/players/uk/8051551-acacia-gum-southern-sahel-countries/
มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากอะคาเซียกัมมาตั้งแต่ 2650 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวอียิปต์โบราณได้นำมารับประทานและใช้ทำผ้าห่อมัมมี่ [1] ปัจจุบัน อะคาเซียกัมผลิตกันอย่างแพร่หลาย ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศเซเนกัลไปจนถึงประเทศเอริเทรีย รวมถึงในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา
อะคาเซียกัมเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชากรผู้ยากไร้ในกลุ่มประเทศซาเฮล โดยประชากรราว 3 ล้านคนอยู่ได้ด้วยการเก็บยางอะคาเซียกัม [2] ต้นอะคาเซียจึงเป็นทรัพย์สินอันมีค่าสำหรับคนในชุมชน เพราะสามารถเติบโตได้อย่างดีในทะเลทรายและพื้นที่แห้งแล้ง
นอกเหนือจากประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจสำหรับประชากรผู้ยากไร้แล้ว ต้นอะคาเซียยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะช่วยบำรุงดินด้วยการเพิ่มธาตุไนโตรเจนและฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน ทั้งยังสร้างร่มเงาและเป็นที่พักพิงให้กับเกษตรกรและปศุสัตว์ และที่สำคัญคือเป็นแหล่งผลิตอะคาเซียกัม นอกจากนี้ ต้นอะคาเซียยังเป็นทรัพยากรที่มีความยั่งยืน และการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นอะคาเซียก็ช่วยเตรียมหน้าดินสำหรับการเพาะปลูก ทั้งยังป้องกันไม่ให้พื้นที่เพาะปลูกแปรสภาพเป็นทะเลทรายด้วย
ต้นอะคาเซียช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็นอย่างดี โดยเป็นทั้งอาหารปศุสัตว์และที่พักพิงของนกหลายชนิด รากของต้นอะคาเซียสามารถหยั่งลึกลงไปถึงระดับน้ำใต้ดิน จึงไม่ดูดน้ำในดินมากเกินไปจนทำให้ดินเสื่อมภาพ [3] ต้นอะคาเซียสามารถดูดน้ำไปใช้ได้แม้ว่าจะอยู่ลึกมากก็ตาม ขณะที่ร่มเงาของต้นอะคาเซียก็ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยเร็วเกินไป และยังช่วยให้น้ำใต้ดินกลับคืนมาด้วย ส่วนในฤดูแล้ง ต้นอะคาเซียก็มีน้ำให้แก่สัตว์ทั้งหลาย [4]
อะคาเซียกัมเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ 100% และไม่สามารถใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้ สำหรับอะคาเซียกัมจากบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Alland & Robert ได้รับการยอมรับจากบรรดาบริษัทอาหารรายใหญ่ว่า เป็นธรรมชาติ ปลอดจีเอ็มโอ และไร้ยาฆ่าแมลง [6] ทั้งนี้ Alland & Robert ดำเนินธุรกิจในแอฟริกาโดยยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
อ้างอิง
1. http://revuelespritlibre.org/e414-les-gommiers-du-soudan-sur-lechiquier-mondial
2. http://www.yves-rocher.fr/control/com/fr/l-herbier-digital/l-acacia-du-senegal
3. http://apac-isabey.asso-web.com/actualite-22-parlons-du-pourquoi-de-lacacia-dans-notre-association.html
4. http://www.fao.org/docrep/v5360f/v5360f07.htm
5. http://www.hotelseconews.com/La-gomme-d-acacia-un-produit.html
6. http://www.neoplanete.fr/podcast/lacacia-ca-degomme-gomme-arabique/
(รูปภาพ: http://mma.prnewswire.com/media/473400/Acacia_Gum.jpg )
ที่มา: Alland & Robert