วอชิงตัน–17 ม.ค.–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
– การกำกับดูแลที่ดีและสิ่งจูงใจทางธุรกิจมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบการชำระเงินสำหรับผู้มีรายได้น้อย
ผลสำรวจทั่วโลกล่าสุดของ CGAP ในหัวข้อ Digital Finance Interoperability and Financial Inclusion: A 20-Country Scan เผยให้เห็นว่า แม้เทคโนโลยีจะได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพียงใด แต่ระบบบริการการเงินดิจิทัลจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มศักยภาพ หากไม่มีโครงสร้างและสิ่งจูงใจทางธุรกิจที่เหมาะสมมารองรับ
http://photos.prnewswire.com/prnvar/20151216/296527LOGO
เมื่อผู้ให้บริการและผู้กำกับดูแลด้านการเงินกล่าวถึงคุณสมบัติในการทำงานร่วมกันนั้น พวกเขาจะนึกถึงภาพของสวิตช์ แพลตฟอร์ม และซอฟต์แวร์ หรือสรุปสั้นๆก็คือ เครื่องมือทางเทคนิคที่ช่วยให้ระบบชำระเงินสมัยใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่การสำรวจล่าสุดของ CGAP เกี่ยวกับความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบนั้น พบว่า ระบบการชำระเงินแบบไร้ร้อยต่อที่รวดเร็วและประหยัด ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงระบบเศรษฐกิจได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือไปจากการเชื่อมต่อทางเทคนิค
ผลสำรวจพบว่า การที่ระบบชำระเงินจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
– การกำกับดูแลและกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่วิธีการตัดสินใจของผู้มีส่วนร่วม การบริหารจัดการร่วมกัน ไปจนถึงการประเมินความเสี่ยง
– ข้อตกลงทางธุรกิจ ซึ่งช่วยรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่การกำหนดราคาไปจนถึงการสร้างแบรนด์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนการชำระเงินระหว่างกัน
– โครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิค ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ตั้งแต่ระบบเปิดปิดการชำระเงิน ไปจนถึงระบบเชื่อมต่อแบบสองฝ่ายเข้ากับบริการของบุคคลที่สาม โดยโครงสร้างดังกล่าวจะต้องมีประสิทธิภาพ
Greta L. Bull ซีอีโอของ CGAP กล่าวว่า “ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาบริการทางการเงินดิจิทัล เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงการบริการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเติมเต็มในด้านของประสิทธิภาพและความครอบคลุมให้แก่ระบบการชำระเงินด้วย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำลังแสวงหาวิธีการใหม่ๆเพื่อสร้างระบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสัมฤทธิ์ผล แต่การศึกษาวิจัยของเราพบว่า ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความสามารถในการทำงานร่วมกัน”
การสำรวจยังได้ข้อสรุปใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. เวลา: ถึงแม้จะมีการวางระบบและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคต่างๆแล้ว แต่ก็ยังต้องรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมด้านการเงินของผู้บริโภค หรือรอให้ผู้ใช้บริการทำความเข้าใจถึงวิธีการใช้ระบบดังกล่าวเสียก่อน
2. การให้ความสนใจไปที่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวเป็นมุมมองที่คับแคบ: ถึงแม้ระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานร่วมกันได้นั้น จะมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโดยตรง แต่องค์ประกอบอื่นๆ เช่น การกำกับดูแลที่ดีและสิ่งจูงใจทางธุรกิจ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งผลลัพธ์ในท้ายที่สุดคือ ผู้บริโภคจะหันไปใช้บริการทางการเงินจากผู้ให้บริการในระบบกันมากขึ้น และภาคธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
3. ไก่หรือไข่ อะไรเกิดก่อนกัน? บริการทางการเงินดิจิทัลไม่ใช่เงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็นเสมอไปสำหรับการวางระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีแนวทางและกรอบเวลาที่ชัดเจนในการติดตั้งระบบดังกล่าวอีกด้วย โดยบางระบบอาศัยตลาดเป็นตัวขับเคลื่อน ขณะที่บางระบบอาศัยภาครัฐและนโยบายในการขับเคลื่อน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับบริบทในประเทศนั้นๆ
CGAP ได้จัดทำการสำรวจลักษณะนี้ขึ้นเป็นรายแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของการพัฒนาระบบการทำงานร่วมกันใน 20 ประเทศ ครอบคลุม 3 ทวีป ซึ่งรวมถึงอินเดีย เคนยา อียิปต์ และเม็กซิโก ผลการสำรวจนี้ได้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับการประเมินรูปแบบการชำระเงิน ทั้งการชำระเงินไปยังและจากบัญชีที่มีเงินอยู่น้อย ผ่านทางระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานร่วมกันได้ 3 ประเภท ได้แก่ ระบบการทำงานระหว่างผู้ให้บริการตั้งแต่ 3 รายขึ้นไป ระบบการทำงานระหว่างผู้ให้บริการ 2 ราย และระบบการทำงานของบุคคลที่ 3 ซึ่งเชื่อมโยงผู้ให้บริการหลายรายเข้าด้วยกัน
เอกสารรายงานการสำรวจของ CGAP: Digital Finance Interoperability and Financial Inclusion: A 20-Country Scan โดย Pablo Garcia Arabehety, Gregory Chen, William Cook และ Claudia McKay
http://www.cgap.org/publications/digital-finance-interoperability-financial-inclusion
การนำเสนอในรูปแบบของ PowerPoint:
CGAP (Consultative Group to Assist the Poor) เป็นความร่วมมือระดับโลกของกว่า 30 องค์กรชั้นนำ เพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน CGAP พัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการเงินผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับบรรดาผู้ให้บริการทางการเงิน ผู้จัดทำนโยบาย และผู้ให้ทุนสนับสนุน CGAP ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ธนาคารโลก ได้นำแนวทางการพัฒนาตลาดด้วยความรับผิดชอบและแนวทางสนับสนุนที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีฐานะยากจนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณารับชมที่ www.cgap.org
โลโก้ – http://photos.prnewswire.com/prnh/20151216/296527LOGO