ม.ศรีปทุม ได้รับคัดเลือก 9 รางวัล บุคลากรดีเด่น และนักศึกษาดีเด่น สสอท. ครบรอบ 35 ปี

0
416
image_pdfimage_printPrint

คณาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม  สร้างชื่อ ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น และนักศึกษาดีเด่น  จำนวน 9 รางวัล โครงการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น และนักศึกษาดีเด่น ทั้งสายวิชาการและสนับสนุนวิชาการและศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ประจำปี 2555 ในงานสถาปนาสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ครบรอบ 35 ปี  โดยคณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกที่มีความประพฤติดี สร้างคุณประโยชน์ให้กับสถาบันและประเทศชาติ   ณ ศูนย์ประชุม  JOHN XXIII Conference Center มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

โดยในปีนี้ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและนวัตกรรมอุดมศึกษา สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)  ได้พิจารณาคัดเลือกรางวัลต่างๆ ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล คือ รางวัลบุคลากรดีเด่น   ประเภทกลุ่มงานกิจการนักศึกษา  2 รางวัล คือ  1.ระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงาน และ 2.ระดับผู้ปฏิบัติการ ซึ่งระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงาน ได้แก่ อาจารย์ชิษณุ อัมพรายน์  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม  กล่าวว่า “นับเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนผลักดันส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนมีกิจกรรมด้านคุณธรรม จิตอาสา ซึ่งรางวัลนี้จะเป็นกำลังใจที่สำคัญในการทำงานด้านกิจการนักศึกษาต่อไป ครับ”  และอีก 1 รางวัล คือระดับผู้ปฏิบัติการ ได้แก่ อาจารย์ชลัท พงษ์สุข อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณทางคณะกรรมการ สสอท.ที่คัดเลือกผลงานการปฏิบัติงานของผม ซึ่งเป้าหมายของตัวเองก็คือต้องการให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากเวลาที่เข้าเรียน โดยที่กิจกรรมนั้นต้องเป็นประโยชน์และไม่เสียการเรียน ก็ขอขอบคุณที่ทาง  สสอท.ได้พิจารณารางวัลนี้ครับ”

           รางวัลบุคลากรดีเด่น ด้านวิชาการ  กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์  ได้แก่ ดร.ถาวร ทิศทองคำ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ กล่าวว่า “ผลงานที่เข้าร่วมเสนอครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัย     การเขียนบทความต่างๆ ที่เน้นการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติทั้งสิ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของ   ม.ศรีปทุม ที่ต้องการส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ที่เก่งในโลกแห่งภาษา และก็ดีใจครับที่ทางคณะกรรมการ สสอท.ได้เล็งเห็นความตั้งใจของเราครั้งนี้”

รางวัลบุคลากรดีเด่นด้านสนับสนุนวิชาการ  กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ ระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงาน ได้แก่ อาจารย์วรสรวง  ดวงจินดา ผู้อำนวยการสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์  กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า “ต้องขอขอบคุณทางคณะกรรมการสสอท.และที่ขาดไม่ได้คือดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม มากๆครับ ที่สนับสนุนส่งเสริมผลักดันให้เกิดผลงานการศึกษาด้านระบบ e-learning ขึ้นมา ในการศึกษาด้าน e-learning ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดนใจผู้เรียน ถูกใจผู้สอน สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย สร้างสรรค์ประเทศสู่ระบบสากล”

รางวัลกลุ่มงานศิลปวัฒนธรรม ระดับผู้ปฏิบัติการ  ได้แก่ ผศ.การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป ซึ่งก็ได้กล่าวว่าสั้นๆว่า  “รู้สึกดีใจค่ะ รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลของคณาจารย์ทุกคนเมื่อได้รับมาแล้ว ย่อมเกิดแรงกำลังใจในการทำงาน ค่ะ”

 

              รางวัลบุคลากรดีเด่น ด้านวิชาการ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์  ได้แก่ ดร.อัศม์เดช วานิชชินชัย ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ  กล่าวว่า “รางวัลอันทรงเกียรติครั้งนี้ ถือเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ของผู้ได้ชื่อว่าเป็นคณาจารย์  แน่นอนว่ากว่าจะได้มานั่นย่อมไม่ง่าย ผลงานทุกชิ้นที่แสดงออกมานั่นคือความตั้งใจที่จะส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับนักศึกษา และความสำเร็จของนักศึกษาก็คือความสำเร็จของคณาจารย์ ครับ”

 

และปิดท้ายด้วยผลงานนักศึกษาดีเด่น  3 รางวัล ดังนี้ 1.ประเภทนักศึกษาดีเด่น  นักศึกษาดีเด่นประเภทวิชาการดีเด่น กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ นางสาววรรณวิสา รชตะนันทบวร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว รางวัลนักศึกษาดีเด่นประเภทวิชาการดีเด่น กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ นายธเนศ อาจจินดา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ต และนักศึกษาดีเด่นประเภทวิชาการดีเด่น กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ นายศิรัส ปั้นเก่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการโฆษณา

จากความสำเร็จข้างต้น ทุกๆคนสามารถเป็นผู้สร้างความรู้เองได้  โดยอาจมีรูปแบบของการสร้างความรู้ โดยการที่บุคคลให้ความรู้ที่ตนมีอยู่กับผู้อื่น เพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่และมีการแบ่งปันทั่วทั้งองค์กร ซึ่งความรู้นั้นไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ขึ้นมาทั้งหมดก็ได้ แต่ขอให้สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด จากองค์ความรู้เดิมให้เกิดประโยชน์  อย่างสุงสุด ได้ ซึ่งจะยิ่งก่อให้องค์ความรู้นั้นเกิดคุณค่าอย่างมากมายมหาศาลและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง