รู้ทันไวรัสซิก้า

0
375
image_pdfimage_printPrint

OP_2_10-01

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา รองโฆษกกทม. เปิดเผยหลังที่ประชุมสำนักอนามัยว่า ขณะนี้ในกรุงเทพฯ พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาแล้วจำนวน 8 ราย วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักไวรัสซิกาที่กำลังโด่งดังไปทั่วโลก เนื่องจากมีอัตราการแพร่ระบาดที่น่าเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็นโซนลาตินอเมริกา แอฟริกา หรือแม้แต่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรา ถึงขนาดองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งอย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสกัด นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งติดต่อผ่านทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์อีกด้วย จึงทำให้สตรีมีครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะทารกในครรภ์สามารถติดเชื้อไวรัสได้ทุกอายุครรภ์ ถึงแม้เด็กที่คลอดออกมาหัวจะไม่ลีบทันที แต่ก็มีโอกาสที่จะแสดงอาการหลังจากนั้นอีกหลายปี แต่ในผู้ใหญ่จะทำให้เกิดอาการทางสมองหรือประสาท ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคไวรัสซิกา แต่แพทย์จะรักษาตามอาการ เบื้องต้นผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีไข้หรือปวดศรีษะควรทานยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อเลือดออกในอวัยวะภายใน และหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนการป้องกันโรคคงจะไม่มีวิธีไหนดีไปกว่าการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงลายกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ให้สิ้นซากเพื่อเป็นการกำจัดต้นเหตุของการเกิดโรค ส่วนการกำจัดยุงตัวเต็มวัยนั้นอาจต้องพึ่งสารเคมีและผู้เชี่ยวชาญในการใช้ ซึ่งในปัจจุบันเคมีกำจัดยุงที่ได้มาตรฐานจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง เนื่องจากการกำจัดยุงลายจำเป็นต้องใช้วิธีบูรณาการ (IPM – Integrated Pest Management) เพื่อให้การกำจัดยุงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยความปรารถนาดีจาก คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์